SHARE

คัดลอกแล้ว

เคยไหม? ทั้งโกรธ ทั้งผิดหวัง ที่ตั้งใจทำงานมาตลอด แต่บริษัทกลับไม่เห็นคุณค่า ไม่ได้รับคำชื่นชม ไม่ได้รับการปรับตำแหน่ง-เพิ่มโบนัส ไม่ได้อยากเปลี่ยนงานด้วยเหตุผลเชิงบวกอย่างการเปลี่ยนเป้าหมายชีวิต วางแผนไปเติบโต หรืออยากเป็นคนที่เก่งขึ้น

บุคคลที่ตรงกับลักษณะดังกล่าว จะมี ‘แรงขับเชิงลบ’ ในการเปลี่ยนงาน เพราะรู้สึกโกรธเลยโปรยเรซูเม่ไปหลายๆ แห่งในคราวเดียวกัน เพียงเพราะต้องการระบายความอัดอั้นตันใจก็เท่านั้น

เราเรียกเทรนด์การสมัครงานในลักษณะนี้ว่า ‘Rage applying’ ล้างแค้นองค์กรด้วยการสมัครงานใหม่แทน

[ เข้าใจเบื้องลึกการสมัครงานด้วยความโกรธ และแรงกระตุ้นที่ทำให้มวลอารมณ์ทวีคูณ ]

เว็บไซต์เดอะมิวส์ (The Muse) อธิบายถึงที่มาที่ไปของเทรนด์ ‘Rage applying’ ว่า การสมัครงานด้วยความโกรธมักเกิดจากการที่คนคนหนึ่งรู้สึก ‘พอแล้ว’ กับสิ่งที่กำลังเผชิญ มวลอารมณ์ลบเหล่านั้นจะทำให้คุณคลิกปุ่มสมัครงานได้ง่ายขึ้น ไม่ได้ซับซ้อน ทบทวนไปมาเหมือนอย่างสภาวะปกติ

‘Rage applying’ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแอปพลิเคชันติ๊กต่อก (TikTok) โดยมีผู้ใช้งานรายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า ‘@redweez’ โพสต์วิดีโอที่อ้างว่า ตนได้รับข้อเสนอการจ้างงานในอัตรา 25,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน โดยเป็นสมัครงานหลังจากเกิดความรู้สึกเบื่องานที่เดิม

แอคเคานต์ @redweez ได้กล่าวในคลิปว่า “This is your sign to keep rage applying to jobs,” หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “นี่คือสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่า ให้คุณใช้ความโกรธในการสมัครงานซะ” 

จากนั้นไม่นาน วิดีโอนี้ก็กลายเป็นไวรัลในติ๊กต่อกทันที และยังมีผู้ใช้งานอีกหลายคนร่วมแบ่งปันประประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ ‘Rage applying’ ด้วย

ภายหลังคลิปวิดีโอดังกล่าวเผยแพร่และได้รับการพูดถึงในโซเชียล แคสซี สเปนเซอร์ (Cassie Spencer) โค้ชมืออาชีพของมิวส์ได้ให้ความเห็นว่า อันที่จริงแล้ว ‘ความโกรธ’ เป็นสารตั้งต้นในการเริ่มหางานใหม่ของผู้คนมาโดยตลอด เพราะแรงกระตุ้นเชิงลบมักจะรุนแรงกว่าแรงกระตุ้นเชิงบวกในการผลักดันให้คนออกจากคอมฟอร์ตโซนไปเริ่มต้นใหม่เสมอ 

ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับระบบการทำงาน การมีเจ้านายที่เป็นพิษ นโยบายองค์กรที่เปลี่ยนไปอย่างการยกเลิกมาตรการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) หรือกระแสการปลดพนักงานในองค์กร เป็นต้น

ฉะนั้น ด้วยความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พนักงานจะรู้สึกโกรธ ยังไม่รวมถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่ผ่านมาที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นวันที่ยากลำบากของใครหลายคน 

แต่สิ่งที่พวกเขาได้รับกลับมา คือบรรยากาศการทำงานที่ปราศจากคำชื่นชม ซึ่งปรากฏการณ์นี้ยังเรียกได้อีกชื่อว่า ‘Panic applying’ หรือการสมัครงานด้วยความตื่นตระหนก

สเปนเซอร์ให้ความเห็นว่า คนที่เลือกสมัครงานด้วยภาวะ ‘Rage applying’ มองว่าตนเองกำลังหาทางแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ ทุกคนมี ‘Bad day’ หรือวันแย่ๆ ในที่ทำงานเสมอ บางคนได้ยินข่าวคราวการปลดพนักงานบางส่วนในบริษัท ทำให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย รวมถึงไม่มีมาตรการในการดูแลความรู้สึกของคนทำงานหลังจากนั้นร่วมด้วย และไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งเหล่านี้สร้างความหวาดกลัว และความรู้สึกติดลบที่มีต่อองค์กรได้ง่ายๆ

[ สมัครด้วยความโกรธ โอกาสได้งานน้อยลง ลดความมั่นใจในตัวเอง ]

ถ้าคุณกำลังเป็นอีกคนที่รู้สึกพลาดหวัง จนอยากร่อนใบสมัครงานด้วยโกรธดูบ้าง ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ในความเป็นจริง คุณอาจจะไม่ได้ลงเอยเหมือนกับไวรัลติ๊กต่อกเสมอไป

อย่างแรก การสมัครโดยมีความโกรธเป็นแรงขับเคลื่อน อาจพาคุณเข้าสู่วงจรการสมัครงานที่เต็มไปด้วยอารมณ์แต่ริบหรี่ด้วยโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะคว้าตำแหน่งใหม่มาครอง 

‘Rage applying’ อาจทำให้เราไม่ได้ใส่ความตั้งใจในการสมัครงานนี้จริงๆ ไม่ได้ขายความเป็นตัวเองมากพอ ไม่เห็นข้อผิดพลาดของตัวเองในการโปรยใบสมัครครั้งนี้ได้ และสุดท้าย แรงขับด้วยอารมณ์โกรธก็ไม่ได้ช่วยให้คุณสมัครงานใหม่สำเร็จ

ในอีกมุมหนึ่ง แอนเดรีย กรีน (Andrea Green) โค้ชด้านอาชีพของมิวส์ และผู้ก่อตั้ง ‘Resume Scripter’ ได้ให้เหตุผลว่า แม้ ‘Rage applying’ อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีที่สุด แต่ก็มีส่วนช่วยเปิดโอกาสต่างๆ มากมายในคราวเดียวกัน 

โดยเขาให้นิยามว่า การร่อนใบสมัครงานด้วยความโกรธเหมือนกับ ‘การเปิดไฟให้กับหม้อหลายใบพร้อมกัน’ 

อย่างไรก็ตาม หากสุดท้ายแล้วได้งานที่ดี ที่ตรงกับความต้องการจากการสมัครด้วยความโกรธก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้คุณคว้างานใหม่ได้สำเร็จ แต่หากได้งานไม่ตรงใจนักก็ให้คิดเสียว่า การสมัครงานครั้งนี้เป็นเหมือนกับการลองโยนเมล็ดพืชหว่านลงไป ถ้าออกดอกออกผลก็นับเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียดายไป ลองเปลี่ยนแรงขับเคลื่อน วิธีคิดในการสมัครงานดูใหม่ เพื่อสุดท้ายจะได้งานที่ตรงกับใจมากที่สุด

ที่มา

https://www.cnbc.com/2023/01/25/is-rage-applying-the-new-quiet-quitting-heres-what-experts-say.html

https://www.themuse.com/advice/rage-applying 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า