SHARE

คัดลอกแล้ว
การประชุมสุดยอดอาเซียนที่กำลังจัดขึ้นแบบออนไลน์ โดยมีเวียดนามเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ กำลังถูกจับตาว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของข้อตกลง RCEP ที่ริเริ่มโดยมหาอำนาจอย่างจีน
 
ข้อตกลงนี้เป็นความร่วมมือการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก และใช้เวลาการเจรจามาอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า 8 ปี แต่กลับจะมาลงนามกันในครั้งนี้ได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเงื่อนไขต่างๆ ลงตัว แต่อีกส่วนหนึ่งก็ถูกมองว่า มาจากแรงกดดันที่จีนต้องเร่งลงนามข้อตกลงนี้ เพื่อเป็นหลักประกันอิทธิพลในภูมิภาค ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะเปลี่ยนมือเป็นของโจ ไบเดน
 
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้ workpointTODAY สรุปความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น พร้อมวิเคราะห์ใน 3 ข้อ ดังนี้
=====================
1️⃣ ทรัมป์ไม่เคยสนใจอาเซียน
=====================
รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับอาเซียน เห็นได้ชัดจากการที่ล่าสุดประธานาธิบดีทรัมป์ ไม่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนในวันนี้ (14 พ.ย.) ซึ่งถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้วที่ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วยตัวเอง และส่งให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรองลงมาทำหน้าที่แทน
นายโรเบิร์ต โอไบรเอน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ซึ่งเข้าร่วมประชุมแทนประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่า ประธานาธิบดีทรัมป์รู้สึกเสียใจที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมกับ 10 ชาติสมาชิกอาเซียนได้ แต่ก็ย้ำถึงความสำคัญของภูมิภาคอาเซียนที่สหรัฐฯ จะต้องเดินหน้าทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19
ประธานาธิบดีทรัมป์เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2560 ก่อนจะส่งตัวแทนเข้าประชุมในการประชุม 2 ครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งในครั้งล่าสุดที่กำลังจัดขึ้นด้วย โดยในการประชุมเมื่อปีที่แล้วซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ รัฐบาลสหรัฐฯ เคยนัดหมายว่า จะจัดประชุมนัดพิเศษกับชาติสมาชิกอาเซียนที่สหรัฐฯ แต่สุดท้ายการประชุมดังกล่าวถูกระงับไปเนื่องจากเกิดภาวะโรคระบาด
ท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯ ในสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ที่ดูเหมือนจะไม่ให้ความสำคัญกับอาเซียน ทำให้จีนพยายามเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคแทน โดยเฉพาะในการประชุมครั้งนี้ที่ต้องจับตาการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งจีนเป็นผู้ผลักดันหลัก
=========================
2️⃣ จีนเร่ง RCEP ก่อนหมดยุคทรัมป์
=========================
ความตกลง RCEP ประกอบชาติสมาชิก 15 ประเทศได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน โดยที่แต่เดิมอินเดียมีแผนจะเข้าร่วมด้วยแต่ถอนตัวเมื่อปีที่แล้ว
หากการลงนามประสบความสำเร็จ ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามในวันอาทิตย์ (15 พ.ย.) ข้อตกลงนี้จะเป็นข้อตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะมีขนาดประชากรของประเทศสมาชิกทั้งหมดรวมกันคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของประชากรโลก และมีขนาดเศรษฐกิจราว 30% ของจีดีพีโลก
ความได้เปรียบของข้อตกลง RCEP คือเรื่องกำแพงภาษีระหว่างชาติสมาชิก ขณะเดียวกันอีกจุดเด่นของข้อตกลง RCEP คือด้วยความที่เป็นข้อตกลงของจีนซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการเมือง สิทธิแรงงานหรือสิ่งแวดล้อมมากเท่ากับข้อตกลงของสหรัฐฯ
แต่ข้อตกลง RCEP ใช้เวลาเจรจากันไม่ต่ำกว่า 8 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ข้อตกลงนี้มีประเด็นในรายละเอียดจำนวนมากที่ชาติสมาชิกเห็นไม่ตรงกัน สอดคล้องกับความเห็นของนายโมฮัมเหม็ด อาซมิน อาลี รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของมาเลเซีย ที่ถึงขั้นนิยามว่า ข้อตกลง RCEP แลกมาด้วยเลือด หยาดเหงื่อและน้ำตาตลอด 8 ปีของการเจรจากัน
===========================
3️⃣ ทำไมต้องปิดดีล RCEP ก่อนไบเดน
===========================
เป็นที่รับรู้กันว่า แนวนโยบายของนายโจ ไบเดน จะมีส่วนคล้ายนโยบายอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่ให้ความสำคัญกับเอเชีย ซึ่งแม้ในการรณรงค์หาเสียงก่อนเลือกตั้ง นายไบเดนจะสงวนท่าทีไม่พูดถึงความร่วมมือกับเอเชียมากนัก เพื่อรักษาฐานเสียงชาวอเมริกัน
การกลับมาให้ความสนใจเอเชียของไบเดน จะยังคงเน้นเรื่องการเข้ามาคานอิทธิพลของจีนเหมือนรัฐบาลทรัมป์ แต่จะไม่ใช่วิธีการสร้างสงครามการค้าแบบประธานาธิบดีทรัมป์ โดยนายไบเดนอาจอาศัยการสร้างความร่วมมือทางการค้ากับชาติต่างๆ เหมือนที่อดีตประธานาธิบดีโอบามาผลักดันความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ซึ่งรัฐบาลทรัมป์ประกาศถอนตัว และมีการเปลี่ยนแปลงชื่อและรายละเอียดข้อตกลงเป็น CPTPP ในเวลาต่อมา
รายงานระบุว่า ทีมงานของนายไบเดนอาจไม่ใช่วิธีกลับไปเข้าร่วม CPTPP แต่อาจเดินหน้าสร้างข้อตกลงใหม่ๆ กับชาติเอเชีย ขณะเดียวกันก็น่าจะมีเงื่อนไขปกป้องผลประโยชน์ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นจุดเด่นของรัฐบาลทรัมป์ด้วย
ดังนั้นก่อนจะถึงจังหวะเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลไบเดน ซึ่งมีแนวโน้มกลับมาเอเชียพร้อมกับข้อตกลงใหม่ๆ เพื่อคานอำนาจทางเศรษฐกิจของจีน นี่เป็นจังหวะที่ดีที่สุดแล้วที่จีนจะต้องเร่งความตกลง RCEP ที่ตัวเองผลักดันให้ลุล่วงให้ได้ เพื่อเป็นปราการสำคัญป้องกันการรุกคืบของรัฐบาลสหรัฐฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า