SHARE

คัดลอกแล้ว
กรมอนามัย เผย หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด 1,993 ราย เสียชีวิต 37 ราย พบเชื้อลงปอดช่วงอายุ 20-34 ปี มากสุด ขอความร่วมมือหญิงตั้งครรภ์ทำงานที่บ้าน 100%
วันที่ 13 ส.ค. 2564 นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์หญิงตั้งครรภ์ในช่วงโควิด ข้อมูลตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2563 – 11 ส.ค. 2564 ติดเชื้อโควิดจำนวน 1,993 ราย เป็นคนไทย 1,315 ราย และแรงงานข้ามชาติจำนวน 678 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับวัคซีนแค่ 10 ราย เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบทารกติดเชื้อโควิด 113 ราย
จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อโควิดสูงสุดยังคงอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล, และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 37 ราย ล่าสุด วันที่ 13 ส.ค. 2564 พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย ขณะที่ทารกเสียชีวิตขณะคลอดจำนวน 11 ราย และเสียชีวิตหลังคลอด 7 วันแรก จำนวน 9 ราย
“ช่วงการระบาดระลอกแรก ยังพบหญิงตั้งครรภ์เสียชีวตไม่มาก แต่การระบาดระลอกที่ 2 เริ่มพบหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดมากขึ้น โดยเดือน ธ.ค. 63 – มี.ค. 64 พบถึงเดือนละ 5 – 25 ราย ส่วนการระบาดละลอก 3 เม.ย. ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เดือน พ.ค. พบมากกว่า 200 ราย กระทั่งเดือน ก.ค. เพิ่มมากถึง 800 กว่าราย” นพ. สุวรรณชัย กล่าว
ข้อมู กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด
ช่วงอายุ 20-34 ปี ถึง 74.21% พบปอดอักเสบมากถึง 269 ราย
อายุ 35ปี ติดโควิด 19.17% พบปอดอักเสบ 105 ราย
อายุต่ำกว่า 20 ปี ติดโควิด 5.07% พบปอดอักเสบ 9 ราย
ไม่ระบุอายุ 1.56% พบปอดอักเสบ 23 ราย
ขณะที่สถิติข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดที่คลอดไปแล้วจำนวน 1,129 ราย ส่วนใหญ่เป็นการผ่าตัดคลอด แต่ที่น่าสังเกตุพบการคลอดก่อนกำหนด เกือบ 18% ซึ่งข้อมูลการคลอดก่อนกำหนดของประเทศไทยที่ผ่านมาพบแค่ 10% เท่านั้น ขณะที่ทารถแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยถึง 16% โดยที่ผ่านมาพบเพียงแค่ 8% เท่านั้น
ขณะเดียวกันยังได้วิเคราะห์ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่เสียชีวิต 37 ราย เป็นคนในพื้นที่ กทม. จำนวน 7 ราย ต่างจังหวัดจำนวน 30 ราย พบว่าในจำนวนนี้ 16 ราย เสียชีวิตก่อนคลอด ส่วนอีก 16 ราย เสียชีวิตหลังคลอด ส่วนอีก 5 ราย อยู่ระหว่างสอบสวนโรค สาเหตุที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จำนวนถึง 35 ราย เกิดจากภาวะปอดอักเสบติดโควิด น้ำคร่ำอุดกั้นปอด 1 ราย และรกลอกตัวก่อนกำหนด 1 ราย ส่วนทารกหลังคลอด 16 ราย ติดโควิด 2 ราย เสียชีวิต 5 ราย
กรณีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต ยังพบปัจจัยเสี่ยงติดโควิดคือ มีภาวะอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีอายุ 35 ปีขึ้นไป และการใช้สารเสพติด ขณะที่แหล่งสัมผัสเชื้อเกิดจากการสัมผัสบุคคลในครอบครัว สถานที่ทำงาน ตลาด
ส่วนการเสียชีวิตในหญิงตั้งครรภ์เกิดจากปัจจัยจากหญิงตั้งครรภ์ 9% การเข้าถึงบริการ 21% และข้อจำกัดภายในระบบบริการ 70%
ขณะเดียวกันได้ยกระดับมาตรการป้องกันและดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ เน้นส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดโดยเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ เมื่อสงสัยว่าติดเชื้อสามารถตรวจเชื้อด้วย Antigen Test Kit ได้ และสนับสนุนหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือหญิงตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไปและภาวะครรภ์เสี่ยงสูง อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม ให้ทำงานที่บ้านหากสามารถทำได้ รวมถึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากมีความเสี่ยงโรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า ควรฉีดวัคซีนหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ซึ่งจะมีผลข้างเคียงลักษณะคล้ายกับคนทั่วไปและยังสามารถฉีดวัคซีนกับสตรีให้นมบุตรได
‘คนท้อง ต้องฉีดวัคซีน’
พลอากาศโท นพ.การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การป้องกันที่ดีที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ช่วงโควิด-19 คือการรับวัคซีน ซึ่งภูมิต้านทานจะถึงทารกด้วย ขณะนี้มีรายงานจากต่างประเทศแล้วว่าการฉีดแบบมิกซ์แอนด์แมชต์ได้ผลภูมิคุ้มกันสูง ไม่จำเป็นต้องเลือกวัคซีน แต่ควรรีบฉีดวัคซีนให้ได้ภูมิคุ้มกันขั้นแรกจากเข็มแรกก่อน
ขณะที่โควิด-19 เป็นโรคที่ทำให้หลอดเลือดชำรุดเสียหาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์สูงมาก ทั้งภาวะความดันโลหิตสูง เลือดออกง่ายกว่าปกติ หลอดเลือดอุดตันที่ปอดมากกว่าปกติ รกลอกก่อนกำหนด จึงเป็นสาเหตุของการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด เด็กน้ำหนักน้อยกว่ากำหนด รวมถึงทำให้แม่เสียชีวิตได้ง่ายกว่าปกติ รวมถึงสรีระหญิงตั้งครรภ์ ช่วง 32 สัปดาห์หรือ 8 เดือน ครรภ์จะใหญ่ขึ้น น้ำคร่ำในมดลูกมีมากที่สุดประมาณ 1-1.3 ลิตร จึงดันมดลูกขึ้นไปทำให้ปอดขยายตัวลำบาก เกิดภาวะปอดแฟบตามธรรมชาติ ทำให้เกิดปัญหาหายใจล้มเหลวได้มาก
ส่วนกรณีหญิงตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ฉีดวัคซีนโควิดแล้วลูกเสียชีวิตในท้อง ธรรมชาติของการตั้งครรภ์ สามารถพบทารกเสียชีวิตในท้องได้ประมาณ 1% มีหลายสาเหตุ ทั้งการติดเชื้อ หลอดเลือด สายสะดือ รก ความดันโลหิตสูง จะระบุว่ามาจากการฉีดวัคซีนคงไม่สามารถจะสรุปได้
ขณะเดียวกันวัคซีนมีความปลอดภัยและจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ควรฉีดเมื่ออายุครรภ์12 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะใน 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือนแรกเป็นช่วงที่ร่างกายเด็กกำลังสร้างอวัยวะ ทุกอย่างเช่น ระบบสมอง ประสาท กล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ ต้องไม่มียาหรือวัคซีนใดๆเข้ามาแทรกซ้อน สำหรับยาฟาวิพิราเวียร์มีการระบุว่าห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ สามารถใช้ยาเรมเดซิเวียร์แบบฉีดได้ในกรณีอาการรุนแรงเช่นโควิดลงปอด
“ในช่วง 1 ปีของโควิดทำให้ทราบว่าไวรัสกระจายไปอยู่ในทุกส่วนของการตั้งครรภ์ ได้แก่ เลือดแม่ น้ำคร่ำรอบตัวเด็ก เนื้อรก หรือน้ำคัดหลั่งในช่องคลอด ไม่ว่าคลอดทางไหนมีสิทธิติดถึงลูกได้ รวมถึงผ่านน้ำนมไปได้ด้วย แต่ผ่านไปได้มากแค่ไหนกำลังมีการศึกษา ดังนั้น การให้นมบุตรยังมีความจำเป็น เพราะลูกจะได้ภูมิต้านทานจากโรคอื่นด้วย” พลอากาศโท นพ.การุณ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า