SHARE

คัดลอกแล้ว

การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่หลายฝ่ายกำลังจับตา ส่อเค้าว่าจะไม่ราบรื่นอย่างที่หวัง หลังทางการรัสเซียเปิดเผยรายชื่อคณะผู้แทนที่จะเข้าร่วมโต๊ะเจรจาในตุรกี กลับไม่มีชื่อของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน รวมอยู่ด้วย มีเพียงที่ปรึกษาประธานาธิบดี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านความมั่นคงเท่านั้นที่จะเดินทางไปเข้าร่วมประชุม

การไม่มีชื่อปูตินอยู่ในวงเจรจา ทำให้ความหวังที่หลายฝ่ายเคยมี กลับเต็มไปด้วยข้อกังขา และเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับเวทีการพูดคุยครั้งนี้ เพราะนี่คือโอกาสที่ถูกมองว่าอาจนำไปสู่การยุติสงครามที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2022 แต่เมื่อไม่มีผู้นำสูงสุดของรัสเซียมาร่วมเอง การเจรจาก็ดูจะไม่มีน้ำหนักเพียงพอ และแทบไม่มีโอกาสเห็นความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมได้เลย

โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากท่าทีของรัสเซีย การที่ปูตินเลือกไม่เข้าร่วมด้วยตนเอง ยิ่งตอกย้ำคำถามว่า แท้จริงแล้ว รัสเซียมีความจริงใจแค่ไหนกับการแสวงหาทางออกโดยสันติ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นเพียงเกมทางยุทธศาสตร์ที่มอสโกใช้เพื่อซื้อเวลา ขณะยังคงเดินหน้าทำสงครามเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ปูตินเสนอเจรจาเอง แต่กลับไม่มาด้วยตัวเอง

จุดเริ่มต้นของการเจรจาครั้งนี้ มาจากข้อเสนอโดยตรงของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งกล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัสเซียพร้อมพูดคุยกับยูเครนอย่างจริงจัง เพื่อขจัดต้นตอของความขัดแย้ง และเดินหน้าสู่สันติภาพร่วมกันอย่างมั่นคง

ปูตินระบุด้วยว่า การพูดคุยอาจจะเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดในวันที่ 15 .. และเสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาครั้งนี้ พร้อมส่งสารไปยังผู้นำยูเครนให้ตอบตกลง โดยบอกว่าหากการพูดคุยเป็นไปด้วยดี อาจได้เห็นข้อตกลงหยุดยิง หรือสัญญาสงบศึกระหว่างรัสเซียและยูเครนเกิดขึ้น

เมื่อข้อเสนอถูกส่งถึงยูเครน ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ในช่วงแรกแสดงท่าทีระมัดระวัง โดยยื่นเงื่อนไขกลับไปว่า ยูเครนยินดีพูดคุย แต่ต้องหลังจากรัสเซียตกลงหยุดยิงแล้วเท่านั้น กระทั่งโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งทำหน้าที่เป็นคนกลางเจรจา ออกมากดดันผ่านสื่อ ให้เซเลนสกียอมรับข้อเสนอของปูติน ทำให้เซเลนสกียอมตกลงเข้าร่วม โดยบอกว่าเขาจะไปรอปูตินที่ตุรกีในวันที่ 15 .. เพื่อเจรจาตามข้อเสนอ

ท่าทีของทั้งผู้นำรัสเซียและยูเครนในช่วงนั้น ทำให้หลายฝ่าย มีความหวังว่าการเจรจาอาจนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะนี่เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ที่ผู้นำทั้งสองอาจได้นั่งโต๊ะเดียวกัน และความหวังดูจะยิ่งมีน้ำหนักขึ้น เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาประกาศว่าเขาเองก็จะเข้าร่วมการเจรจาในตุรกี หากปูตินมาด้วยตัวเอง

หมากของปูติน หรือกับดักสร้างความหวัง?

แต่แล้ว เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงกำหนดการประชุม กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกลับออกแถลงการณ์ว่า วลาดิเมียร์ ปูติน จะไม่เข้าร่วมการเจรจาครั้งนี้ พร้อมเปิดเผยรายชื่อคณะผู้แทนที่ประกอบด้วย วลาดิมีร์ เมดินสกี ที่ปรึกษาประธานาธิบดี และ อเล็กซานเดอร์ โฟมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งทั้งสองเคยมีบทบาทสำคัญในการเจรจาระหว่างสองประเทศในช่วงเริ่มต้นสงครามในปี 2022

ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า หากปูตินเป็นคนเสนอเวทีเจรจานี้ขึ้นมาเอง ทำไมเขาถึงเลือกไม่เข้าร่วม? โดยหลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นการทดลองสนามเพื่อดูปฏิกิริยาจากฝั่งยูเครนและชาติตะวันตก ก่อนตัดสินใจเดินหน้ากระบวนการสันติภาพอย่างจริงจังในอนาคต หรือในอีกมุมหนึ่ง อาจเป็นเพียงการซื้อเวลา เพื่อให้รัสเซียปรับกลยุทธ์ในสมรภูมิ และยกระดับความชอบธรรมทางการเมืองในสายตาประชาชนและพันธมิตร

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักวิเคราะห์ว่า การที่ปูตินตัดสินใจไม่ไปร่วมเจรจากับผู้นำยูเครนด้วยตัวเอง อาจสะท้อนว่ารัสเซียยังมองว่าตัวเองได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ในสนามรบ และยังไม่เห็นความจำเป็นต้องยอมอ่อนข้อผ่านโต๊ะเจรจา

ทางด้านยูเครนเองก็ต้องเผชิญแรงกดดันทางการทหารและสังคมภายใน โดยเฉพาะเรื่องการระดมกำลังพลและข้อจำกัดในการสนับสนุนจากพันธมิตรตะวันตกบางประเทศ การเปิดเวทีเจรจาจึงอาจเป็นความพยายามส่งสัญญาณว่ายูเครนยังมีทางเลือกอื่นนอกจากการรบซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่ปูตินต้องการให้เกิดขึ้น

ทางตันที่เกิดจากความตั้งใจ?

อย่างไรก็ตาม การที่ปูตินเลือกไม่เข้าร่วมโต๊ะเจรจาด้วยตัวเอง ก็ไม่ได้หมายความว่าการเจรจาจะไม่มีความหมาย แต่กลับสะท้อนภาพความซับซ้อนและความไม่แน่นอนในระดับสูงสุดของสงคราม อีกทั้งยังทำให้เกิดคำถามถึงเจตนารมณ์ของรัสเซียอย่างลึกซึ้งว่า การเปิดเวทีเจรจาในตุรกีเป็นความพยายามแสวงหาสันติภาพจริง หรือแค่เครื่องมือทางการทูตที่รัสเซียใช้เพื่อเสริมสถานะทางการเมืองและกลยุทธ์ทางทหาร

ในมุมของรัสเซีย การส่งเพียงคณะผู้แทนที่มีแต่ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูง แทนที่จะเป็นผู้นำสูงสุดของรัฐ ถือเป็นสัญญาณว่ารัสเซียยังคงอยากควบคุมเกมไว้ในมือ ไม่ให้เกิดการผูกมัดอย่างจริงจังหรือถาวรในช่วงเวลานี้

ขณะที่ยูเครนซึ่งอยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง มีข้อจำกัดเรื่องกำลังพลและการสนับสนุนจากพันธมิตร กลับต้องการเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า รัสเซียจริงจังกับการเจรจา ไม่ใช่แค่การเมืองเชิงสัญลักษณ์ หรือการยืดเวลาทำสงครามต่อไป เห็นได้จากเงื่อนไขของผู้นำยูเครนก่อนหน้านี้ ที่ยืนยันว่า การเจรจาใด ๆ จะต้องนำไปสู่การถอนทหารรัสเซียออกจากดินแดนยูเครนเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอที่รัสเซียไม่เคยยอมรับ

คำถามที่ตามมาคือ แล้วปูตินได้อะไรจากการตั้งข้อเสนอและสร้างทางตันขึ้นมาด้วยตัวเอง? นักวิเคราะห์บางรายอธิบายว่า ปูตินอาจจะต้องการลดความสำคัญของการเจรจากับยูเครน หรืออีกนัยหนึ่ง อาจเป็นการส่งสัญญาณให้ประชาคมโลกรับรู้ว่า รัสเซียยังคงยึดมั่นในเป้าหมายเดิม คือการลดทอนอำนาจอธิปไตยของยูเครน และเข้าไปครอบครองดินแดนที่รัสเซียต้องการ

จุดจบของเรื่องนี้จะไปสุดที่ตรงไหน

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คงต้องยอมรับว่าอนาคตของยุติสงครามรัสเซียยูเครน ยังคงไกลเกินกว่าจะเอื้อมถึง แม้จะมีความพยายามผลักดันจากหลายๆ ฝ่าย รวมถึงการเจรจาที่ตุรกีในครั้งนี้ ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นความหวัง แต่ก็กลับดับวูบลงในชั่วข้ามคืน

หรือจริงๆ แล้วคำถามที่ควรหาคำตอบในเวลา อาจจะไม่ใช่บทสรุปของสงครามว่าจะจบลงอย่างไร หรือสันติภาพจะเกิดขึ้นเมื่อใด หากแต่คือ คำว่าสันติภาพที่ต่างฝ่ายต่างพูดถึงนั้น แท้จริงแล้ว อาจเป็นเพียงภาพลวงตา ที่ไม่เคยสำคัญไปกว่าชัยชนะในสมรภูมิ ใช่หรือไม่?

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า