SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปนายกฯ เสนอพ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับต่อสภา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอให้สภาผู้แทนราษฎร รับพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 3 ฉบับ ได้แก่

-พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

-พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

-พ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563

#ฉบับที่หนึ่ง พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อสภา ว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รวดเร็วรุนแรง และยังไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์จะสิ้นสุดเมื่อใด ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องปิดพื้นที่ และออกมาตรการเว้นระยะห่าง ทำให้เศรษฐกิจเกิดภาวะชะงัก หดตัวอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศ รัฐบาลจำเป็นอย่างเร่งด่วน เยียวประชาชนเกษตรกร ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งไม่อาจดำเนินการกู้เงินตามปกติ จึงเป็นกรณีฉุกเฉิน เป็นทางเลือกสุดท้ายของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตระหนักข้อห่วงใยเรื่องวินัยการเงินการคลังจากการออก พ.ร.ก.กู้เงิน รัฐบาลจึงกำหนด ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงิน โดยลงนามสัญญาไม่เกิน วันที่ 30 กันยายน 2564 ต้องนำเงินไปใช้ตาม 3 แผนงานหลัก คือ
วัตถุประสงค์ทางการแพทย์ 45,000 ล้านบาท, เยียวยาประชาชน 555,000 ล้านบาท และฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการก่อนอนุมัติ และให้กระทรวงการคลังเสนอผลการกู้เงินต่อรัฐสภา ภายใน 60 วัน ณ สิ้นปีงบประมาณ

นายกรัฐมนตรี ยืนยันด้วยว่า การกู้เงินของรัฐบาล เมื่อรวมการกู้เงินกรณีอื่นๆ จะไม่กระทบกรอบหนี้สาธารณะ โดยประมาณหนีสาธารณะ ณ เดือนกันยายนปี 2564 คาดว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ที่ ร้อยละ 57.96 ไม่เกินร้อยละ 60 โดยจะพิจารณาจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศก่อน พร้อมมั่นใจว่าจะชำระหนี้ได้

#ฉบับที่สอง พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563″ หรือ ซอฟท์โลน ไม่ใช่การกู้เงิน แต่เป็นการให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการปล่อยสินเชื่อต่ำ เพื่อสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ เอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ย 6 เดือนแรก และความเสี่ยงหากเกิดการผิดชำระหนี้

#ฉบับที่สาม พ.ร.ก. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 หรือกองทุน BSF เพื่อรักษาเสถียรภาพตราสารหนี้ เพื่อรักษาแหล่งระดมเงินทุน โดยเป็นกองทุนชั่วคราวจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และทิ้งท้ายว่า ตนจะกำกับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า