SHARE

คัดลอกแล้ว

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 19-20 มิถุนายน 2564 มีกิจกรรมฉายภาพยนตร์ ‘The Boy Who Harnessed the Wind’ และภาพยนตร์สารคดี The Runner ที่ท่ามหาราช พร้อมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำสบู่ คลาสออกแบบฟุตบอล เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก โดย UNHCR ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย

วันที่ 17 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา UNHCR และพันธมิตร ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา และท่ามหาราช ร่วมกันเปิดตัวแคมเปญเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิถุนายน 2564 ที่ท่ามหาราช เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สำหรับกิจกรรมในปีนี้ได้แก่ เทศกาลภาพยนตร์เพื่อผู้ลี้ภัย และแคมเปญเรือลำพิเศษ เพื่อการสร้างเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในหมู่สาธารณชน

เทศกาลภาพยนต์ในปีนี้จะเปิดเป็นเทศกาลภาพยนตร์กลางแจ้ง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องมีการจำกัดผู้เข้าชมในแต่ละรอบ ผู้ชมที่เข้าลงทะเบียน 20 คนแรกจะได้เข้าชมภาพยนตร์ในเวลา 19.00 ของแต่ละวัน

วันที่ 19 มิถุนายน 2564 ฉายเรื่อง The Boy Who Harnessed the Wind เรื่องราวของผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นผลงานโปรดักชั่นสัญชาติบริติช
วันที่ 20 มิถุนายน 2564 ฉายสารคดีเรื่อง Runner ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวผู้ลี้ภัยสัญชาติเซาท์ซูดานในสหรัฐอเมริกา
เรื่อง The Runner จะยังจัดฉายทางออนไลน์ตลอดวันที่ 23-27 มิถุนายน 2564 ที่นี่

จูเซปเป้ เด วินเซ็นทิส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

นอกจากการฉายภาพยนต์ ภายในงานยังจัดกิจกรรมทำสบู่ เพื่อผู้ลี้ภัยที่กำลังเป็นหนึ่งส่วนที่ต้องต่อสู้กับสภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 ขณะเดียวกันก็มีกิจกรรมออกแบบลูกฟุตบอลเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการทางกีฬาแก่ผู้ลี้ภัยด้วย

วันผู้ลี้ภัยสากล จัดขึ้นทุกปีในวันที่ 20 มิถุนายน เพื่อระลึกถึงผู้ลี้ภัยทั่วโลกที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่นจากความรุนแรงและการประหัตประหาร วันผู้ลี้ภัยโลกถูกประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรก พ.ศ. 2544 ตามประกาศของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ด้วยหวังจะให้เป็นโอกาสในการสร้างความห่วงใยและความเข้าใจต่อพวกเขาที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่โหดร้าย และความเข้มแข็งที่ผู้ลี้ภัยมีในการสร้างชีวิตใหม่ให้กับตนเองและครอบครัว

“เมื่อปีที่แล้ว เราได้ให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข อาหารและที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคตามแนวชายแดนต่าง ๆ เป็นมูลค่ากว่า 26 ล้านเหรียญ ความช่วยเหลือนี้เป็นประโยชน์แก่ทั้งคนไทยและผู้พลัดถิ่น รวมถึงภาคธุรกิจ โรงพยาบาลและชุมชนท้องถิ่น” อุปทูตสหรัฐฯกล่าวในวาระนี้ นอกจากนี้ยังระบุว่าเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาให้คำมั่นที่จำขยายโครงการรับผู้ลี้ภัยเข้าสหรัฐอเมริกาให้เพิ่มจำนวนขึ้น “เราหวังจะได้ต้องรับผู้ลี้ภัยมายังสหรัฐฯมากขึ้น รวมถึงผุ้ลี้ภัยที่ตอนนี้ลี้ภัยอยู่ในประเทศไทย”

“ผมเชื่อว่าผู้ลี้ภัยได้ช่วยสร้างสหรัฐฯ ให้แข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าเดิม นักการทูตสหรัฐฯหลายคนเคยเป็นผู้ลี้ภัย บางคนก็มาจากครอบครัวที่ลี้ภัยมา รวมถึงในการทูตสหรัฐฯที่ปฏิบัติงานอยู่กับผมในกรุงเทพฯตอนนี้ก็มีที่เป็นผู้ลี้ภัยเช่นเดียวกัน นอกจากนักการทูต สหรัฐฯยังมีผู้ลี้ภัยที่เป็นหมอ ศาสตราจารย์ นักธุรกิจและนักกีฬาโอลิมปิก” ไมเคิล ฮีธ ระบุ “ชาวอเมริกันเชื่อว่าผู้ลี้ภัยสมควรที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นและสร้างคุณประโยชน์ที่สำคัญให้แก่สังคม และผมเชื่อว่าไม่ได้มีแค่สหรัฐที่คิดแบบนี้แต่ไทยที่ให้ที่พักพิงผู้ลี้ภัยก็คงคิดเหมือนกัน ตรงกับแนวคิดผู้ลี้ภัยโลกปีนี้ คือร่วมรักษา ร่วมเรียนรู้ และร่วมจุดประกาย”

ส่วนอเล็กซานดรา แมคเคนซี อัคราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยกล่าวว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรให้ความสนใจกับเรื่องการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาในสถานกาณ์โควิด-19 ซึ่งผู้ลี้ภัยยิ่งเข้าถึงได้ยากยิ่งกว่าเด็กกลุ่มอื่น ๆ การจุดประกายด้วยการศึกษาจึงต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ หากผู้สนใจมาชมเรื่อง The Boy Who Harnessed the Wind ที่สร้างโดยทีมโปรดักชั่นสัญชาติอังกฤษก็จะพบว่า การศึกษาไม่เพียงแต่ยกระดับทางด้านเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ลี้ภัยในระยะยาว แต่ยังเติมเต็มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในตัวผู้ลี้ภัยด้วย

อเล็กซานดรา แมคเคนซี อัคราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย

ในโอกาสนี้มีการมอบรางวัลให้แก่ พัชรวุฒิ จงเจริญวัฒนา ผู้ชนะการประกวดออกแบบโปสเตอร์งานเทศกาลภาพยนตร์เพื่อผู้ลี้ภัย ภายใต้คอนเซปความร่วมแรงร่วมใจดึงเพื่อนมนุษย์ออกจาก ‘หลุมดำ’ โดยนอกจากประชาคมโลกจะช่วยกันดึงแล้วก็มีสมาชิกผู้ลี้ภัยช่วยกันสนับสนุนและดึงกันและกันด้วย

พัชรวุฒิ จงเจริญวัฒนา ผู้ชนะการประกวดออกแบบโปสเตอร์งานเทศกาลภาพยนตร์เพื่อผู้ลี้ภัย ปี 2564

ท้ายสุดเป็นการเปิดตัวเรือลำพิเศษ เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลกเพื่อรณรงค์ข้อความเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลกและสร้างความรับรู้และจุดประกายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

เรือลำพิเศษเนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก

จูเซปเป้ เด วินเซ็นทิส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหปนะชาชาติ กล่าวว่าเรือเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องจากผู้ลี้ภัยมาเสมอ ตั้งแต่ยุคสงครามอินโดจีน มาจนถึงภาวะผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลางที่ล่องเรือผ่านทะเลเมดิเตอเรเนียนหาพื้นที่ปลอดภัย หลายครั้งเกิดเรื่องน่าสลดใจดังที่เราเห็นภาพที่เกิดขึ้นในท้องทะเลเมดิเตอเรเนียน แต่เรือก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของความหวังในการแสวงหาความปลอดภัยและหนทางในการเอาชีวิตรอดของผู้ลี้ภัยอยู่เสมอ

ไมเคิล ฮีธ อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

จูเซปเป้กล่าวว่า แม้ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีการรณรงค์ในลักษณะนี้แต่ก็เชื่อว่าเป็นการทดลองที่ดีในการจุดประกายความจระหนักรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เรือนี้จะเป็นเรือที่จะให้บริการในแม่น้ำเจ้าพระยาจริง ๆ ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน – กันยายน 2564

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า