Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รมว.เฉลิมชัยฯ สั่งด่วนกรมชลฯ ระบายน้ำเพิ่มลดค่าความเค็มแม่น้ำเจ้าพระยาลดผลกระทบต่อการใช้น้ำช่วยเกษตรกร-คนกรุง

วันที่ 1 ก.พ. 2564 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากรายงานของกรมชลประทานที่ได้ติดตามการตรวจวัดค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ช่วงเวลา 20.00 น.

มีค่าความเค็มอยู่ที่ 2.50 กรัมต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติ ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง บริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานี และการเพาะปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นของเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ กระทรวงเกษตรฯ มีความห่วงใยเกษตรกรและการผลิตน้ำประปาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล หลังน้ำทะเลหนุนสูง

ทำค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาพุ่งสูงขึ้น จึงสั่งการด่วนให้กรมชลประทานเร่งระบายน้ำเพิ่มมาไล่ความเค็ม เพื่อลดผลกระทบต่อการใช้น้ำของเกษตรกรและประชาชน

จากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น จึงมีความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากค่าความเค็มที่เพิ่มขึ้นในน้ำดิบที่นำไปผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวง ทำให้บางช่วงเวลาน้ำประปามีรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงสั่งการให้กรมชลประทาน เพิ่มการระบายน้ำจากทางตอนบน เพื่อเจือจางค่าความเค็ม ช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ด้าน นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมชลประทาน ได้เพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนพระรามหก เดิมระบาย 20 ลบ.ม./วินาที เป็น 25 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วานนี้ (31 ม.ค. 64) และจะทยอยปรับการระบายเพิ่มขึ้นเป็น 30 ลบ.ม./วินาที ไปจนถึงวันที่ 2 ก.พ. 64 เพื่อประหยัดน้ำต้นทุน พร้อมกันนี้ได้เพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จาก 35 ลบ.ม./วินาที เป็น 45 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 30 ม.ค. – 2 ก.พ. 64 เพื่อไม่ให้กระทบต่อการใช้น้ำในพื้นที่ตอนบน ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุมค่าความเค็มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและมีผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม จึงขอความร่วมมือประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าทุกแห่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาจนถึงปากอ่าวไทย ให้งดการรับน้ำหรือสูบน้ำในระยะนี้

ได้สั่งการให้โครงการชลประทานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงวางแผนบริหารจัดการน้ำโดยใช้อาคารชลประทานควบคุมการรับน้ำ เพื่อป้องกันความเค็มไม่ให้รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่การเกษตร ลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า