SHARE

คัดลอกแล้ว

ขอให้การตายของเพื่อนเรา เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และเป็นความสูญเสียครั้งสุดท้าย

หลังจากเกิดเหตุการณ์ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล ถูก ส.ต.ต. นรวิชญ์ บัวดก ขี่บิ๊กไบค์ชน ขณะเดินข้ามทางม้าลาย หน้าสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท จนเสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น

จากนั้นเพื่อนๆ ของหมอกระต่าย ได้ตั้งกลุ่ม ‘Rabbit Crossing ทางกระต่าย’ หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและให้หมอกระต่ายเป็นคนสุดท้าย

พญ.ธารทิพย์ ตันชวลิต เพื่อนหมอกระต่าย ในนามกลุ่ม Rabbit Crossing ทางกระต่าย กล่าวว่า แรงบันดาลใจโครงการนี้จุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์หมอกระต่าย หลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น เพื่อนๆ หมอที่เรียนรุ่นเดียวกันคุยกันว่าถ้าเราไม่ลุกมาทำอะไรเลย ก็จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซำ้ไปเรื่อยๆ แค่เปลี่ยนตัวคนที่ประสบเหตุ เปลี่ยนครอบครัวที่สูญเสีย และวันนี้คนประสบเหตุเป็นเพื่อนเรา ต่อไปก็จะเป็นเพื่อนของคนอื่น 

“จึงมาคุยกันว่าเราควรต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ทางม้าลายควรเป็นของคนเดินถนนจริงๆ “

  ทางม้าลายต้องไม่ใช่แค่เส้นขีดบนถนน

สำหรับจุดมุ่งหมาย ความคาดหวังของโครงการนี้ คืออยากให้ทางม้าลายในไทยปลอดภัย ทุกวันนี้ “ทางม้าลาย” เหมือนเป็นแค่ “เส้นขีด” บนถนนเส้นขีดนึงที่ทุกคนไม่ได้ให้ความเคารพ รถก็ยังขับผ่านไปได้ คนต้องระวังรถ ไม่ใช่รถระวังคน 

กลุ่มเราอยากเป็นเสียงของคนใช้ทางม้าลาย กระตุ้นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเห็นความสำคัญและมาแก้ปัญหาทางม้าลายเป็นลำดับต้นๆ 

“ทุกวันนี้ถ้าถามทุกคนว่า เคยไหมที่รู้สึกว่าข้ามทางม้าลายแล้วปลอดภัย คือไม่มีเลย ทุกครั้งที่เราข้ามทางม้าลายไม่รู้สึกว่าปลอดภัย”

ด้าน นพ.สิวดล พินิตความดี หนึ่งในคุณหมอกลุ่ม Rabbit Crossing ทางกระต่าย กล่าวว่า เราโตขึ้นมาในประเทศไทย รู้สึกว่าเราจะข้ามทางม้าลายต้องให้รถผ่านไปก่อน หรือให้ทางรถไปก่อน เราถึงค่อยกล้าข้ามถนน แต่ว่าพอเราโตขึ้นได้ไปต่างประเทศ เห็นวัฒนธรรมของประเทศอื่นก็รู้ว่าไม่ใช่เป็นแบบที่ประเทศเราทำ ก็คิดว่าอยากให้คุณภาพชีวิตของคนในการข้ามทางม้าลายดีขึ้นกว่านี้  ไม่ใช่ว่าต้องมาเสี่ยงทุกครั้งที่พยายามจะข้ามทางม้าลาย พอภาระมาอยู่ที่คนข้ามเลยทำให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ง่าย จึงคิดว่าอยากปรับเปลี่ยนทางม้าลายให้เป็นทางที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

  เดินหน้าแบบคู่ขนานทั้งด้านกฎหมายและการรณรงค์

ทางกลุ่มตั้งใจทำแบบคู่ขนานกันไปทั้งด้านกฎหมายและการรณรงค์ โดยจะแบ่งการขับเคลื่อนเป็น 3 ทีม

1. ทีมด้านกฎหมาย

นพ.สิวดล กล่าวว่าจะเป็นการยื่นผ่านกลไกรัฐสภา ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนนโดยเฉพาะ คือ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขมาหลายฉบับแต่ยังไม่มีมาตราไหนที่เขียนเกี่ยวกับการข้ามทางม้าลายโดยเฉพาะ จึงไม่มีบทลงโทษเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง

จุดประสงค์ของเรา อย่างน้อยควรมีการเขียนกฎหมายแยกออกมาเลยว่าคนใช้รถต้องหยุดให้คนข้ามทางม้าลายเสมอ เพื่อที่จะได้มีมาตราเกี่ยวกับบทลงโทษโดยเฉพาะ จะได้เกิดการตระหนักรู้ในสังคมว่าถ้าไม่ทำตามจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย 

ขณะนี้มีการรวบรวมรายชื่อผ่าน “https://www.change.org/p/ทุกชีวิตมีความหมาย-ทางม้าลายต้องปลอดภัย-หมอกระต่าย” มีคนร่วมลงชื่อเกือบ 5 หมื่นคนแล้วและพรุ่งนี้ (10 ก.พ.) จะมีการไปยื่นต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร หลังจากนี้มีการวางแผนว่าจะไปยื่นต่อหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น แพทยสภา หรือกรมการขนส่ง 

นพ.สิวดล กล่าวอีกว่านอกจากนี้แผนระยะกลาง คือหากระยะแรกยังไม่เกิดอะไรที่เป็นรูปธรรม อาจจะมีการเสนอร่างกฎหมายโดยให้ผู้เชี่ยวชาญมาร่างตัวอย่างกฎหมายแล้วนำไปยื่นผ่านกลไกสภา แต่อย่างไรก็ตามเรื่องทางกฎหมายเป็นแค่ปัจจัยส่วนเดียวที่จะช่วยผลักดัน ให้ถนนมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งอาจจะต้องมีหลายๆ ส่วนช่วยกัน

2.ทีมศึกษาเกี่ยวกับกายภาพของทางม้าลายเมืองไทย โดยทีมนี้จะศึกษาว่าจริงๆ แล้วทางม้าลายที่ดีควรจะเป็นอย่างไร เมื่อศึกษาเสร็จ  ก็จะรวบรวมข้อมูลส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดขึ้นจริง เพราะเราไม่สามารถไปทำเองได้ จึงต้องขอความร่วมมือ จากส่วนต่างๆ 

3. ทีมรณรงค์ปลูกจิตสำนึก มารยาทเกี่ยวกับการขับขี่  เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ว่า  “ทางม้าลายเป็นของคนเดินถนน คนใช้รถต้องให้เกียรติคนเดินถนน เจอทางม้าลายคุณต้องหยุด”

พญ.ธารทิพย์ กล่าวถึงแคมเปญรณรงค์ ว่าตอนนี้ช่วงเริ่มต้น จะเน้นไปที่การสื่อสารให้คนรู้จักกลุ่มเราก่อน ทราบวัตถุประสงค์และเป้าหมายของเรา จะได้ทำให้คนที่เห็นด้วยกับเรามาร่วมกันจนเป็นเสียงที่มีพลังโอกาสที่จะไปนำเสนอ ผลักดันเรื่องต่างๆ  ต่อไปจะได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง 

 

  ทำให้คนผิดกลายเป็น  แกะดำ

อย่างไรก็ตามหลังเกิดเคสหมอกระต่าย ได้เพียงไม่กี่วัน ก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ทางม้าลายอีก เช่น วันที่ 27 ม.ค.2565 เวลาประมาณ 23.30 น. เกิดเหตุรถกระบะชนคนเดินข้ามทางม้าลาย ถนนสายกิ่งแก้ว ช่วงปากซอยกิ่งแก้ว 52 / 1 ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส  โดยคนขับรถเล่าว่า ก่อนเกิดเหตุตนขับอยู่ในเลนขวาสุด อยู่ๆ ผู้บาดเจ็บได้เดินลงมาจากเกาะกลางถนนเพื่อจะข้ามถนนไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยที่ตนไม่ทันระวังจึงพุ่งชนเข้าอย่างจังยืนยันว่ามองไม่เห็นว่ามีคนเดินมาจากเกาะกลางและกำลังจะข้ามถนน อีกทั้งบริเวณดังกล่าวแสงไฟไม่ค่อยสว่างเท่าที่ควร ประกอบกับทางม้าลายจุดนี้เส้นไม่ชัดเจน 

และยังมีอีกเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2565 มีคนขี่รถจักรยานยนต์ จอดรถให้คนข้ามทางม้าลาย แต่กลับโดนรถคันหลังชน และยังมีรถคันอื่นมาต่อว่าหาว่า “จอดรถไม่ดูตาม้าตาเรือ”  

พญ.ธารทิพย์ บอกว่า เรื่องนี้ต้องมีการแก้ไปพร้อมๆ กัน ทั้งเรื่องกฎหมายที่มีการบังคับใช้ได้จริง และทางกายภาพถนนก็ต้องเอื้อต่อผู้ใช้รถใช้ถนนให้มีความปลอดภัย และการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกก็ต้องทำควบคู่กันไปทุกอย่าง 

ด้านนพ.สิวดล กล่าวว่า ต้องเข้าใจว่าตอนนี้ค่านิยมคือ รถเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าคนข้ามถนน ตอนนี้ทุกคนเข้าใจกันแบบนี้ พอมีคนนึงที่ฝืนธรรมชาติสังคมไปจะกลายเป็น “แกะดำ” และโดนว่า แต่ที่เราต้องการจะทำคือ ทำให้การจอดรถให้คนข้ามทางม้าลายเป็นสิ่งที่ทุกคนทำกันและคนที่ไม่หยุดตรงทางม้าลายกลายเป็น “แกะดำ” แทน 

ทั้งนี้ พญ.ธารทิพย์และนพ.สิวดล บอกว่า ตอนนี้โครงการพึ่งเริ่ม อนาคตอีก 5 ปี 10 ปี ข้างหน้าเราคงไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร หรือจะแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ แต่สิ่งที่คาดหวังคือ อยากให้ ”ทางม้าลายต้องปลอดภัย”  

  อยากเข้ามาร่วมทีมขับเคลื่อน ต้องทำอย่างไร 

พญ.ธารทิพย์ บอกว่าในอนาคตตามแผนงานที่วางไว้ สิ่งที่เราจะทำไม่ใช่สิ่งที่ถนัด ทั้งด้านกฎหมาย เรื่องกายภาพถนน ทางม้าลาย หรือการรณรงค์ ซึ่งต้องการคนที่มีความเชี่ยวชาญ หรือกลุ่มอาชีพอื่นๆ เข้ามาร่วมผลักดันด้วยเพื่อให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้จริง 

ถ้ามีคนสนใจต้องการเข้ามาร่วมทีมหรือมาเป็นอาสาสมัครในการช่วยขับเคลื่อนสามารถติดต่อมาได้ทั้งทาง ทวิตเตอร์  @rabbitcross_th เฟซบุ๊ก Rabbit Crossing ทางกระต่าย หรือทางเมล [email protected]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า