SHARE

คัดลอกแล้ว

เหลือเวลาอีกไม่นานจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2566 นี้ นับว่าเวลานี้คือช่วงโค้งสุดท้ายของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สำนักข่าว TODAY รวบรวม มติ ครม. เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 ถึงมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลประยุทธ์ที่จะทำให้ประชาชน

  • ตรึงค่าไฟฟ้า

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 มกราคม 2566 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงอยู่  

วงเงิน

 7,500 ล้านบาท  

ใครบ้างได้ส่วนลดค่าไฟฟ้า

-บ้านที่อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน   

-ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ในพื้นที่ของ กฟน. และกฟภ.  

-ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของ กฟผ. 

-ผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ 

ระยะเวลา

 4 เดือน มกราคม – เมษายน 2566 

โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้  

-ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 1-150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า จำนวน 92.04 สตางค์ต่อหน่วย โดยมีผลต่างค่า ft เรียกเก็บและส่วนลด 1.39 สตางค์/หน่วย 

– ผู้ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 151-300 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า จำนวน 67.04 สตางค์ต่อหน่วยโดยมีผลต่างค่า ft เรียกเก็บและส่วนลด 26.39 สตางค์/หน่วย 

ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ได้รับการช่วยเหลือรวมทั้งสิ้นประมาณ 19.66 ล้านราย ใช้งบประมาณรวมในกรอบไม่เกิน 7,500 ล้านบาทหรือประมาณ 1868.06 ล้านบาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน

  • เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5

วงเงิน 2,016 ล้านบาท

แนวทางดำเนินการ

-การลงทะเบียนใช้สิทธิเข้าโรงแรมที่พักจำนวนห้องพัก 560,000 สิทธิ์/ห้อง รัฐสนับสนุนร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/คืน สูงสุด 5 ห้อง 

-คูปองอาหาร/ท่องเที่ยว (e-voucher) 600 บาท/วัน  

ผู้รับประโยชน์จากโครงการ 

-ประชาชนไทยที่เข้าร่วมโครงการและใช้สิทธิ 

-ผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวที่เข้าร่วม

พื้นที่ดำเนินการ 

-ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย  

ระยะเวลา  

เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2566 

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ www.เราเที่ยวด้วยกัน.com  พร้อมติดตั้งเป๋าตัง โดยต้องจองห้องพักล่วงหน้าก่อนเดินทาง 7 วัน 

ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมมาตรการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิจำนวน 5 สิทธิ สำหรับประชาชนที่เคยใช้สิทธิแล้ว สามารถกดให้ความยินยอม consent ในระบบได้เลย รวมทั้งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล 

  • โครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย

วงเงิน  1,930.4348 ล้านบาท

แนวทางการดำเนินกิจกรรม

-การกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทยจากต่างประเทศ โดยเน้นการนำเสนอ Soft Power ผ่าน  Digital Market และกิจกรรมทางการตลาด 

-กระตุ้นท่องเที่ยวไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ (ไทยเที่ยวไทย) ให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวบ่อยครั้งขึ้น  

-การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เผยแพร่และสร้างกระแสการเดินทางภายในประเทศ ภายใต้แคมเปญ Amazing Thailand, Amazing New Chapters 

-การยกระดับคุณภาพสินค้าเพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว

พื้นที่ดำเนินการ

ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย  

ระยะเวลาดำเนินการ

เดือนกุมภาพันธ์- กันยายน 2566  

เป้าหมายโครงการฯ 

-เพื่อช่วยผลักดันและสนับสนุนการสร้างรายได้ทางการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามเป้าหมาย 2.38 ล้านล้านบาท

  • ผลิตแพทย์และบุคลากรจิตเวชเพิ่ม 2,950 คน

งบประมาณ  686 ล้านบาท

ระยะเวลาดำเนินการ

5 ปี ปีงบประมาณ 2566 – 2570

ผู้ดำเนินการ

กระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีบุคลากรด้านสุขภาพจิตรวม 5,946 คน (คิดเป็น 8.99 ต่อแสนประชากร ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก) และแต่ละปีจะผลิตบุคลากรด้านสุขภาพจิตได้ 488 คนต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริการประชาชน

วัตถุประสงค์

-เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิตให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

-ยกระดับคุณภาพบริการสุขภาพจิตให้ประชาชนได้  โดยไม่จำเป็นต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกล

เป้าหมาย

เพิ่มกำลังคนด้านสุขภาพจิต จำนวน 2,950 คน

1.ด้านจิตแพทย์ทั่วไป 150 คน

2.ด้านพยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวช 1,500 คน

3.ด้านพยาบาลเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและจิตเวช 100 คน

4.ด้านนักจิตวิทยาคลินิก 400 คน

5.ด้านนักสังคมสงเคราะห์จิตเวช 400 คน

6.ด้านนักกิจกรรมบำบัดจิตเวช 250 คน

7.ด้านเภสัชกรจิตเวช 150 คน

วิธีการดำเนินโครงการ

-ประสานความร่วมมือกับสภาวิชาชีพ สถาบันฝึกอบรมของทุกสาขาวิชาชีพ เพื่อจัดทำแผนร่วมกัน โดยพัฒนาบุคลากรเดิมให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น

-พัฒนาศักยภาพสถานบริการและบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มหน่วยผลิตบุคลากรจิตเวชจากต้นทุนที่มีอยู่ -ติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากรแต่ละสาขาและระบบบริการจิตเวชและยาเสพติด

  • โครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของไทย

วงเงิน 1,514.6172 ล้านบาท  (เป็นงบกลางฯ ปี 2566 และงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2567-2568)

-การพัฒนาระบบบริหารจัดการการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ ครอบคลุมการจัดหาระบบซอฟต์แวร์ การจ้างพัฒนาระบบและการฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 1,129.3157 ล้านบาท 

-การจัดหาบริการระบบคลาวด์กลาง (Cloud Server) ครอบคลุมการเช่าคลาวด์กลางด้านสาธารณสุข การเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่ม และการบริหารจัดการ Log และ Managed Security Service วงเงิน 385.3014 ล้านบาท 

ซึ่งจะมีแหล่งเงินงบประมาณจากงบประมาณ ปี 2566 งบกลางฯ จำนวน 553.8203 ล้านบาท และจำนวน 960.7969 ล้านบาทเป็นงบผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2567-2568

วัตถุประสงค์

-เพื่อจัดเตรียม/พัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของไทย (National Health Information Platform) สำหรับบริหารจัดการการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ 

-เพื่อเช่าใช้ระบบคลาวด์พื้นฐานเป็นแพลตฟอร์มกลางภายใต้การดูแลของภาครัฐ 

-รองรับการบูรณาการข้อมูล และการเก็บข้อมูลในรูปแบบ Private Cloud 

-มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการให้บริการด้านสุขภาพของประชาชน 

ระยะเวลาดำเนินการ

 3 ปี (พ.ศ. 2566-2568) 

  • แผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 67 

วงเงิน 7,985,786,100 บาท 

-นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  267.50 ล้านบาท

-พัฒนาระบบหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษา (ปฐมวัย-ภาคบังคับ)  5,359.05 ล้านบาท

-พัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ  280 ล้านบาท

-จัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ 70 ล้านบาท

-พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล  394.11 ล้านบาท

-ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงกว่าภาคบังคับ 1,025.92 ล้านบาท

-ส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน และประชากรวัยแรงงานนอกระบบให้ได้รับโอกาสกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา 251 ล้านบาท

-สื่อสารความรู้และระดมความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 46.50 ล้านบาท

-บริหารและพัฒนาระบบงานโดยพัฒนาระบบตามแผนดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 291.71 ล้านบาท

วัตถุประสงค์

-แก้ปัญหาเหลื่อมล้ำการศึกษา เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสได้รับการอุดหนุนเงินเพื่อบรรเทาอุปสรรคการเข้าถึงการศึกษา 

-ช่วยนักเรียนขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส 2,636,304 คน

-เยาวชนและแรงงานนอกระบบการศึกษาได้รับการช่วยเหลือตามความจำเป็นหรือสนับสนุนให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือได้รับการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่เหมาะสม 

-ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบการศึกษาได้รับการพัฒนาคุณภาพทั่วถึง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า