SHARE

คัดลอกแล้ว

งานวิจัยโครงสร้างภาคการเกษตรของไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า การดำเนินนโยบายและมาตรการของภาครัฐเป็นตัวกดดันให้เกษตรกร ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ พร้อมเสนอรัฐบาลใหม่ ให้ทบทวนมาตการจูงใจราคา และช่วยเหลือแบบหว่านแห

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ จัดงาน PIER Research Brief ในหัวข้อ “X-ray โครงสร้างภาคเกษตร และสะท้อนโอกาสกับความท้าทายของการใช้ mobile technology” นำโดยทีมนักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนา ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, ดร.ลัทธพร รัตนวรารักษ์, คุณบุญธิดา เสงี่ยมเนตร (สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์) และ คุณจิรัฐ เจนพึ่งพร (ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลจากการขึ้นทะเบียนเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า  โครงสร้างแรงงานภาคเกษตรของไทย เป็นผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก ที่ยังคงกระจุกตัวในกลุ่มพืชเชิงเดี่ยว และปลูกพร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน 8 ชนิด เช่น  ข้าว ปาล์มน้ำมัน  ยางพารา และอ้อย  ส่งผลทำให้ราคาสินค้าเกษตรกลุ่มนี้ราคาตกต่ำ

ประกอบกับมาตรการดูแลเกษตรกรของรัฐบาล ยังคงจ่ายเงินเยียวยา ชดเชย ผ่อนผันการชำระหนี้ มาโดยตลอด ทำให้เกษตรกร ขาดความตื่นตัวในการปรับตัว ปลูกเเบบเดิมๆ คือพืชเชิงเดี่ยว เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะมีมาตรการเยียวยาเสมอ

ตลอดจนโยบายการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ทั้งค่าปุ๋ย และยาฆ่าแมลง ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  เเละผูกติดกับบริษัทเคมีเกษตรรายใหญ่ ส่งผลให้ เกษตรกร มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น โดยใช่เหตุ จึงไม่ช่วยให้เกษตรกรหลุดพ้นเส้นความยากจน

ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ หน.กลุ่มงานวิจัยด้านระบบชำระเงิน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

“เราเริ่มเห็นสัญญาณที่ไม่ดีแล้วนะคะ ปัจจุบันถ้าเราเห็นว่ามีความเสียหายอะไรเกิดขึ้น หรือว่าราคาตกต่ำ ภาครัฐจะเข้าไปช่วยทันที ช่วยทันทีนี่ สิ่งที่เห็นก็คือว่า เราเริ่มเห็นแล้วว่าเกษตรกร มันสร้างแรงจูงใจที่ผิดๆ แล้ว เริ่มเห็นแล้วว่าชาวนาปัจจุบันนี้ เมื่อก่อนเขาจะปลูกข้าวในฤดูที่เหมาะสมจะปลูก เพราะเขารู้ว่าเสียหายก็รับความเสียหายไปเต็มๆ

แต่ปัจจุบันเสียหายปุ๊บ รัฐเข้ามาช่วยทันที เพราะฉะนั้นเราจะเห็นบางพื้นที่ควรปลูกสองครั้งต่อปี ไปปลูกสามครั้งแล้ว มันสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร take risk โดยที่มันไม่ควรทำ” โสมรัศมิ์ จัทนรัตน์ หน.กลุ่มงานวิจัยด้านระบบชำระเงิน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าว

Photo by Joshua Newton on Unsplash

นักเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ จึงเสนอให้ รัฐบาลใหม่ ทบทวนมาตรการดูแลภาคการเกษตรทั้งระบบ โดยไม่ควรมุ่งออกมาตรการจูงใจด้านราคา ซึ่งถือเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด รวมทั้งการออกมาตรการเยียวยาต่างๆ ควรดำเนินการแบบมีเงื่อนไข เพื่อลดภาระทางการคลัง

นอกจากนี้ รัฐบาล ควรออกมาตรการจูงใจ ให้เอกชน พัฒนาแอปพลิเคชั่น ที่รองรับข้อมูลพื้นฐานของราคาสินค้าเกษตร และเปิดพื้นที่ให้เกิดการเช่าเครื่องจักรทางการเกษตร รวมทั้ง เปิดให้เอกชนเข้าถึงข้อมูลพื้นฐานการลงทะเบียนเกษตรกร เพื่อเป็นช่องทางให้เกษตรกร สามารถบริหารความเสี่ยงจากการเพาะปลูก ซึ่งจะช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตร และคุณภาพชีวิตแรงงานภาคเกษตรได้อย่างยั่งยืนมากกว่า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า