SHARE

คัดลอกแล้ว

 

กระทรวงสาธารณสุข ปรับเกณฑ์ในการเฝ้าระวัง รายงาน และสอบสวนโรค ผู้เข้าข่ายตรวจเชื้อโควิด-19  ให้ครอบคลุมผู้ป่วยและผู้สัมผัสใกล้ชิด ให้ได้รับการสอบสวนโรค และตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมตั้งเป้าเพิ่มห้องแล็บให้ได้ 100 ห้องภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้

 

เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (7 เม.ย.63) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะปรับเกณฑ์ปรับเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรคผู้ต้องสงสัยติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค หรือ PUI เพื่อให้มีการตรวจประชาชนครอบคลุมตามสถานการณ์ปัจจุบัน จากเดิมจะต้องมีประวัติเดินทางในประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือมีประวัติในพื้นที่พบผู้ติดเชื้อ เพิ่มขยายเป็น 3 กรณีที่ต้องอยู่ในข่ายสอบสวนและตรวจหาเชื้อโควิด-19 ประกอบด้วย

 

กรณีที่ 1 เฝ้าระวังด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งเพิ่มขยายให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกประเทศ ทุกช่องทางที่มีไข้ 37.3 องศา หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ

 

กรณีที่ 2  การเฝ้าระวังในสถานพยาบาล แบ่งเป็น 2 ประเภท

2.1 ผู้สงสัยติดเชื้อที่มีอาการ มีไข้ 37.5องศา หรือมีประวัติร่วมอาการระบบทางเดินหายใจ หายใจหอบเหนื่อย  มีประวัติไปพื้นที่เกิดโรคโควิด-19  ประกอบอาชีพกี่ยวข้องท่องเที่ยว แออัด ไปสถานที่ชุมนุม สัมผัสผู้ป่วย

2.2 กลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ แม้จะยังหาสาเหตุติดเชื้อไม่ได้ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นใน 48 ชม. มีอาการรุนแรง ภาพถ่ายรังสีพบเชื้อในปอด

 

กรณีที่ 3  การเฝ้าระวังในบุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยบุคลากรทุกราย แพทย์ตรวจรักษาที่สงสัยว่าตนจะติดเชื้อโควิด-19 จะมีประวัติสัมผัสหรือแค่สงสัย เริ่มมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอฯ  จะได้รับสิทธิ์การตรวจ

 

กรณีที่ 4 การเฝ้าระวังการป่วยเป็นกลุ่มก้อน (cluster) ที่มีผลตรวจ rapid test หรือ pcr มีผลไข้หวัดใหญ่เชื้อเป็นลบ แบ่งเป็น กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ที่ตั้งแต่ 3 รายขึ้นไปในแผนกเดียวกัน และกลุ่มบุคคลในสถานที่เดียวกันตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป มีความเชื่อมโยงระบาดวิทยา

 

นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ได้เพิ่ม ผู้ที่มีความสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง หรือ High risk contact  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ไม่มีอาการแต่จะเจอในการสอบสวนโรค โดยกลุ่มนี้จะได้รับการตรวจโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน โดยรัฐจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ประกอบด้วย

  • สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย
  • ผู้ท่องเที่ยวรวมกลุ่ม
  • ผู้โดยสารแถวเดียวกัน 2 แถวหน้า 2 แถวหลังผู้ป่วย
  • พนักงานบนเครื่องบิน โซนผู้ป่วย
  • เจ้าหน้าที่ด่านตรวจผู้ป่วย
  • แพทย์ พยาบาล คนมาเยี่ยม ที่ไม่สวม PPE
  • ผู้ป่วยที่อยู่ห้องเดียวกัน
  • เจ้าหน้าที่ห้องแล็บ โดยไม่สวมชุด PPE
  • ผู้ร่วมงาน ร่วมโรงเรียนที่พบปะผู้ป่วย

 

นพ.สุวรรณชัย  ยังกล่าวว่า หากพิจารณาตามยอดผู้ป่วยสะสมใน 10 วันที่ผ่านมา มีประมาณ 2,000 ราย ซึ่งหากนับจากวันนี้ไปถึงวันที่ 15 เม.ย. ส่วนตัวคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มอีก 2,000 ราย โดยไม่น่าจะมีผู้ป่วยถึง 7,000 ราย ตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าวันที่ 15 เม.ย.63 จะมีผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 7,000 ราย  ทั้งนี้ ประชาชนต้องให้ความร่วมมือในการงดการแพร่เชื้อ

 

ส่วนกรณีทีมแพทย์สหรัฐอเมริกา พบข้อมูลว่า การใช้ยาต้านมาลาเรีย หรือ ไฮดรอกซีคลอโรควิน รักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีผลข้างเคียงรุนแรงต่อผู้ป่วย อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันว่า จากการเฝ้าระวัง และติดตามการใช้ยากับผู้ป่วย ยังไม่พบรายงานว่าเกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยแต่อย่างใด แต่ก็มีระบบเฝ้าระวัง และติดคามอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

 

สำหรับ ช่วงฤดูฝนที่จะทำให้การระบาดของโรคกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง อธิบดีกรมควบคุมโรค บอกว่า การแพร่เชื้อของโรค มี 3 ปัจจัย คือ ตัวเชื้อ คน สิ่งแวดล้อม โดยช่วงหน้าฝนสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ย่อมมีโอกาสที่โรคจะเปลี่ยนได้ แต่เชื้อว่ามาตรการที่ดำเนินการอยู่ ทั้งของภาครัฐ และมาตการทางสังคมจะช่วยให้ควบคุมโรคได้ อย่างไรก็ตามระยะนี้ มีความสำคัญ จึงขอให้ทุกคน รักษาระยะห่างทางสังคม

ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงษ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กล่าวว่า การปรับเกณ์ฑ์ PUI ให้ขยายครอบคลุมหลายกลุ่มมากขึ้น ขณะนี้ในไทยการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างน้อย 78,560 ตัวอย่าง จากนี้ไปการตรวจคัดกรองจะมากขึ้น โดยจัดทำโครงการ 1 แล็บ 1 จังหวัด 100 ห้องปฏิบัติการรู้ผลใน 1 วัน เป้าหมายเพิ่มห้องปฏิบัติการเป็น 110 ห้อง ขณะนี้มีห้องปฏิบัติการจำนวน 80 ห้อง ซึ่งห้องปฏิบัติการที่จะเข้าเกณ์คือ โดยมีบุคลากรเพียงพอ ห้องปฏิบัติการได้มาตรฐาน ระบบควบคุมได้มาตรฐาน และข้อมูลเชื่อมโยงกันได้

 

ขณะนี้ ในกรุงเทพมีห้องปฏิบัติการจำนวน 40 กว่าห้อง ในต่างจังหวัดมีห้องปฏิบัติการ 40 กว่าห้อง สามารถตรวจได้จำนวน 10,000 ตัวอย่างต่อวัน ในต่างจังหวัด 10,000 ตัวอย่าง คาดสิ้นเดือน เม.ย. จะมีห้องปฏิบัติการอย่างน้อย 110 ห้อง และจำนวนห้องปฏิบัติการจะมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน้อยในแต่ละจังหวัดต้องมีห้องปฏิบัติการ 1 ห้อง รวมถึงการเตรียมน้ำยาให้เพียงพอภาครัฐจะใช้น้ำยาที่ผลิตโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขณะเอกชนใช้น้ำยาจากต่างประเทศ ผ่านมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจากนี้การรายงาน PUI เป็นระบบออนไลน์ จะทราบผลภายใน 24 ชม.

 

นอกจากนี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ชี้แจงข้อสงสัย กรณีวันนี้กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 38 ราย โดยระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อที่น้อยนั้นไม่ได้เป็นผลจากการตรวจน้อยแต่อย่างใด แต่เป็นผลตามที่ โฆษก ศบค.ได้แถลง เช่น การบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯการประกาศเคอร์ฟิว การหยุดการเคลื่อนย้ายระหว่างจังหวัด และการหาสถานที่ให้ผู้กลุ่มเสี่ยงได้กักตัว 14วัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า