SHARE

คัดลอกแล้ว

เรื่องของพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนแม้ว่าจะถูกพูดถึงมานานจนแทบจะเอียน แต่สิ่งที่น่าเศร้ากว่าก็คือ การเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวในหลายประเทศที่ยังช้า รวมถึงในประเทศไทย

ผลสำรวจล่าสุดของ Climate Opinion Research Exchange (CORE) และ FT Longitude ของสื่อดังอย่าง The Financial Times ได้เปิดเผยความคิดเห็นเกี่ยวกับ ‘การลงทุน’ ในช่วงระยะสั้น และระยะยาวเกี่ยวกับพลังงาน ตั้งแต่เชื้อเพลิงฟอสซิล ไปจนถึงพลังงานทางเลือก

โดยเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในอุตสาหกรรมต่างๆ 426 รายจากตลาดเอเชีย 6 แห่ง คือ ฮ่องกง, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งผู้ที่ทำการสำรวจมาจากระดับผู้นำ เช่น ภาคธนาคาร, การจัดการสินทรัพย์, ประกันภัย, กองทุนบำเหน็จบำนาญ และอื่นๆ

สิ่งที่น่าสนใจคือ นักลงทุนเตรียมทำกำไรจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ‘แค่ระยะสั้น’ โดยมองว่า ‘น้ำมัน’ น่าจะเป็นภาคส่วนพลังงานที่ทำกำไรให้มากที่สุด แต่โกยกำไรได้แค่ช่วง 1 ปีเท่านั้น

นักลงทุน 3 ใน 4 หรือราว 75% มองว่าอนาคตที่ไม่แน่นอนของเชื้อเพลิงฟอสซิล ตั้งแต่น้ำมันไปจนถึงถ่านหิน ทำให้การลงทุนในภาคส่วนนี้ไม่น่าดึงดูดใจ ประเมินว่านักลงทุนน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 ปีข้างหน้าเพื่อทำกำไร ก่อนหันไปพึ่งพาพลังงานทดแทน

ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนคาดหวังว่า พวกเขาน่าจะหยุดลงทุนใน ‘ถ่านหิน’ ภายในปี 2031 และ ‘น้ำมัน’ ภายในปี 2036

[ มุมมองการลงทุนจาก C-Level เกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิล ]

ในรายงานฉบับนี้ได้ยกตัวอย่างมุมมองของคนระดับ C-Level เกี่ยวกับความกังวลที่พวกเขามีต่อการลงทุนในเชื้อเพลิงฟอสซิลว่า หากภาคธุรกิจหรือการลงทุนยังไม่ปรับตัวจะเกิดอะไรขึ้น?

ความกังวลที่มากที่สุดคือ ภาพลักษณ์และชื่อเสียงของนักลงทุนหรือธุรกิจมากถึง 43%, ความกังวลเรื่องการปรับตัวให้สอดคล้องกับนโยบาย ESG 38% และ 34% ที่คิดว่าน่าจะมีแรงกดดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น เช่น ลูกค้า และภาคสังคมที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนที่ไม่อิงกระแสโลก

Christina Ng กรรมการผู้จัดการของ Energy Shift Institute ที่กล่าวว่า “อนาคตที่ไม่แน่นอนของเชื้อเพลิงฟอสซิลจะส่งผลกระทบต่อกฎระเบียบ, ชื่อเสียง และความเสี่ยงทางกฎหมาย รวมไปถึงนโยบายการกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้นสำหรับการลงทุนในแต่ละครั้ง”

“ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมอากาศกำลังส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างมาก ไม่ใช่แค่ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมหรือจริยธรรมทางสังคม แต่ธุรกิจหรือนักลงทุนต้องเข้าใจว่า มันโยงไปถึงความเสี่ยงทางการเงินและโอกาสในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำด้วย เพราะเทคโนโลยีที่ดีกว่า สะอาดกว่า จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ”

Mark Campanale ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Carbon Tracker ซึ่งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอนของอังกฤษ เขาได้กล่าวว่า “เราได้เห็นสัญญาณมาสักระยะแล้ว ยืนยันว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังจะถึงจุดจบในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น เราจะเห็นว่าช่วงระยะสั้นๆ นี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่ันักลงทุนจะทำกำไรจากน้ำมันและก๊าซ ขณะที่พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นตัวที่สร้างความเชื่อมั่นด้านผลกำไร และความเสี่ยงในระยะยาวให้กับนักลงทุนแทน”

ทางด้าน Arjun Flora ผู้อำนวยการฝ่ายยุโรปของ IEEFA ได้กล่าวว่า “จากนี้ไปเชื้อเพลิงจากถ่านหินกำลังจะหมดลง ส่วนน้ำมันก็แย่ลงเรื่อยๆ แต่พลังงานหมุนเวียนจะแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่ทั่วโลกจะปฎิวัติเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง”

[ ไทยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเกิน 80% ]

ในส่วนของประเทศไทยแม้ว่าหลายหน่วยงานพยายามผลักดันเรื่อง ‘พลังงานทดแทน’ อย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐและเอกชนก็มีการพูดถึงช่วงที่ผ่านมา แต่ในแง่ของการทำได้จริงในภาพรวม ไทยอาจจะยังขยับตัวช้า

‘ธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์’ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อทดแทน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เคยพูดเอาไว้ในงานเสวนา COP 26 สู่ COP 28 ปีที่แล้วว่าอุตสาหกรรมในไทยยังใช้พลังงานฟอสซิลกว่า 80% ในประเทศ เป็นตัวเลขที่สูงทีเดียว

ขณะที่ในปีเดียวกันนั้น ธนาคารหลายแห่งก็พยายามผลักดัน ‘การปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มธุรกิจสีเขียว’ (Green Loan) สร้างแรงจูงใจมากมายเพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น

โดยข้อมูลของ KResearch ได้สรุปในปี 2023 เกี่ยวกับความคืบหน้าของไทยในเชิงนโยบายสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งภาครัฐตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจาก 13.3% เป็น 50% ของปริมาณผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในอีก 5 ปีข้างหน้า

ส่วนภาคเอกชนเริ่มมีการลงทุนและใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว โดยมี 91 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ RE100 (พลังงานหมุนเวียนร้อยเปอร์เซ็นต์) ซึ่งเกินครึ่งเป็นธุรกิจด้านพลังงาน ตามด้วยอุตสาหกรรมการผลิต และเกษตรและบริการ เป็นรูปแบบการลงทุนแบบ Private PPA มากที่สุดปีก่อน แต่คาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี 2024-2026 การลงทุนจะเพิ่มทั้ง เจ้าของกิจการลงทุนเองและบริการไฟฟ้าสีเขียวของภาครัฐที่เพิ่งเริ่มให้บริการในปีนี้

ตอนนี้ได้แต่คาดหวังว่า ถ้าไทยสามารถลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ตามเป้าก็น่าจะทำให้การดึงดูดด้านการลงทุนทั้งจากในไทยและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งภาครัฐเองต้องเอื้อความสะดวกในหลายแง่เพื่อกระตุ้นเม็ดเงินลงทุน เช่น โครงสร้างพื้นฐาน และการใช้มาตรการภาษีคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการผลักดัน พ.ร.บ. Climate Change ให้ได้จริงๆ ตามเป้าอีก 5 ปีข้างหน้า

 

อ้างอิง: kasikornresearch

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า