SHARE

คัดลอกแล้ว

พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ “บิดาแห่งการมีสติตื่นรู้” มรณภาพด้วยวัย 95 ปี

วันที่ 22 ม.ค. 2565 เพจเฟซบุ๊ก Thai Plum Village ระบุว่า “ประกาศ พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ละสังขาร

สังฆะหมู่บ้านพลัมนานาชาติขอประกาศว่า หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ พระอาจารย์ที่รักยิ่งของเราได้ละสังขารอย่างสงบ ณ วัดตื่อเฮี้ยว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม เมื่อเวลา 0.00 นาฬิกา ของวันที่ 22 มกราคม 2565 สิริอายุ 95 ปี

เราขอเชื้อเชิญครอบครัวทางจิตวิญญาณทั่วโลกได้หยุดใช้ชั่วเวลาสักครู่ในความสงบ และกลับคืนสู่ลมหายใจแห่งสติ เพื่อที่เราจะได้โอบรับหลวงปู่ไว้ในหัวใจ ในสันติและความสำนึกคุณด้วยความรักต่อทุกสิ่งที่ท่านได้มอบให้ไว้ในโลก”

ประวัติของหลวงปู่ ติช นัท ฮันห์

เว็บไซต์ หมู่บ้านพลัม เปิดเผยประวัติของหลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ว่า เป็นพระภิกษุชาวเวียดนาม ผู้นำเสนอความคิด พุทธศาสนาต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และพุทธธรรม เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิธีชีวิตยุคปัจจุบันได้

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ กำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2469 (ค.ศ.1926) ในจังหวัดกวางสี ภาคกลางของเวียดนาม มีนามเดิมว่า เหงวียน ซวน เป๋า (Nguyễn Xuân Bảo) ส่วน “ติช นัท ฮันห์” ที่ถูกต้องออกเสียงว่า “ทิจ ญัด หัญ”

ประวัติชีวิตโดยสังเขป

– ปี พ.ศ. 2485 (ค.ศ.1938) บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุ 16 ปี ณ วัดตื่อเฮี้ยว (Từ Hiếu Temple (Tu Hieu) เมืองเว้ ท่านได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติสติภาวนา โดยมีหลักคำสอนของพระอาจารย์และวิถีชีวิตประจำวันของผู้บวชใหม่ อันเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตนักบวช

– ปี พ.ศ. 2492 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุ 23 ปี เดินทางไปไซ่ง่อน เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนาและเขียนบทความ ทำให้ถูกต่อต้านจากผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลในระยะนั้น

– ปี พ.ศ. 2505 ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันเพื่อศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงเดินทางไปศึกษายังประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น 1 ปี ก็ได้รับทุนอีกจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แต่ท่านตัดสินใจกลับเวียดนาม เพื่อสานต่อแนวคิดพุทธศาสนาที่รับใช้สังคม โดยก่อตั้งโรงเรียนยุวชนรับใช้สังคม เยียวยาความเสียหายจากสงคราม และพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอน และนำเสนอข้อเขียนต่อสถาบันพุทธศาสนาชั้นสูงด้วยคติว่า การกระทำและปัญญา ต้องไปด้วยกัน (Tiep Hien) หรือ คณะดั่งกันและกัน (The Order of Interbeing) โดยปฏิบัติตามสิกขาบท 14 ประการ ซึ่งเลือกเฟ้นมาจากแก่นคำสอนในพระพุทธศาสนา

หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ได้สร้าง “สังฆะ” ชุมชนแห่งการฝึกปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีสติของพุทธบริษัท 4 ด้วยความตั้งใจที่จะแลกเปลี่ยนพระพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตก สังฆะแห่งแรกตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2518 ชื่อว่า อาศรมมันเทศ (Sweet Potato Hermitage) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส จากนั้นได้ย้ายลงไปทางตอนใต้และตั้งชื่อสังฆะแห่งใหม่นี้ว่า หมู่บ้านพลัม (Plum Village) ตามชื่อต้นพลัมที่ปลูกอยู่ทั่วผืนดินแห่งนี้

ปัจจุบัน มีชุมชนการปฏิบัติธรรมแห่งหมู่บ้านพลัมกระจายอยู่ในหลายประเทศ อาทิประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน ฮ่องกง และล่าสุดที่ประเทศไทยโดยมีนักบวชกว่า 500 รูป จาก 20 ประเทศทั่วโลก และมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางหมู่บ้านพลัม หรือ “สังฆะ” เกือบหนึ่งพันกลุ่ม กระจายอยู่ใน 31 ประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2510 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง ได้เสนอชื่อของพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ให้เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
โดย มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ กล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้จักใครเป็นการส่วนตัวอีกที่จะมีคุณค่าพอสำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ นอกเหนือไปจากพระผู้มีเมตตาจากเวียดนามผู้นี้”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า