SHARE

คัดลอกแล้ว

บุคคลเจ็บป่วยทางจิตที่มีภาวะอันตราย จำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา สามารถแจ้งตำรวจและบุคลากรทางการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 พร้อมย้ำปัญหาแก้ไขได้ หากได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

จากพฤติกรรมชายคนหนึ่งที่ตระเวนก่อนเหตุสร้างความวุ่นวายในพื้นที่สาธารณะทั้งรถจอดกลางถนน ปล่อยงู ทำร้ายตนเอง เทน้ำแดงราดหัวกลางห้าง รวมถึงโพสต์ข้อความเชิงข่มขู่ว่าจะปล่อยงูพิษในสถานที่ต่างๆ สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้พบเห็น ซึ่งล่าสุดพล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก โฆษก บช.น. เปิดเผยว่า ชายผู้นี้มีใบรับรองแพทย์ระบุว่า เป็นผู้ป่วยโรคจิตอารมณ์แปรปรวน มีรักษาที่โรงพยาบาล สมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. 62 แต่ปัจจุบันปฏิเสธที่จะเข้าไปรับยาเพื่อใช้สำหรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ด้านพญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เหตุการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชมีมาโดยตลอดเป็นระยะๆ ทั้งที่ในปัจจุบันกระบวนการรักษาทางจิตเวช สามารถควบคุมดูแลอาการทางจิตเช่นนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การขาดความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติด้านลบของประชาชนต่อบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต ทำให้คนกลุ่มนี้ถูกละเลยหรือปฏิเสธจากครอบครัวและสังคม จนไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม เป็นเหตุให้ความผิดปกติทวีความรุนแรงขึ้น นำไปสู่พฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายทั้งกับตัวผู้ป่วยเอง บุคคลรอบข้างและสังคมได้

การป้องกันแก้ไขปัญหานี้มีพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ให้การคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยและความปลอดภัยของสังคม ตามมาตรา 22 ได้กำหนดให้บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่ง คือ มีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา เป็นบุคคลที่ “ต้อง” ได้รับการบำบัดรักษา และมาตรา 23 กำหนดให้ผู้พบบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นมีลักษณะมีภาวะอันตรายหรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจโดยไม่ชักช้า

ขอให้ครอบครัว ญาติ และคนใกล้ชิด สอดส่องสังเกตอาการผิดปกติทางจิตของคนในครอบครัว หากสงสัยให้ดำเนินการปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ถ้าพิจารณาแล้วพบว่ามีภาวะเสี่ยง ให้ส่งต่อเพื่อประเมินรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

และหากพบว่ามีภาวะอันตรายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม จำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษาทันท่วงทีให้รีบโทรแจ้งสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และสายด่วนตำรวจ 191 นอกจากนี้ยังสามารถแจ้งบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำตัวเข้ารับการบำบัดรักษาตามกฎหมาย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า