SHARE

คัดลอกแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ชอบคำว่า “โว” ระบุไม่เคยมีประเทศไหนที่สื่อไม่ให้เกียรติผู้นำแบบประเทศนี้

วันที่ 25 ก.พ. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวระหว่างประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา

“ผมไม่ชอบคำพูดที่ว่า “โว” อะไรดีๆ ออกมาเขาชี้แจง… “รัฐบาล โว” โว คืออะไร คือไอ้ขี้โม้ ขี้คุยหรือไง เขาพูดเขาชี้แจง ฟังเขาสิ ไม่เคยมีประเทศไหนที่สื่อ ไม่ให้เกียรติผู้นำแบบประเทศนี้”  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพูดประโยคดังกล่าวจบ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้เปลี่ยนเรื่องกล่าวเปิดงานต่อ… ว่า “อนุโมทนาสาธุครับ”  พร้อมหันมายกมือไหว้พระสงฆ์ที่มาร่วมในงาน และยังกล่าวว่า “ผมกำลังใช้ธรรมะอยู่นะครับท่าน” พร้อมกับยกมือลูบวนๆ ทางด้านหน้าอกข้างซ้ายของตัวเองคล้ายระงับความโมโห

สำหรับคำกล่าวเปิดงานของ พล.อ.ประยุทธ์ มีดังนี้  

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาหนี้สิน และปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาโดยตลอด สิ่งสำคัญคือการให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ทั้งรายได้ การศึกษา สุขภาพ ที่อยู่อาศัย ให้เกิดความเท่าเทียมในการดำรงชีวิต โดยทุกปัญหาต้องมองทั้งบริบทภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมกับการปรับตัวให้ทันและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้มีศักยภาพสูงขึ้นทั้ง up skill และ re skill โดยพยายามส่งเสริมการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจกับต่างประเทศ และมีการเตรียมความพร้อมการพัฒนาคนในประเทศควบคู่ด้วย พร้อมย้ำว่า ประเทศไทยต้องปรับตัวให้พร้อมกับการเติบโตและเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี โดยทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเองและเตรียมความพร้อมรับกับสถานการณณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้การหางานมีความยากลำบากขึ้น ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องร่วมกันในการแก้ปัญหาประเทศ โดยไม่ทิ้งปัญหาเหล่านี้ให้ส่งผลในวันหน้า และพร้อมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย โดยเดินหน้าแก้ปัญหาต่างๆ ภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่ แม้จะมีความยากลำบากในหลายประการก็ตาม

นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำว่ารัฐบาลได้กำหนดให้ “ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน” โดยได้แบ่งแนวทางการดำเนินการออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่

1. การแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

2. การไกล่เกลี่ยและปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านกลไกธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินของรัฐ

3. การแก้ปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์

4. การแก้ปัญหาหนี้สินข้าราชการ

5. การปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม รวมทั้งออกมาตรการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้

6. การแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล

7. การแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย และ SME

และ 8. การปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องกับภาวะหนี้ในปัจจุบัน

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังขอความร่วมมือกับทุกฝ่ายให้ทำงานอย่างเต็มที่และร่วมมือกันปฏิบัติตัวตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิค- 9 สำหรับการแก้ปัญหาความยากจน รัฐบาลได้มีการวางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยมุ่งให้ทุกครอบครัวนั้นอยู่รอด และอยู่ได้อย่างพอเพียง เน้นปฏิบัติในเชิงโครงสร้าง

อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคการเงิน ภาคธนาคาร เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่กำหนด คือการแก้ปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้ารายครัวเรือน โดยจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจในเชิงพื้นที่เพื่อให้เห็นว่ามีความจนในมิติใดบ้าง ทั้งมิติเชิงเศรษฐกิจ มิติเชิงความรู้ มิติเชิงเทคโนโลยี เป็นต้น ทั้งนี้การแก้ปัญหาความยากจนเป็นเรื่องซับซ้อนมิอาจทำได้เพียง 1 ปี หรือ 2 ปี แต่ต้องอาศัยความร่วมมือ โดยนายกรัฐมนตรีต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความยั่งยืนไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกันอีก

พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ในครั้งนี้ว่า มีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการช่วยเหลือในเรื่องไกล่เกลี่ยหนี้สิน การเจรจาลดดอกเบี้ย ปรับโครงสร้างหนี้ การลดปัญหาในเรื่องการฟ้องร้อง และการถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด ซึ่งต้องขอชื่นชมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คณะทำงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการนำนโยบายรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ ให้ประสบความความสำเร็จอย่างยั่งยืน รวมทั้งขอบคุณสถาบันการเงินทั้ง 16 แห่ง ที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากความยากลำบาก โดยหวังว่าหน่วยงานที่เข้าร่วมในกิจกรรมนี้จะช่วยกันสร้างโอกาสให้ลูกหนี้สามารถพลิกฟื้นชีวิตของตนได้ พร้อมทั้งควบคู่ไปกับการให้ความรู้ว่าจะวางแผนทางการเงินอย่างไร และทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นหนี้ อันจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน และทำให้ประชาชนมีความสุข

ที่มาและภาพจาก : ทำเนียบรัฐบาล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า