Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นอกจากส่งคน ส่งอาหาร เชื่อว่าหลายคนอาจคุ้นหูคุ้นตาหรือเคยใช้อีกหนึ่งบริการของ ‘แกร็บ’ อย่าง GrabMart กันมาบ้าง

โดย GrabMart เป็นบริการในโมเดล Quick Commerce ที่ให้ไรเดอร์ไปซื้อของจากซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ร้านขายยา โชห่วย ไปจนถึงตลาดสด แล้วนำมาส่งให้กับลูกค้าแบบทันที

และยิ่งนับวันก็ดูเหมือนว่าแกร็บจะลุยเดินหน้าบริการนี้อย่างต่อเนื่อง ถามว่าทำไม? Quick Commerce มีโอกาสและน่าสนใจขนาดไหน? TODAY Bizview ชวนไปหาคำตอบกัน

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Quick Commerce กันมาบ้าง โดย Quick Commerce คือบริการซื้อสินค้าจากร้านค้าหลากหลายรูปแบบ (ตั้งแต่โชห่วย ตลาดสด ไปจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ต) โดยจะส่งสินค้าให้ลูกค้าภายใน 1 ชม. ต่างจาก E-commerce ที่อาจจะได้สินค้าใน 2-3 วัน และของก็มีชิ้นใหญ่ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย

ขณะที่แกร็บเริ่มเห็นว่าเทรนด์ออนดีมานด์เดลิเวอรี่กำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ทำให้แกร็บเริ่มทดลองบริการ GrabMart ตั้งแต่ พ.ย. 2019 ในมาเลเซียและสิงคโปร์ ก่อนพัฒนาต่อและใช้จริงในเดือน เม.ย. 2020 และขยายบริการนี้ไปในตลาด 7 ประเทศภายในเวลาเพียง 3 เดือน

สำหรับในประเทศไทย แกร็บบอกว่า GrabMart เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว โดยปัจจุบัน GrabMart ให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว่า 68 จังหวัดในไทย มีร้านค้าพันธมิตรรวมกว่า 15,000 สาขา มีสินค้ามากกว่า 180,000 SKU รวม 15 ประเภท

ที่น่าสนใจคือ ร้านที่เป็นพันธมิตรของ GrabMart นั้นมีตั้งแต่โลตัส, แฟมิลี่มาร์ท, ร้านขายของชำ, ร้านดอกไม้, ร้านในตลาดสด ไปจนถึงร้านขายยา โดยที่ผ่านมา GrabMart จำหน่ายชุดตรวจ ATK ไปแล้วกว่า 1.2 ล้านชุด (หรือเทียบเท่ากับ 2% ของประชากรไทย)

โดยผู้ใช้บริการชาวไทยใช้บริการ GrabMart เฉลี่ย 2-3 ครั้ง/เดือน ยอดใช้จ่ายต่อบิลสำหรับร้านขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 600 บาท ส่วนร้านขนาดเล็กอยู่ที่หลักร้อยต้นๆ

และความสำเร็จของ GrabMart ในไทย ยังอยู่ใน 3 อันดับแรกของประเทศที่ให้บริการทั้งหมดด้วย

แนวโน้มการเติบโตที่ดูเหมือนจะได้รับการตอบรับดี ประกอบกับตลาด Quick Commerce ที่ยังไม่ได้ใหญ่มากและมีแนวโน้มเติบได้อีกไกล ยิ่งทำให้ GrabMart เห็นโอกาส และเดินหน้าปลุกปั้นธุรกิจนี้ต่อ

กล่าวคือ จากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (e-Conomy SEA Report 2021) ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา (2564) ตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตขึ้น 62% จากปีก่อนหน้า

โดยสถานการณ์โควิด-19 นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจดิจิทัล ซึ่งรวมถึงตลาด Quick Commerce

ซึ่งแม้ว่า Quick Commerce จะยังไม่ได้รับความนิยมขนาดนั้น และมูลค่าตลาดยังน้อยกว่าอีคอมเมิร์ซมากๆ แต่ก็ถือว่ามีโอกาสในการเติบโตสูงมาก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มของสดและของชำ (Online grocery) ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการเข้าถึง (penetration rate) หรืออัตราการซื้อสินค้าประเภทนี้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เพียง 2% เท่านั้น

โอกาสเติบโตของตลาดที่มีอยู่มาก ไม่ใช่เรื่องที่แกร็บมองเห็นคนเดียว เพราะอย่างที่เราเห็นกันว่า บริการ Quick Commerce แทบจะอยู่ในแพลตฟอร์มผู้ให้บริการฟูดเดลิเวอรี่ทุกรายแล้ว รวมถึงร้านค้ารายใหญ่ๆ เองก็เริ่มพัฒนาบริการนี้ของตัวเองมากขึ้นด้วย

แม้จากข้อมูลของ Kantar จะบอกว่า GrabMart จะมี Brand Share เป็นอันดับ 1 ในตลาดที่สัดส่วน 43% แต่ถึงอย่างนั้นการแข่งขันก็รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แล้วแกร็บจะสู้ในสงครามนี้อย่างไร?

‘จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม’ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด-พันธมิตรทางธุรกิจ และธุรกิจแกร็บมาร์ท แกร็บ ประเทศไทย บอกว่า เพื่อจะตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาด และขยายฐานผู้ใช้บริการ สร้างการเติบโต บริษัทวางกลยุทธ์ไว้ 3 ด้านด้วยกัน คือ

1.คุ้ม (Affordability) คือทำแคมเปญการตลาดและส่งเสริมการขายร่วมกับพันธมิตรร้านค้าและสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำ พร้อมมอบดีลส่วนลดต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือโมเมนต์พิเศษ รวมถึงส่วนลดขั้นกว่าจากแพ็กเกจสมาชิกรายเดือนหรือ GrabUnlimited

2.ครบ (Wide Selection) คือเพิ่มหมวดหมู่ของสินค้าให้ครอบคลุมและหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ของสดของชำ สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป สินค้าด้านสุขภาพและความงาม สินค้าสำหรับแม่และเด็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน ไปจนถึงสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง

3.คูล (User Experience) พัฒนาเทคโนโลยี แอปพลิเคชัน รวมถึงระบบการให้บริการและมาตรฐานการจัดส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ AI ในการนำเสนอดีลส่วนลดจากร้านค้าในรัศมีของผู้ใช้บริการ

ส่วนเป้าหมายถัดของ GrabMart ในไทย คือ เตรียมขยายพื้นที่ให้บริการไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น เพิ่มจำนวนร้านค้าพันธมิตร โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนของร้านขนาดเล็ก เช่น ร้านโชห่วย ร้านค้าชุมชน เป็น 60% ของทั้งหมด (จากปัจจุบันอยู่ที่เกือบครึ่งหนึ่ง) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถใช้แพลตฟอร์มของแกร็บในการเข้าถึงฐานลูกค้าในวงกว้างขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า