SHARE

คัดลอกแล้ว

รีวิว ‘Thor: Love and Thunder’ ด้วยรักและอัสนี สนุก ดูง่าย แต่ไม่ไร้ความหมาย

หากให้คำนิยามสั้น ๆ สำหรับ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี (ที่ไม่มีวสันต์) คงต้องเป็น สนุก ดูง่าย ขำได้แทบทุกฉาก เพราะเป็นภาพยนตร์ที่อัดมุกมาแน่นราวกับกลัวคนดูไม่ขำ เก็บครบไม่ว่าจะห้าบาท สิบบาท หรือ เหรียญสตางค์ กับเรื่องราวของ ธอร์ (รับบทโดย คริส เฮมส์เวิร์ธ) ผู้กำลังตามหาความสงบจากภายในหลังจากเผชิญความสูญเสียมาหลายครั้ง เขากลับมาดูแลตัวเองให้หุ่นดีและออกทำภารกิจช่วยเหลือตามแต่คนจะร้องขอ และคราวนี้เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับภารกิจใหญ่ เมื่อมีกอร์ นักเชือดเทพเจ้า (รับบทโดย คริสเตียน เบล) ออกล่าชีวิตเทพเจ้าไปทุกที่ ทำให้เขาต้องหาทางเอาชนะกอร์ให้ได้ และในขณะเดียวกันหัวใจของธอร์ก็ต้องสั่นไหวเหมือนโดนสายฟ้าฟาด เมื่อเจน (รับบทโดย นาตาลี พอร์ทแมน) แฟนเก่าที่หายไปจากชีวิตเขาถึง แปดปี เจ็ดเดือน กับหกวัน กลับเข้ามาในชีวิตในฐานะไมตี้ธอร์ พร้อมกับควงโยเนียร์ค้อนเก่าของเขากลับมาด้วย คราวนี้ถ่านไฟเก่าจะร้อนรอวันรื้อฟื้นหรือไม่ต้องมาดูกัน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่านี่เป็นภาพยนตร์ดูง่าย ไม่เครียด ความเศร้าอยู่ไม่นานก็สลายตัวไปอย่างเร็ว ภาพสวย รวยฉากแอ็คชั่นที่ทำได้ดีเสมอตามมาตราฐานมาร์เวล ทำให้ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี สนุกตลอดเรื่องแบบไม่มีหยุดพัก โดยมีสไตล์ที่ต่อเนื่องกับภาคก่อน Thor Ragnarok แต่ถ้าหากภาคก่อนล้างความเป็นธอร์ในแบบสองภาคแรกไปจดหมดเหมือน ในภาคนี้ความเป็นธอร์ก็ถูกหลอมรวมขึ้นมาใหม่และสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งคล้ายกับจะสื่อผ่านการที่โยเนียร์แตกเป็นเสี่ยง  และรวมขึ้นมาใหม่ในภาคนี้

หากมองอีกมุมหนึ่งความเป็นธอร์ที่เปลี่ยนไปจากสองภาคแรกก็คล้ายจะสะท้อนความเป็นชายที่สมบูรณ์แบบซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากที่เคยเป็นเทพที่สมบูรณ์แบบทั้งรูปกายภายนอก พละกำลัง ความเก่งกาจ กล้าหาญ เป็นที่สุดของ sterotype ความเป็นชาย เขาได้กลายเป็นคนที่สูญสิ้นสิ่งนั้นไปทั้งหมดใน Thor Ragnarok ค่อย ๆ กู้มันกลับมาในท้ายเรื่อง ก่อนจะกลับมาสู่ความเป็นชายที่สูมบูรณ์แบบในบริบทของปัจจุบันในภาคนี้โดยมีจิตใจที่ดี ไม่เห็นแก่ตัว เอาสวัสดิภาพของคนรักมาก่อน ไม่เกรงกลัวหรือหวั่นไหวเมื่อมีผู้หญิงเก่งมายืนข้าง ๆ หรือนำหน้าในบางครั้ง ไม่แบ่งแยกเพศหรือชาติพันธุ์ แบ่งปันพลังของตนเองให้คนอื่นได้ การเป็นผู้ชายที่เจ็บได้ร้องไห้เป็น ก้าวข้ามผ่านความรู้สึกของการสูญเสียได้ แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นธอร์ในแบบดั้งเดิมคือการใช้ตัวละครและการเชื่อมโยงกับศาสนาและตำนานกรีก อย่างการปรากฏตัวของเทพต่าง ๆ รวมไปถึงซูส การนำละครเวทีซึ่งเป็นหนึ่งในอารยธรรมกรีกเข้ามาร่วมด้วย

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจใน Thor: Love and Thunder คือตัวละครกอร์ ผู้มีความแค้นกับเทพเจ้าที่เพิกเฉยต่อคำร้องขอและเยาะหยันสาวกของเขาจนเกิดเป็นภารกิจการสังหารเทพเจ้าครั้งใหญ่ ก็ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในสหรัฐที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง การที่กอร์นั้นไม่ได้เป็นบ้า แต่ทำทุกอย่างเพราะความปราถนาที่จะแก้แค้นของเขาซึ่งทำให้เขาเป็นผู้ที่ถูกดาบเนโครซอร์เลือกและได้รับพลังจากมัน ก็ชวนให้นึกถึงการที่นักวิชาการหลายคนได้ออกมาพูดถึงการที่การสังหารหมู่นั้นไม่ได้เกิดจากการที่ฆาตกรนั้นวิกลจริต แต่พวกเขามีสติสัมปชัญญะและการวางแผนอย่างรอบคอบ แต่แน่นอนว่าสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเขานั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุทีทำให้เกิดความคิดทำจะทำแบบนั้นได้ บทความจาก ABC เผยว่าหลังการระบาดของโควิด-19 ความถี่ของเหตุการณ์กราดยิงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะสถานการณ์เพิ่มความกดดันทางจิตใจและการเงิน ผ่านความกลัวความตาย ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอน ซึ่งอาจจะนำมีสู่การเพิ่มความถี่ของการก่อเหตุกราดยิงได้ ซึ่งก็ไม่ต่างกับสถานการณ์ที่กอร์เผชิญ ทั้งความยากแค้น ความตายที่มารออยู่ตรงหน้า และสภาพจิตใจที่ย่ำแย่จากการเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าต้นเหตุของโศกนาฏกรรมนั้นอาจจะมาจากการบริหารงานที่ย่ำแย่และความเพิกเฉยของผู้นำ ซึ่งเทียบได้กับเทพเจ้าที่บันดาลความเป็นไปของประชาชน ซึ่งทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้นั่นเอง

สิ่งที่น่าเสียดายคือส่วนที่เป็นดราม่าของเรื่อง ทั้งบทบาทกอร์ที่มีอยู่ไม่มากนักในเรื่อง และปมอาการป่วยของเจนที่เป็น ‘เนื้อ’ ของเรื่อง เป็นเหตุเป็นผลที่ทำให้เรื่องมีน้ำหนักนั้นมีอยู่น้อยไปนิด เมื่อเทียบน้ำซึ่งก็คือมุขและความบันเทิงต่าง ๆ ที่ไม่ได้เดินเรื่องมากเท่าไหร่ แต่ก็ยังดีที่ได้นักแสดงอย่าง นาตาลี พอร์ตแมน ที่อาศัยความเก๋าเอาเรื่องจนอยู่หมัด และคริสเตียน เบล ที่เล่นน้อยแต่สื่อความหมายได้อย่างชัดเจนจนผู้ชมสามารถเข้าใจตัวละครอย่างทะลุปรุโปร่งได้เพียงแค่สบตาเขาในจอ บวกกับการแสดงที่อยู่ตัวของนักแสดงคนอื่น ๆ ทำให้เนื้อที่มีอยู่น้อยอร่อยทุกคำ และลีลาการปรุงรสของ ไทก้า ไวทีที ที่มีเพลงประกอบเด็ด ๆ และจังหวะตลกที่โบ๊ะบ๊ะโดนใจผู้ชมเป็นผงชูรส ส่ง Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็คงจะเป็นก๋วยเตี๋ยวอีกหนึ่งชามที่คุ้นลิ้นผู้ชม อร่อย กินได้เรื่อย ๆ เพลิน ๆ จนหมด และได้แต่รอชิมชามถัดไปว่าคราวหน้าจะมีอะไรแปลกใหม่ให้ลองหรือไม่ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี เข้าฉายแล้ว ในโรงภาพยนตร์

อ้างอิง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า