SHARE

คัดลอกแล้ว

“ทุกข์ของใคร ก็ใหญ่ทั้งนั้น” ข่าวในแต่ละวัน ไม่ฆ่าตัวตาย ก็ฆ่าคนอื่น…คุณคงไม่อยากให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนรอบข้างใช่ไหม

สงสัยไหมว่า จะกี่ปีผ่านไป แต่ทำไมทุกข์จึงไม่สูญสลายหายไปสักที ทั้งๆ ที่เราก็พยายาม

ไม่ว่าจะฟังเพลง อ่านบทความดีๆ ที่มีหลากวิธีพ้นทุกข์ หรือไปวัด อ่านธรรมะคลายเครียด สวดมนต์ นั่งสมาธิ และอีกสารพัดทางที่คิดว่าจะช่วยบรรเทา

นั่นเพราะ “จิตใจ” ที่ยังไม่พร้อม ทำให้คุณไม่ได้ไปต่อ…จอดสนิทอยู่ที่สถานีแห่งความเศร้า

แต่การมีความทุกข์ มีความเศร้า ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า หรือเป็นโรคจิตเสมอไป และโรคซึมเศร้ากับโรคจิตก็ไม่เหมือนกัน เพียงแต่คอยสังเกตตัวเองไว้บ้างก็ดี หากไม่แน่ใจ คนที่จะตอบคุณได้ดีที่สุดก็คือ “หมอ”

“หมอ” ในที่นี้คือ “จิตแพทย์” ซึ่งเป็นมนุษย์ที่หลายคนบอกว่ากลัว ไม่กล้าไปหา เอาเข้าจริง คุณไม่ได้กลัวหมอ แต่คุณอาจกลัวความจริง กลัวรับตัวเองไม่ได้ กลัวคนอื่นมองคุณไม่ดี หรืออาจ กลัวเสียประวัติ

ถ้าไม่ไปพบจิตแพทย์ แล้วจะจัดการ “ความทุกข์” ที่เป็นเหมือนเงาตามตัวได้อย่างไร

ปัญหาที่มีจะไม่ลุกลาม หากคุณมี “สติ” …คำง่ายๆ ที่ปฏิบัติยาก แต่คุณต้อง “ฝึก”

 

หากยังฝึกไม่ได้ แล้วปัญหาก็ยังประดังมาจนคุณทุกข์หนัก ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใครแล้ว ขั้นแรก ลองโทร.ปรึกษา 4 เบอร์นี้ดูก่อน

1) โทร. 1323 สายด่วนสุขภาพจิต เป็นเบอร์สำหรับพูดคุยปรึกษา

ผู้ที่ให้คำปรึกษาทั้งหมด ผ่านการอบรมหลักสูตรการให้คำปรึกษามาเป็นอย่างดี (หมอมีฟ้า จากเพจ “สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย” บอกว่า ผู้รับสายเบอร์นี้ ส่วนใหญ่เป็นนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลวิชาชีพ แต่ถ้าอยากพบจิตแพทย์เพื่อการตรวจและรักษา คุณต้องไปโรงพยาบาล)

โดยระบบจะหมุนวนคู่สายไปหาผู้ให้คำปรึกษาที่อยู่ตามโรงพยาบาลในเครือข่ายกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ บางครั้งอาจโทร.ติดยากบ้าง เพราะจำนวนผู้ให้บริการมีจำกัด

2) โทร. 1667 เป็นเทปเสียงเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคต่างๆ จำนวน 32 เรื่อง
โดยจะให้เราเป็นคนกดเลือกหมายเลขเรื่องเอง
เบอร์นี้อาจมีเสียงกระตุกบ่อยครั้ง เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง อาจทำให้สารที่ได้รับมีความบิดเบือนหรือตกหล่นได้

3) โทร. 0-2354-8152 สายด่วนสุขภาพจิต โรงพยาบาลราชวิถี

4) โทร. 0-2713-6793 (ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น.) สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย
ซึ่งมีบริการอาสาสมัคร ‘รับฟังด้วยใจ’ โดยเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้โทร.

แต่หากถึงขั้นที่คุณอยากพบ “จิตแพทย์” แล้วล่ะก็ ก่อนอื่นบอกตัวเองว่าอย่ากลัว ถ้าอยากหายก็ต้องไปหาหมอ จริงอยู่ หมอที่รักษาได้ดีที่สุดคือตัวคุณเอง แต่ถ้าอยู่ในภาวะที่จิตใจแกว่งเหลือเกินแล้ว ไปหาหมอก่อนดีกว่า

 

แล้วจะ “เสียประวัติ” ไหม ?

กลัวคนที่บ้าน คนที่ทำงานรู้

บอกเลยว่า “ไม่เสียประวัติ” และคนที่บ้าน คนที่ทำงานของคุณ ก็ไม่มีทางรู้ด้วย

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวว่า ประวัติคนไข้เป็นความลับที่เปิดเผยไม่ได้ นอกจากมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของประวัติเอง และข้อมูลของคนไข้ก็ไม่ได้เชื่อมต่อกับที่ใด

 

สบายใจขึ้นแล้วใช่ไหม ?

คราวนี้ หากคุณต้องการพบ “จิตแพทย์” แต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนดีล่ะก็

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย โดยหมอมีฟ้า ได้แนะนำไว้ในแฟนเพจว่า ควรเลือกโรงพยาบาลที่คุณจะสามารถไปพบแพทย์ได้สะดวก เพราะกระบวนการการรักษาต้องอาศัยความต่อเนื่อง

โดยจิตแพทย์ทั่วไป จะตรวจรักษาผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป หากอายุน้อยกว่า 18 ปี ต้องไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ทั้งนี้ ควรโทร.สอบถามเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่คุณจะไปรักษาล่วงหน้า เกี่ยวกับตารางการออกตรวจของจิตแพทย์ รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่าย (กรณีโรงพยาบาลเอกชน)

หากเป็น โรงพยาบาลรัฐ จะแบ่งออกเป็น

    • ในเวลาราชการ จะไม่มีค่าตรวจของแพทย์ ไม่ว่าสิทธิ์การรักษาใด แต่จะมีค่าบริการประมาณ 50 – 100 บาท
    • คลินิกนอกเวลา มีค่าตรวจเหมือนโรงพยาบาลเอกชน แต่ส่วนใหญ่จะถูกกว่า
    • สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้ (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554)

สำหรับ “ยา” ถ้าสิทธิ์ครอบคลุมก็ไม่ต้องจ่าย หากไม่ครอบคลุม ผู้ป่วยจึงจะต้องจ่ายเอง

ทั้งนี้ สิทธิ์การรักษามีหลายอย่าง และมีรายละเอียดการให้บริการของแต่ละโรงพยาบาลแตกต่างกัน (โทร.ถามเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่จะไป จะดีที่สุด)

และสำหรับใครที่มีส่วนบีบคุณ หรือบีบผู้ป่วยให้เดินไปถึงทางตันของชีวิต จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบพูดจาเหน็บแนม เสียดสี ประชดประชัน กดคนอื่นให้ต่ำ ยกตนข่มท่าน หรือพูดเอาแต่ความดีเข้าตัว แล้วโยนความชั่วให้คนอื่น จง “หยุด” การกระทำของคุณเสียเถิด และเปิดใจให้ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ใครจะรู้ วันหนึ่งอาจเป็นคุณ ที่ต้องตกอยู่ในสภาพแบบพวกเขา

ดังนั้น รักกันไว้เถิด มีน้ำใจ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพื่อลดแรงกดดัน และอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ

สำหรับ รายชื่อโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ระบุรายละเอียดไว้ ดังนี้

  1. รายชื่อโรงพยาบาลรัฐบาล ที่มีจิตแพทย์ทั่วไป ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

– คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล

– โรงพยาบาลกลาง

– โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (รับเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งของรพ.)

– โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

– โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

– โรงพยาบาลตากสิน

– โรงพยาบาลตำรวจ

– โรงพยาบาลทหารผ่านศึก

– โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

– โรงพยาบาล นครปฐม

– โรงพยาบาล สมุทรสาคร

– โรงพยาบาลพร้อมมิตร (รพ.บ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร)

– โรงพยาบาลปทุมธานี

– โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ

– โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช

– โรงพยาบาลมเหสักข์

– โรงพยาบาลราชวิถี

– โรงพยาบาลรามาธิบดี

– โรงพยาบาลเลิดสิน

– โรงพยาบาลศิริราช

– โรงพยาบาลศรีธัญญา

– โรงพยาบาลสงฆ์

– โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

– ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (รพ.ชลประทาน จ.นนทบุรี)

– ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ

– ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง

– ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง

– ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา

– ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน

– ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์รัตนาราม

– สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (เดิมชื่อ โรงพยาบาลนิติจิตเวช)

– สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

– สถาบันธัญญารักษ์ (สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี)

– สถาบันประสาทวิทยา

– สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ

  1. รายชื่อโรงพยาบาลเอกชน ที่มีจิตแพทย์ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

– โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท

– โรงพยาบาลกรุงเทพ

– โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน

– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น

– โรงพยาบาลคามิลเลียน

– โรงพยาบาลเจ้าพระยา

– โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์

– โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล

– โรงพยาบาลเทพธารินทร์

– โรงพยาบาลไทยนครินทร์

– โรงพยาบาลธนบุรี

– โรงพยาบาลนครธน

– โรงพยาบาลนนทเวช

– โรงพยาบาลนวมินทร์ 1

– โรงพยาบาลนวมินทร์ 9

– โรงพยาบาลบางนา 1

– โรงพยาบาลบางนา 2

– โรงพยาบาลบางโพ

– โรงพยาบาลบางมด

– โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล

– โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

– โรงพยาบาลบีแคร์

– โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

– โรงพยาบาลประชาพัฒน์ (เดิมชื่อ นวมินทร์ 2)

– โรงพยาบาลปิยะมินทร์ สมุทรปราการ

– โรงพยาบาลปิยะเวท

– โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

– โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ

– โรงพยาบาลเปาโล สะพานควาย

– โรงพยาบาลพญาไท 1

– โรงพยาบาลพญาไท 2

– โรงพยาบาลพญาไท 3

– โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์

– โรงพยาบาลพระราม 9

– โรงพยาบาลพระราม 2

– โรงพยาบาลเพชรเวช

– โรงพยาบาลแพทย์รังสิต

– โรงพยาบาลภัทรธนบุรี

– โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ

– โรงพยาบาลมนารมย์

– โรงพยาบาลเมโย

– โรงพยาบาลรามคำแหง

– โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ

– โรงพยาบาลลาดพร้าว

– โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

– โรงพยาบาลวิภาราม (นนทบุรี)

– โรงพยาบาลวิภาวดี

– โรงพยาบาลเวชธานี

– โรงพยาบาลศิครินทร์

– โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

– โรงพยาบาลศรีวิชัย1

– โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

– โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์

– โรงพยาบาลสายไหม

– โรงพยาบาลสินแพทย์

– โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์ (เดิมชื่อ กรุงธน 2)

– โรงพยาบาลหัวเฉียว

– โรงพยาบาล World Medical Center

  1. รายชื่อโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์ทั่วไป ในต่างจังหวัด (ทั้งรัฐบาลและเอกชน)
    ภาคเหนือ

– โรงพยาบาลจอมทอง จ.เชียงใหม่

– โรงพยาบาลเชียงใหม่-ราม (เอกชน)

– โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เชียงใหม่

– โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก)

– โรงพยาบาลสวนปรุง (จ.เชียงใหม่)

– โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

– โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ (เอกชน) จ.เชียงราย

– โรงพยาบาลน่าน

– โรงพยาบาลแพร่

– โรงพยาบาลลำปาง

– โรงพยาบาลลำพูน

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน

– โรงพยาบาลสุโขทัย

– โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

– สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ (จ.เชียงใหม่)

(หมายเหตุ: จ.พะเยา ไม่มีจิตแพทย์ประจำ

มีจิตแพทย์จาก จ.แพร่ ไปออกตรวจเดือนละ 1 ครั้ง ต้องสอบถามทางโรงพยาบาลว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ในแต่ละเดือน)

ภาคตะวันตก 

– โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (จ.กาญจนบุรี)

– โรงพยาบาลแม่สอด (จ.ตาก)

– โรงพยาบาลราชบุรี

– โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (จ.ตาก)

– โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี

– โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี

– โรงพยาบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

– โรงพยาบาลบ้านโป่ง จ.ราชบุรี

– โรงพยาบาลนภาลัย (เดิมชื่อ รพ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม)

 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

– โรงพยาบาลครบุรี (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

– โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์

– โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์

– โรงพยาบาลชัยภูมิ

– โรงพยาบาลเทพรัตน์ (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลบุรีรัมย์

– โรงพยาบาลปากช่อง (จ.นครราชสีมา)

– โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ (จ.อุบลราชธานี)

– โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

– โรงพยาบาลมหาสารคาม

– โรงพยาบาลยโสธร

– โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

– โรงพยาบาลศรีสะเกษ

– โรงพยาบาลสกลนคร

– โรงพยาบาลสุรินทร์

ภาคกลาง

– โรงพยาบาลกำแพงเพชร

– โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์

– โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช (จ.สุพรรณบุรี)

– โรงพยาบาลนครนายก

– โรงพยาบาลนครสวรรค์

– โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

– โรงพยาบาลพระพุทธบาท (จ.สระบุรี)

– โรงพยาบาลพิจิตร

– โรงพยาบาลพุทธชินราช (จ.พิษณุโลก)

– โรงพยาบาลสระบุรี

– โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (จ.นครสวรรค์)

– โรงพยาบาลสิงห์บุรี

– โรงพยาบาลอานันทมหิดล (จ.ลพบุรี)

– โรงพยาบาลอ่างทอง

– ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายก)

 

ภาคตะวันออก

– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

– โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา

– โรงพยาบาลกรุงเทพ ระยอง

– โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์

– โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (จ.ปราจีนบุรี)

– โรงพยาบาลชลบุรี

– โรงพยาบาลบางละมุง จ.ชลบุรี

– โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา

– โรงพยาบาลพระปกเกล้า (จ.จันทบุรี)

– โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา

– โรงพยาบาลระยอง

– โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (จ.ชลบุรี)

– โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี

– โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ (จ.ชลบุรี)

 

ภาคใต้

– คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

– โรงพยาบาลกรุงเทพ สมุย

– โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่

– โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

– โรงพยาบาลตะกั่วป่า (จ.พังงา)

– โรงพยาบาลท่าศาลา (จ.นครศรีธรรมราช)

– โรงพยาบาลทุ่งสง (จ.นครศรีธรรมราช)

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา (เกาะยอ)

– โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ปัตตานี

– โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

– โรงพยาบาลปัตตานี

– โรงพยาบาลพัทลุง

– โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช

– โรงพยาบาลยะลา

– โรงพยาบาลราษฏร์ยินดี (จ.สงขลา)

– โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต

– โรงพยาบาลศูนย์ตรัง

– โรงพยาบาลสงขลา

– โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ (จ.สุราษฎร์ธานี)

– โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

4. รายชื่อ “คลินิกจิตเวช” ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปพบจิตแพทย์ในโรงพยาบาล (รายละเอียดเกี่ยวกับการรักษา เช่น ค่าใช้จ่าย ควรติดต่อสอบถามทางคลินิกโดยตรง)

– คลินิกแพทย์นพดล

761/46 ซอยสาธุประดิษฐ์58 ใกล้วัดดอกไม้ พระรามสาม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร  โทร. 0-2294-4939

เวลาเปิด: วันจันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 17.00 – 19.00 น. และวันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 10.00 น.

 

– นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล

คลินิก บางกอกเฮลท์ฮับ ชั้น 3 อาคารสีลม 64 สีลม (ติดสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง)

โทร. 0-2632-8232, 08-6377-8171

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.bangkokhealthhub.com

 

– คลินิก นายแพทย์ ชนินทร์

Chanin Clinic: Specialised Mental Health Clinic.

89/3 หมู่บ้าน วิสต้าปาร์คแจ้งวัฒนะ ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ. ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

โทร. 09-2248-2462

 

– ระวีลักขณคลินิกเวชกรรม (โดย แพทย์หญิง นฤมล)

112/121 ถ.เรวดี อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

โทร. 0-2951-4018

 

– สมรักจิตเวชคลินิก

62/8 ประชาราษฎร์ 1 (12) ประชาราษฎร์สาย 1 บางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800

เวลาเปิด: จันทร์/อังคาร/พฤหัส เวลา 18.00 – 22.00 น.

โทร. 0-2586-7627

 

– นิพัทธิ์คลินิกแพทย์ (โดย นายแพทย์ นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ)

2024/37 ซอยสุขุมวิท 50 ถนนริมทางรถไฟสายปากน้ำ แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10150

โทร. 0-2331-0642

 

– คลินิกแพทย์วิเชียร (โดย นายแพทย์วิเชีนร ดีเป็นธรรม) จ.นนทบุรี

โทร. 08-9482-829, 0-2967-4391 หรือคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.drwichian.com 

 

– Mind and Mood Clinic (โดย ผศ.พญ. ศุภรา เชาว์ปรีชา)

94 ซอยพหลโยธิน 32 ถนนพหลโยธิน แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2561-0210, 0-2561-0211 แฟกซ์ 0-2561-1499
Line: @mindandmoodcbt, Facebook: @mindandmoodcbt
เวลาทำการ: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-21.00 น. / วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-20.00 น.

 

5. รายชื่อ “คลินิกจิตเวช” ในต่างจังหวัด
ภาคเหนือ

– คลินิก นายแพทย์ ศิริศักดิ์ เชื้อชวลิต

ตรงข้ามตำรวจท่องเที่ยวแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก

เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-20.00 น. / วันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น. และเวลา 17.00-20.00 น.

(หยุดวันอาทิตย์)

โทร. 08-4234-6245

 

– คลินิก เวชกรรมเฉพาะทางจิตเวชหมอแพรว (โดย แพทย์หญิง แพรว ไตรลังคะ)

146/117 หมู่บ้านพิณธนา ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

โทร. 055-411-771

 

– คลินิก แพทย์หญิง นฤมล จ.แพร่

401 ถ.น้ำทอง-บายพาส ต.นาจักร อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ 54000

เวลาทำการ:  17:00 – 20:00 น.

โทร. 054-531-177

 

– คลินิก แพทย์หญิง ศิริวิมล จ.แพร่

 

ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก

– คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางแพทย์โยธิน (โดย นายแพทย์ โยธิน วิเชษฐวิชัย)

9/3 ศรีน้ำซึม อุทัยใหม่ อ.เมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี

 

– คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางจิตเวชแพทย์วรวัฒน์ (โดย นายแพทย์ วรวัฒน์ ไชยชาญ)

ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3220 ต.อุทัยใหม่ อ.เมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี 61000

โทร. 08-1826-6880

 

– บ้านรักษ์ใจคลินิกจิตเวช

ถนนบึงพระจันทร์ จ.พิษณุโลก

เวลาทำการ: วันจันทร์-พฤหัส เวลา 17.00-20.00น. / วันเสาร์ เวลา 09.00-15.00 น.

โทร. 09-1031-0089

https://www.facebook.com/baanrakjai/

 

– คลินิกเวชกรรมหมอภาสกร – ตั้ม

42/6 ถ.ศรีโสธรตัดใหม่ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

โทร. 09-7247-2215

http://www.facebook.com/ClinicDr.Tum

 

– คลินิกแพทย์ธรรมิกา

อ.เมือง จ.ชลบุรี

เปิดวันอาทิตย์ ถึง วันพฤหัสบดี เวลา 15.00-20.00น.

โทร. 08-1996-0610

 

– คลินิกแพทย์อรอุมา จ.ระยอง

154/4 หมู่ 2 ต.นิคมพัฒนา อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง 21180

โทร. 08-1309-7157

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

– คลินิกหมอมงคล

67/3 ถ.เดชอุดม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

โทร. 044-273-213

 

– คลินิกแพทย์หญิงโชติมา

9/14 ถ.เอื้ออารีย์ (เยื้องธนาคารกสิกร) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เลย 42000

เปิดเฉพาะวันเสาร์ เวลา 10.00-12.00 น. และเวลา 17.00-19.00 น.

โทร. 08-2840-3670

 

– คลินิกสุขภาพใจ (โดย แพทย์หญิง พิยะดา หาชัยภูมิ)

โรงแรมเลยพาวิลเลี่ยน 111/1 ถ.เลย-ด่านซ้าย จ.เลย

โทร. 088-560-1112

http://www.earnpiyada.com/piyadaclinic/

 

– คลินิกสุขภาพใจบ้านหมอแพรว

357 หมู่ 20 ถ.กสิกรทุ่งสร้าง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

โทร. 08-0757-5175, 08-5003-4322

 

– คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา

145/1-2 ถ.สุขาอุปถัมภ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

โทร. 08-8078-0588

https://www.facebook.com/D2JED

 

– คลินิกสุขภาพจิตหมอการุญพงศ์

228/2 ถ.ยมราช ต.ในเมือง อ.เมืองจ.นครราชสีมา 30000

โทร. 09-0292-0284

https://www.facebook.com/karunpongclinic

 

ภาคใต้

– คลินิกแพทย์ธิติพันธ์ (ใกล้โรงพยาบาลสวนสราญรมย์)

ที่อยู่ สามแยก กม.0 ถนนธราธิบดี อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

เปิดบริการ วันอังคาร-ศุกร์ เวลา 17.30-20.00 น. / วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.

โทร. 077-312-222

 

– คลินิกรักษ์จิต (โดย แพทย์หญิง ณัฐพร)

107/32 หมู่ที่ 3 ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

โทร. 09-3923-5356

FB: คลินิกรักษ์จิตโดยพญ.ณัฐพร

 

– คลินิกหมอตาล คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ชุมพร

 

– แฮปปี้คิดส์ คลินิกเวชกรรม (หมอทฏะวัฎร์)

155/6 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

โทร. 075-347-779, 08-9197-8877

FB: แฮปปี้คิดส์ คลินิกเวชกรรม

 

– คลินิกแพทย์หญิงดลฤดี (โดย แพทย์หญิง ดลฤดี เพชรสุวรรณ)

45/15 อาคารเจริญอพาร์ทเม้น ถ.รัษฎา ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

โทร. 075-216-989

 

– คลินิกหมอภัทราพร (ตรงข้าม รพ.จิตเวชสงขลาฯ)

717/2 ถ.ไทรบุรี ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา

เวลาทำการ: จันทร์/พุธ/ศุกร์ เวลา 17.00-19.30 น. / วันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น. และเวลา 17.00-19.30 น.

(ปิดวันอังคาร และวันอาทิตย์)

โทร. 074-322-844

 

– คลินิกนายแพทย์ชูเกียรติ

438 ถ.ศุภสารรังสรรค์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

โทร. 074-364-486

 

– หมอณัฐนัยนาคลินิก (โดย แพทย์หญิง ณัฐนัยนา อนันต์ศิริภัณฑ์) จ.ภูเก็ต

เวลาทำการ: วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-19.00 น. / วันอาทิตย์ เวลา 13.00-15.00 น.

หยุดวันเสาร์

โทร. 08-3790-4166, 076-524-181

 

– คลินิก หมออมรรัตน์

26/147 ม.5 ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190 (เยื้องทางเข้าชายหาดบางเนียง)

เวลาทำการ: วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.00 – 20.30 น. / วันอาทิตย์ เวลา 15.00 – 20.30 น.

หยุดวันเสาร์

โทร. 08-3647-7053

https://www.facebook.com/ClinicDrAmornrut

 

– คลินิกหมอกาญจนา

219/24 ถ.เทวบุรี อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

โทร. 075-358-532

Email: [email protected] / FB: คลินิกหมอกาญจนา

 

ท้ายนี้ ขอฝากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นพลังให้ทุกท่านใช้ดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี

“…ความสบายใจของคนเป็นของที่หายาก คนเราต้องมีความสบายใจ จึงจะมีชีวิตที่ราบรื่นได้…”

(พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “๕ ธันวาวันมหาราช” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2521)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า