Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
จากกรณีที่มีการคลายล็อกกิจการประเภทต่างๆ ไปแล้วรวม 4 ระยะ แต่ในกลุ่มสถานบันเทิง ผับ บาร์ ยังไม่ได้รับอนุญาต ทำให้มีการรวมตัวเรียกร้อง ของนักร้อง นักดนตรี ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข รับว่าจะหารือกับแพทย์และกรมควบคุมโรค ว่าจะผ่อนคลายได้เพียงใด ก่อนเสนอที่ประชุม ศบค. วันที่ 26 มิ.ย.

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

นพ.ธีระ ระบุว่า ต้องยอมรับว่าเห็นใจผู้ประกอบการและคนทำงานกลางคืนอย่างยิ่ง หากเราต้องปลดล็อกให้กิจการดำเนินการแล้ว วัตถุประสงค์หลักคือ อยากให้ทุกคนทั้งคนทำงานกลางคืน ประชาชนที่มาใช้บริการและตัวกิจการเองนั้นอยู่รอดปลอดภัยไปยาวๆ
โจทย์หลักที่ต้องตีให้แตกคือ ความเสี่ยงหลักอยู่ที่อะไรบ้าง เพราะกิจการเหล่านี้ ถือเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีการเต้น และอาจมีการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างคน ตั้งแต่กระซิบกระซาบ ตะโกน หรือกอดรัดฟัดเหวี่ยงกันตามสถานการณ์ รวมถึงการแชร์ของกินของใช้กันระหว่างใช้บริการ
ปัจจัยเสี่ยงหลักที่จะทำให้โรคระบาดคือ การใกล้ชิด แชร์ของกินของใช้ สัมผัสจับต้องคน หรือสิ่งของที่มีเชื้อแล้วนำเข้าสู่ร่างกาย และระหว่างใช้สุขา มีการอาเจียนหรืออื่นๆ ส่วนปัจจัยหนุนเสริมที่จะทำให้ใกล้ชิดกัน สัมผัสกัน ขาดสติ คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติดต่างๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ความเสี่ยงที่พอจะจัดการลดได้
1. ทำความสะอาดจานชาม ช้อนส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ สถานที่ ที่นั่ง ราวจับ ไมโครโฟน และสุขาให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. คัดกรองคน ทั้งคนทำงาน และคนมาใช้บริการ ด้วยกระบวนการมาตรฐาน วัดไข้ และใช้ระบบบันทึกรายละเอียดบุคคลเพื่อใช้ในการติดตามหรือเตือนให้ไปตรวจหากเกิดมีการตรวจพบคนติดเชื้อในวันเวลาที่มาใช้บริการ
3. จำกัดจำนวนคนในพื้นที่
4. รักษาระยะห่างระหว่างวงดนตรี/นักดนตรี/นักแสดง กับลูกค้า และงดการจับมือ
5. วงดนตรี นักดนตรี นักแสดง ใส่เฟซชิลด์ แม้จะช่วยได้ไม่มากนักก็ดีกว่าไม่ใช้
6. ลักษณะของเพลง: ควรเลี่ยงเพลงที่มี”เนื้อหา”ปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ หรือเน้นความรุนแรงและกระตุ้นให้เกิดการตะโกน แต่เรื่องทำนองเพลงนั้น งานวิจัยยังมีข้อถกเถียงกัน
7. เน้นนโยบายไม่แชร์ของกินของใช้
8. เจ้าของกิจการควรจัดการเรื่องต่างๆ ที่ระบุไว้อย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้เกิดโรคระบาดจนทำให้กิจการต้องปิดอีกยาว สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม และสำคัญอย่างมากคือ การส่งคนทำงานทุกคนไปตรวจคัดกรองโรค โควิด-19 ทุก 1-2 สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
ส่วนความเสี่ยงที่จัดการไม่ได้หรือทำได้ยาก
1. ความใกล้ชิด
2. การสัมผัสจับต้องคน
3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยากในการควบคุมเรื่องปริมาณการดื่ม ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมสติ อารมณ์ และการยับยั้งชั่งใจ
4. การจำกัดเวลา ยากที่จะจำกัดเวลาให้อยู่ในสถานบันเทิงแบบสั้น ทำได้เพียงจำกัดเวลาการเปิดบริการให้เป็นไปตามปกติ แต่ไม่โต้รุ่ง
ดังนั้น “ประชาชนที่มาใช้บริการ” ควรให้ความร่วมมือในการคัดกรองและให้รายละเอียดเพื่อติดตามตัวกรณีมีเหตุการณ์ติดเชื้อขึ้นในสถานที่นั้น โดยหลังกลับบ้านไปแล้ว ต้องตระหนักว่าได้ไปสัมผัสความเสี่ยงต่อ โควิด-19 มา และควรสังเกตอาการด้วยตนเอง 14 วัน หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล
นพ.ธีระ สรุปว่า กิจการเสี่ยงมากๆ ควรใช้มาตรการร่วมกัน ระหว่างการลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดเท่าที่จะจัดการได้ (Minimize manageable risks) กับการตรวจหมั่นตรวจสอบอาการของตนเอง เพื่อรีบตรวจรักษาได้ทันท่วงที (early detection and early treatment)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า