Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

พุธสุดท้ายของเดือนมกราคม กับอีกคดีการเมือง ที่ถูกจับตาจากสังคมมากเป็นพิเศษ ศาลรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครองของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล จากการเสนอแก้กฎหมาย มาตรา 112 โดยใช้เป็นการหาเสียง ในวันที่ 31 ม.ค. 67 เวลา 14.00 น.

10 ก.พ. 64 นายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในขณะนั้น เป็นผู้นำยื่นเสนอชุดร่างกฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน จำนวน 5 ฉบับ รวมถึงร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อประธานรัฐสภา

โดยมี สส. ของพรรคก้าวไกลในขณะนั้น 44 คน ร่วมลงชื่อ และมีอีก 9 ไม่ร่วมลงชื่อ แต่ร่างฯ ดังกล่าว ยังถูกบรรจุเข้าวาระสภาฯ

เนื่องจาก ถูกโต้แย้ง โดย สำนักการประชุม สภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาผู้แทนราษฎร (ขณะนั้นคือ นายชวน หลีกภัย) ว่า มีบทบัญญัติที่อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”

แก้ไขมาตรา 112 เป็น 1 ใน 300 นโยบาย ที่พรรคก้าวไกล ใช้หาเสียง ในการเลือกตั้งทั่วไป 14 พ.ค. 66

30 พ.ค. 66 นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความของอดีตพระพุทธอิสระ เข้ายื่นคำร้อง 8 แผ่น พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานอีก 75 แผ่น ต่อ อัยการสูงสุด (อสส.) ขอให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีคำวินิจฉัยสั่งการให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล เลิกกระทำการใดๆ เพื่อยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (อ้างอิง : infoquest ทนายความอดีต “พุทธอิสระ” ร้อง อสส.สกัด “พิธา-พรรคก้าวไกล” แตะ ม.112

16 มิ.ย. 66 นายธีรยุทธ ร้องศาลรัฐธรรมนูญ ให้สั่ง นายพิธา และพรรคก้าวไกล ยุติ เลิกทำนโยบายการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  (อ้างอิง : ผู้จัดการ “ทนายความอิสระ” ร้องศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง “พิธา-ก้าวไกล” แก้ไข ม.112 เหตุมุ่งหวังประโยชน์ทางการเมืองและเจตนาไม่บริสุทธิ์)

26 มิ.ย. 66  มติศาลรัฐธรรมนูญ ให้ถามกลับอัยการสูงสุด ศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติให้ถามกลับอัยการสูงสุดว่า มีคำสั่งรับหรือไม่รับดำเนินการ ตามที่ร้องขอของนายธีรยุทธ หากมีคำสั่งรับคำร้องขอ ดำเนินการแล้วอย่างไร และผลการดำเนินการเป็นอย่างไร โดยให้แจ้งต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

6 ก.ค. 66 อัยการสูงสุด ตอบกลับศาลรัฐธรรมนูญ โดย น.ส.นารี ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด เป็นผู้ลงนาม

12 ก.ค. 66 ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องที่ นายธีรยุทธ (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 49 ว่า การกระทำของนายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคก้าวไกล (ผู้ถูกร้องที่ 2) ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่

14 ก.ค. 66 วันโหวตนายกรัฐมนตรี รอบแรก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในขณะนั้น เสนอชื่อ นายพิธา ให้ที่ประชุมร่วมรัฐสภาโหวต เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อผลการลงมติออกมา นายพิธา ไม่ผ่าน โดยมีเสียง เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง ขาดประชุม/ไม่ลงมติ 44 เสียง โดยวันนั้นมีการเปิดให้อภิปรายก่อนลงมติ ซึ่งข้อหาที่นายพิธา ถูกคัดค้าน หลักๆ ก็คือเรื่อง ม. 112

26 ม.ค. 67 นายพิธา ซึ่งปัจจุบัน เป็น ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดแถลงข่าว แผนการทำงานของพรรคก้าวไกล (MFP’S Strategic Roadmap) ประจำปี 2567  เป้าหมาย 6 บิ๊กแบง (Big Bang) ที่จะทำให้ประชาชนได้เห็นในแบบฉบับของก้าวไกล โดยจะเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมาย 47 ฉบับเข้าสู่สภาฯ

ในวันนั้น มีผู้สื่อข่าวถามนายพิธาว่า จะมีการผลักดันการแก้ไข มาตรา 112 หรือไม่ เพราะในโรดแมปที่แถลงไม่ได้ระบุไว้

โดยนายพิธา ตอบว่า “ตรงนี้ทำอะไรไม่ได้ ต้องรอคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นในพรรคก็ยังไม่มีการพูดคุยกัน”

27 ม.ค. 67 เวลา 00.55 น. นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ความเห็นลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ใจความโดยสรุปคือ ไม่เห็นด้วยกับการแถลงการณ์แผนการพรรคก้าวไกล ในปี 2567 มองว่า ผิดพลาด โดยเฉพาะแผนเสนอร่าง พ.ร.บ. 47 ฉบับ โดยไม่มีร่างแก้ไข 112

“ผมไม่เห็นด้วยกับการแถลงการณ์แผนการพรรคก้าวไกลในปี 2567 ผมเข้าใจดีว่า ทีมงานของพรรคต้องการจัดแถลงการณ์นี้ขึ้นมา เพื่อต้อนรับการกลับมาของพิธา แต่เมื่อผมเห็นเนื้อหาทั้งหมดแล้ว ผมเห็นว่า… ผิดพลาด โดยเฉพาะ แผนเสนอร่าง พ.ร.บ.47 ฉบับ โดยไม่มีร่างแก้ไข 112 พรรคอาจไม่ได้คิดว่าต้องพูดเรื่องนี้ แต่สื่อเขาคิด และสื่อถาม จี้ ขยายผลว่า สรุป 47 ฉบับในปี 67 ไม่มีแก้ 112 ใช่มั้ย?

กรณีนี้ ส่งผลอย่างไร ?

1. ย้ำความคิดว่า เราต้องยอมรับให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาอยู่เหนือฝ่ายนิติบัญญัติ การเสนอร่างกฎหมาย ต้องฟังว่าศาลรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร?

2. การไม่เสนอ และพูดว่าไม่เสนอ เพราะ รอศาลรัฐธรรมนูญ เสมือนกับส่งสัญญาณ “หมอบ” ก่อนคำวินิจฉัยในวันที่ 31 นี้

3. หากพรรคก้าวไกลคิดแบบเฉลียวเจ้าเล่ห์ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องแถลงในวันนี้เลย อดใจรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 31 มค นี้ก่อนก็ได้ เผื่อว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะหา ”ทางลง“ ให้พรรคก้าวไกล ด้วยการตีกรอบการแก้ 112 ไว้
ต่อไป พรรคก้าวไกลก็พูดตอบประชาชนโหวตเตอร์ได้ว่า แก้ 112 ไม่ได้ เพราะแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญบอกไว้”

 

27 ม.ค. 67 เวลา 9.00 น. พรรคก้าวไกล ปล่อยคลิป ‘ปฏิรูป ต้องไม่เท่ากับล้มล้าง’ ความยาว 7.58 นาที พร้อมระบุข้อความว่า แก้ไข 112 ไม่เท่ากับล้มสถาบัน แต่คือหน้าที่ตามระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

“พรรคก้าวไกล ขอยืนยันว่า การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นไปเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ธำรงอยู่คู่สังคมประชาธิปไตย โดยสร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองประมุข กับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน เพราะการวางสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ในที่สูง ไม่ได้ใช้กฎหมายที่รุนแรงและโทษสูง แต่คือการธำรงสถานะของพระมหากษัตริย์ไว้บนฐานของเหตุผล สติปัญญา และความยินยอมพร้อมใจของประชาชน”

 

28 ม.ค. 66 นายธีรยุทธ ผู้ยื่นคำร้องคดี ให้สัมภาษณ์กับ ไทยโพสต์ ระบุว่า คำร้องที่ยื่นไม่ได้มีการขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกลแต่อย่างใด โดยในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสอง หยุดที่จะนำนโยบายยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 มาใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง และขอให้หยุดการสัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นเรื่อง 112 ไม่ว่าจะต่อสื่อมวลชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ (อ้างอิง : ไทยโพสต์ เจาะคำร้องคดี พรรคก้าวไกล แก้ไข 112-ล้มล้างการปกครอง กับผลต่อเนื่อง ที่จะตามมา)

อ่านเพิ่มเติม ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

‘ก้าวไกล’ ยัน ม.112 มีปัญหาทั้งเนื้อหาและการบังคับใช้ ลุยดันร่างแก้กฎหมายเข้าสภา

มติศาลรธน.ให้ถามกลับอสส.ชัดเจนก่อนปมรับ-ไม่คำร้องทนายยื่นขอสั่ง ‘พิธา-พรรคก้าวไกล’ ยุติแก้ไขหรือยกเลิก 112

อสส. ตอบกลับศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ปมรับคำร้องสอบนโยบายหาเสียง ‘พิธา-ก้าวไกล’ เสนอแก้ 112

ศาลรธน.รับคำร้องปม ‘พิธา-ก้าวไกล’ หาเสียงแก้ ม.112 ล้มล้างการปกครองหรือไม่

‘ชาดา’ ซัด อย่าหลงระเริง อ้าง 14 ล้านเสียงแก้ ม.112 ‘พิธา’ ย้ำมีคุณสมบัติเสนอชื่อเป็นนายกฯ

สรุปคำตอบ ‘ไอติม-พริษฐ์’ แก้ไข ม.112 ไม่เท่ากับล้มล้างการปกครอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า