SHARE

คัดลอกแล้ว

ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เผยภาพรวมตลาดอสังหาฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ยังคงไม่ฟื้นตัวหลังเผชิญความท้าทายรอบด้านทั้งจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อผนวกกับภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานและวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

สาเหตุทั้งหมดนี้ ฉุดให้ผู้บริโภคตัดสินใจชะลอแผนซื้อที่อยู่อาศัยแม้จะยังมีความต้องการ ด้านที่อยู่อาศัยแนวราบยังครองใจคนหาบ้าน เห็นได้ชัดจากความต้องการซื้อที่เติบโตต่อเนื่อง ส่วนที่อยู่อาศัยแนวสูงยังเป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้เช่า ภาคธุรกิจอสังหาฯ ลุ้นการเปิดประเทศเต็มรูปแบบดึงดูดกำลังซื้อต่างชาติ อันจะมีผลในการช่วยผลักดันตลาดคอนโดมิเนียมให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง

คาดการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังมีโอกาสฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แนะภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงจุดมาช่วยเพิ่มความสามารถในการซื้อ ปลุกความเชื่อมั่นผู้บริโภค กระตุ้นการเติบโตอสังหาฯ ให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Report Q2 2565 – Powered by PropertyGuru DataSense เผยดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 83 จุด หรือลดลง 1% จากไตรมาสก่อน โดยต่ำกว่าดัชนีราคาปี 2561 (ก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19) ถึง 17% นอกจากนี้​ รูปแบบการใช้ชีวิตยุค New Normal ที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้บริโภคมองหาที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น เห็นได้ชัดจากดัชนีราคาบ้านเดี่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นถึง 5% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 19% จากปีก่อนหน้า

ส่วนดัชนีราคาทาวน์เฮ้าส์มีการเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นถึง 2% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียมแม้ดัชนีราคาจะทรงตัวจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้ากลับลดลงถึง 6% เนื่องจากกำลังซื้อผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับการที่ชาวต่างชาติซึ่งเป็นอีกกำลังซื้อสำคัญห่างหายจากตลาดไปเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตาม ปีนี้ยังเป็นโอกาสทองของผู้ซื้อและนักลงทุนระยะยาวที่มีความพร้อม เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในเวลานี้ยังคงชะลอตัว และเมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แล้วมีแนวโน้มที่ราคาอสังหาฯ จะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565

ข้อมูลจาก นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ มองว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจถือเป็นเงาสะท้อนสำคัญแสดงให้เห็นทิศทางการเติบโตของตลาดอสังหาฯ ที่ยังคงต้องเหนื่อยต่ออีกปี เนื่องจากความท้าทายตอนนี้ไม่ได้มาจากผลกระทบของโควิด-19 เพียงอย่างเดียว แต่บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันและต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มต่อเนื่องจากผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน

ทั้งหมดนี้กระทบต่อค่าครองชีพของผู้บริโภคโดยตรงและฉุดความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายให้น้อยลงตามไปด้วย ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 เนื่องจากผู้บริโภคยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น และผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ค่าดัชนีลดลงจากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ 47.1 ซึ่งเป็นการกลับมาต่ำกว่าค่ากลาง (50.0) อีกครั้ง สะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตของตลาดปีนี้อาจต้องอาศัยการประคับประคองร่วมกันทั้งจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค

โดยปีนี้ยังคงเป็นโอกาสของตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบ เห็นได้ชัดจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 48% จากปีก่อนหน้า ซึ่งผู้บริโภคมองว่าตอบโจทย์การอยู่อาศัยในระยะยาว ด้านคอนโดมิเนียมนั้นแม้ดัชนีราคาจะทรงตัว​แต่ยังมีโอกาสโตในตลาดเช่า หลังจากความต้องการเช่าเพิ่มขึ้นถึง 50% จากปีก่อนหน้า มองว่าหากมีการเปิดประเทศเต็มรูปแบบและภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานหรือลงทุนในไทยมากขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ตลาดคอนโดมิเนียมกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

ที่น่าสนใจคือบางทำเลนอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) และรอบนอกของกรุงเทพฯ เช่น ลาดกระบัง สายไหม ทวีวัฒนา มีระดับราคาค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ที่ต้องการลงทุนซื้ออสังหาฯ ปล่อยเช่า นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมที่รุมเร้าผู้บริโภคแล้ว เวลานี้ยังเป็นโอกาสที่ดีในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในราคาที่เหมาะสมสำหรับผู้ซื้อและนักลงทุนระยะยาวที่มีความพร้อมทางการเงิน เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยังคงชะลอตัว และยังมีโครงการที่อยู่อาศัยที่สร้างด้วยต้นทุนเดิมในตลาดให้เลือกพอสมควร ก่อนที่แนวโน้มราคาจะปรับขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565

ส่วนมาตรการภาครัฐที่มีตอนนี้อาจไม่ใช่ยาแรงพอจะช่วยกระตุ้นตลาดที่ซบเซามานานได้มากนัก ภาครัฐควรพิจารณามาตรการกระตุ้นเฉพาะภาคอสังหาฯ เพิ่มเติม เช่น การลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก หรือขยายมาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์-ค่าจดจำนองครอบคลุมที่อยู่อาศัยทุกระดับราคา รวมถึงมีมาตรการกระตุ้นภาคเศรษฐกิจที่ตรงจุดและชัดเจน เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการซื้อและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

เนื่องจากแม้จะมีการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ แต่เชื่อว่าการกลับมาของชาวต่างชาติน่าจะยังไม่คึกคักเทียบเท่ากับช่วงก่อนโควิด และการเติบโตในตลาดอสังหา​ฯ ยังขึ้นอยู่กับระดับความคลี่คลายของสถานการณ์ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดฯ หรือสถานการณ์ความขัดแย้งต่าง ๆ คาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดอสังหาฯ ของไทยในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้านี้ จะอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดด

เจาะลึกทำเลน่าจับตา

ทำเลที่มีศักยภาพเติบโต ทำเลที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่​จะอยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) และพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก โดยได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เปิดใช้บริการแล้วมาช่วยผ​ลักดันการเติบโต ดังนี้

  • เขตทวีวัฒนา อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นสูงที่สุด อยู่ที่ 15% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 22% จากปีก่อนหน้า โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 16% จากไตรมาสก่อน ได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทำให้การเดินทางเชื่อมต่อมุมเมืองอื่นและใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ สะดวกยิ่งขึ้น
  • เขตตลิ่งชัน อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 7% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 12% จากปีก่อนหน้า โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน ถือเป็นอีกทำเลที่ได้รับอานิสงส์จากการที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน พาดผ่าน
  • เขตบางกอกใหญ่ อยู่ในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อนหน้า โดยคอนโดฯ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 7% จากไตรมาสก่อน การมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่พาดผ่านถึง 2 ช่วง ทั้งช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-หลักสอง ซึ่งเชื่อมต่อกันที่สถานีท่าพระ เป็นอีกปัจจัยสำคัญ​ที่ช่วยให้ทำเลนี้น่าจับตามอง
  • เขตบางบอน อีกหนึ่งทำเลที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก แม้ไม่มีรถไฟฟ้าพาดผ่านแต่ถือเป็นแหล่งงานและแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการเติบโต จึงทำให้มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 10% จากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 26% จากปีก่อนหน้า โดยบ้านเดี่ยวมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 9% จากไตรมาสก่อน
  • เขตปทุมวัน ถือเป็นเขตเดียวในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ที่มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อน และเพิ่ม 12% จากปีก่อนหน้า โดยคอนโดฯ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 3% จากไตรมาสก่อน ศักยภาพของทำเลนี้ยังมาจากการอยู่ใกล้โครงการรถไฟฟ้า BTS ทั้งสายสุขุมวิท และสายสีลม และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ และยังใกล้แหล่งงานและสถานศึกษาชั้นนำ ถือเป็นหนึ่งในทำเลใจกลางเมืองที่น่าสนใจ มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า