SHARE

คัดลอกแล้ว

“เราแก่ลง เราจึงค้นพบตัวตนที่แท้จริง”
“เราฝัน เราสั่นสะเทือน เราเกิดใหม่”
“ทางเลือกคือพาหนะของเป้าหมาย”
“ทำทั้งๆ ที่กลัวคือความหมายของคนกล้า”
“วางแผนในการใช้ชีวิต แต่ยังคงให้ชีวิตดำเนินไปตามธรรมชาติ”
“อย่าอ้างต้นทุนชีวิตว่าต่ำกว่าใคร ผลกำไรขึ้นอยู่ที่ใจและความพยายาม”
“ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าเราใช้หัวใจทำ”
“ไม่จำเป็นต้องยืนในจุดที่ดีที่สุด แค่ทำตัวเองให้มีความสุขในจุดที่ยืนก็พอ”

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กรอกตาให้กับประโยคคำ (ทำเป็น) คมต่างๆ ข้างต้น หรือกำลังเบื่อหน่ายกับคำพูดสวยหรูของไลฟ์โค้ชมากมายบนโซเชียลมีเดีย เราขอแสดงความยินดีด้วย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณเฉลียวฉลาดกว่าคนอื่น

กอร์ดอน เพนนีคูก จากมหาวิทยาลัยวอเทอร์ลู รัฐออนแทรีโอ แคนาดา หัวหน้าทีมนักวิจัยเรื่อง On the reception and detection of pseudo-profound bullshit ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2558 เปิดเผยว่าพวกเขาพบว่าคนที่ชื่นชอบหรือเชื่อใน “คำคมจอมปลอม” มีระดับสติปัญญาที่ไม่สูงเท่าไรนักเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่เชื่อคำคมเหล่านี้

งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าคนที่เชื่อในคำคมจอมปลอมมากมักมีระดับสติปัญญาด้านตัวเลขและการพูดต่ำกว่าคนที่ไม่เชื่อ นอกจากนี้ ยังพบว่าคนที่เชื่อมีความสามารถในการคิดไตร่ตรองต่ำกว่า มีโอกาสสับสนในระดับปรัชญาสูงกว่า เชื่อในศาสนา เรื่องเหนือธรรมชาติ และทฤษฎีสมคบคิดสูงกว่า ไปจนถึงเชื่อในวิธีการรักษาโรคที่ไม่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ด้วย

“คำคมจอมปลอม” ในที่นี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “pseudo-profound bullshit” หรืออาจจะเรียกกันสั้นๆ ได้ว่า “bullshit” หมายถึงประโยคที่ถูกออกแบบด้วยการเอาคำที่ฟังดูฉลาด สวยหรู เป็นที่นิยม หรือมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก มาเรียงต่อกันให้ดูคมคายและลึกซึ้ง แต่ถ้าวิคราะห์กันอย่างจริงจังแล้วจะพบว่าประโยคเหล่านี้กลับไม่มีความหมายที่แท้จริงเลย แถมเลื่อนลอย ขาดตรรกะ และไม่สะท้อนความเป็นจริง คำคมจอมปลอมหลายอันมีเป้าหมายเพื่อสร้างความประทับใจและโน้มน้าวใจผู้รับสารด้วย

ทั้งนี้ นักวิจัยระบุว่าคำคมจอมปลอมจะแตกต่างจากการพูดไม่รู้เรื่องอยู่พอสมควร ตรงที่คำคมจอมปลอมนั้นเป็นการเพ้อเจ้อโดยมีรูปประโยคที่ถูกต้อง ฟังหรืออ่านรู้เรื่อง แต่บริบทกำกวม ไร้ความหมาย หรือไม่สะท้อนความเป็นจริง

ตัวอย่างคำคมจอมปลอม (ในภาษาอังกฤษ) สามารถดูได้จากเว็บไซต์ New Age Bullshit Generator ที่จะผสมคำที่ดูมีความหมายลึกซึ้งออกมาเป็นคำคมจอมปลอมให้คุณ หรือ WIsdom of Chopra ที่รวบรวมคำศัพท์จากนักเขียนด้านจิตวิญญาณชื่อดังอย่าง ทีปัก โจปรา มาสร้างเป็นคำคมจอมปลอมใหม่ๆ ในรูปแบบทวีต 

กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 280 คนในมหาวิทยาลัยวอเทอร์ลูนั่นเอง โดยพวกเขาถูกขอให้ให้คะแนนประโยคคำคมจอมปลอม 10 ประโยคว่ามีความลึกซึ้งแค่ไหนจากระดับ 1 ถึง 5 (1=ไม่ลึกซึ้งเลย และ 5=ลึกซึ้งมาก) โดยค่าเฉลี่ยออกมาอยู่ที่ 2.6 ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างลึกซึ้ง

หลังจากนั้น กลุ่มตัวอย่างต้องทำแบบทดสอบวัดความสามารถทางสติปัญญา โดยเฉพาะด้านตัวเลขและการพูด ซึ่งนักวิจัยพบความสัมพันธ์เชิงลบ (negative correlation) ระหว่างการเชื่อในคำคมจอมปลอมกับสติปัญญาของนักศึกษา หมายความว่าคนที่ให้คะแนนคำคมจอมปลอมยิ่งสูงขึ้น ความสามารถทางสติปัญญายิ่งมีแนวโน้มต่ำลง

นอกจากนี้ นักวิจัยยังทำการทดสอบอีกหลายครั้ง ซึ่งรวมถึงการใช้ทวีตจริงของ ทีปัก โจปรา มาทดสอบด้วย ซึ่งประกอบไปด้วยคำคมที่ลึกซึ้งจริงๆ (เช่น คนที่ตัวเปียกแล้วย่อมไม่กลัวฝน) คำคมที่หลายคนมองว่าไร้ความหมาย และคำคมที่สะท้อนความจริงของโลกอยู่แล้ว (เช่น ทารกเกิดใหม่ต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอ) ซึ่งผลการทดสอบก็ออกมาในทางเดียวกัน คือ คนที่เชื่อในคำคมจอมปลอมมีความสามารถทางสติปัญญาที่ต่ำกว่า

วิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นงานวิจัยที่อ่านสนุกสำหรับใครหลายคน มีการใช้คำว่า “bullshit” ถึง 200 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยมองว่า pseudo-profound bullshit เป็นประเด็นที่สังคมควรศึกษาอย่างจริงจัง เพราะปัจจุบันมีการใช้ความกำกวมหรือคลุมเครือเพื่อปกปิดความหมายที่กลวงโบ๋ทั้งในวาทกรรมทางการเมือง การตลาด หรือแม้กระทั่งแวดวงวิชาการเอง

ทีมนักวิจัยยังฝากปิดท้ายไว้ว่าคนเราต่างก็มีช่วงเวลาหรือแง่มุมที่เพ้อเจ้อไร้ตรรกะด้วยกันทั้งนั้น บางทีการเข้าใจความเพ้อเจ้อของคนอื่นอาจเป็นอีกทางที่ช่วยให้เราลดความเพ้อเจ้อของตัวเองลงก็เป็นได้

อ้างอิง

https://qz.com/566050/people-who-like-pseudo-profound-quotes-are-not-so-smart-says-science/

http://journal.sjdm.org/15/15923a/jdm15923a.pdf

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า