Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว


หลังเกิดโศกนาฏกรรมรถตู้ 11 ศพ บริเวณถนนทางหลวงหมายเลข 317 จ.สระแก้ว ทีมข่าวเวิร์คพอย์ได้พูดคุยกับ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ถึงการเกิดอุบัติเหตุซ้ำๆ กับรถตู้โดยสาร โดยเฉพาะกรณีนี้ มองว่ามีปัจจัยร่วมกันหลายอย่าง ทั้งตัวคนขับ สภาพรถที่ใช้งาน ซึ่งต้องวิเคราะห์หาสาเหตุให้แน่ชัด ซึ่งส่วนใหญ่จากบนเรียนรถบรรทุกแรงงานต่างด้าว มักมีสาเหตุคล้ายๆ กันคือ ต้องเร่งรีบไปต่ออายุทำงาน ขับเร็ว ต่อเนื่อง หลับใน

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ คนขับ ผู้โดยสาร สถาพรถ และ ถนน ดังนี้

คนขับ  ควรตรวจสอบชั่วโมงทำงานให้ชัดเจนว่า ในระหว่างเกิดเหตุ มีอาการหลับในหรือไม่ รวมไปถึงว่าเร็วที่ใช้ หรือคนขับมีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วยหรือไม่ หรือต้องเร่งรีบเพื่อพาผู้โดยสารไปต่ออายุงานหรือไม่

ผู้โดยสาร เป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมา พบว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถที่บรรทุกแรงงานต่างด้าว จะมีปัญหาคล้ายๆ กันคือ ต้องเร่งรีบไปต่ออายุทำงาน และบรรทุกคนงานเกินจำนวนที่นั่ง (13 ที่นั่ง)

ถนน เนื่องจากในจุดเกิดเหตุมีรายงานว่าพบเห็นรอยเบรกของรถตู้ก่อนชน ประกอบกับถนนยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุง ซ่อมแซม ซึ่งต้องตรวจสอบว่า มีป้ายสัญญาณเตือน และไฟส่องสว่างเพียงพอหรือไม่

สภาพรถ ต้องมีการตรวจสอบว่า ผ่านการตรวจสอบสภาพ ระบบการทำงานของรถด้วย

โดยเรียกร้องให้กระทรวงคมนามคม ลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุอย่างจริงจัง เพราะหากย้อนกลับไปศึกษา อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารแรงงานต่างด้าว ก็พบปัญหาที่คล้ายคลึงกัน 

นอกจากนี้ ทางศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ยังฝากให้ นายศักดฺสยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทบทวนเรื่องการยืดอายุรถตู้  การเปลี่ยนรถตู้เป็นมินิบัสมาเป็นภาคสมัครใจ และเรื่องการใช้ความเร็วกับรถโดยสารสาธารณะ โดยอ้างอิงข้อมูลทางสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่ผ่านมาพบว่า ความเสี่ยงที่ให้รถตู้เมื่อเกิดเหตุแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิต คือ

1. การช่วยเหลือทำได้จำกัดเพราะมีทางออกหลักคือ “ประตูเลื่อนด้านซ้าย” ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรง ประตูจะบิดหรือเลื่อนไม่ได้ หรือบางกรณีพลิกคว่ำด้านซ้ายทำให้ผู้โดยสารออกไม่ได้
2. ความแข็งแรงโครงสร้างทั้งด้านข้าง หลังคา เมื่อมีการพลิกคว่ำจะมีการยุบต่อไปถึงห้องผู้โดยสาร
3. ในรถตู้บางรุ่นจะมีการวางตำแหน่งแบตเตอรี่ ถังน้ำมัน รวมถึงแผงควบคุมวงจรไฟฟ้า อยู่ใกล้กัน และส่วนใหญ่เมื่อมีการเดินระบบไฟ เช่น ระบบเครื่องเสียงหรือติดตั้งแก๊ส ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ เพราะเมื่อเกิดเหตุชนด้านหน้าหรือด้านข้าง มีโอกาสเกิดประกายไฟร่วมกับมีไอน้ำมันหรือไอจากแก๊ส จะส่งผลต่อเพลิงไหม้อย่างรวดเร็ว เช่นเดี่ยวกับกรณีเคสรถตู้ป้ายดำรับผู้โดยสารที่ปราจีนบุรีที่เกิดเหตุ เมื่อ เม.ย. 2559
4. ความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น แรงปะทะด้านหน้าจะส่งผลต่อคนขับและผู้โดยสารตอนหน้าโดยตรงเพราะด้านหน้ารถจะสั้นไม่มีโครงสร้างที่ช่วยรองรับแรงกระแทก กรณีชนรถขนาดใหญ่ เช่น ชนท้ายรถบรรทุก จะมีการยุบตัวไปถึงห้องผู้โดยสาร เพราะกันชนและคัสซี จะอยู่ระดับต่ำทำให้แรงกระแทกพุ่งตรงไปที่ห้องโดยสารเป็นส่วนใหญ่

อุบัติเหตุรถตู้ จันทบุรี มุ่งหน้า กทม.ชนประสานงากับรถกระบะ ที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมื่อ 2 ม.ค.60

การศึกษาในต่างประเทศ ยังพบว่า อายุการใช้งานของรถก็เพิ่มความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน โดยมีข้อมูลว่าอายุรถใช้งาน 15 ปี มีความเสี่ยงมากกว่า รถอายุ 10 ปีถึงร้อยละ 40 รวมถึงอายุการใช้งานของอุปกรณ์นิรภัยก็มีความเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้นเมื่ออายุใช้งานของรถมากขึ้นเช่นกัน

โดยข้อเสนอต่อกระทรวงคมนาคม โดยขอให้พิจารณาทบทวนนโยบายการเลื่อนอายุรถตู้จาก 10 ปีออกไปเป็น 12 ปี และนโยบายการเปลี่ยนรถตู้เป็นมินิบัสมาเป็นภาคสมัครใจ โดยมีข้อเสนอว่า

1. ควรมุ่งเน้นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการตามเหมาะสมเป็นกรณี ๆ แต่ ไม่ควรเลื่อนอายุใช้งานรถตู้ และ ไม่ควรให้เปลี่ยนเป็นมินิบัสแบบสมัครใจ เช่น ส่งเสริมระบบประกอบการ เข้าถึงแหล่งทุนเพื่อนำมาจัดหารถทดแทน และ สนับสนุนภาคการผลิตในประเทศ เพราะปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการผลิตและประกอบในประเทศหลายแห่งที่สามารถดำเนินการผลิดได้อย่างมีมาตรฐานในราคาที่เหมาะสม
2. ในเส้นทางระยะไกลเช่น กทม.-ต่างจังหวัด จำเป็นต้องมีรถประจำทางและระบบกำกับที่ปลอดภัย ไม่ควรเป็นการเปลี่ยนมินิบัสแบบภาคสมัครใจ
3. กรณีมีเหตุจำเป็นต้องดำเนินการ รถตู้ กำหนดให้วิ่งได้เฉพาะเส้นทางระยะสั้นและในเขตเมือง ที่ไม่ต้องใช้ความเร็วและต้องขับต่อเนื่อง รถตู้ที่ครบ 10 ปี จะนำวิ่งต่อ 2 ปี ต้องมีการยื่นประวัติการดูแลรักษา การเปลี่ยนอะไหล่ตามกำหนดมากน้อยเพียงใด ต้องมีการตรวจสภาพเข้มงวดก่อนอนุญาตอย่างเข้มงวด ตรวจทุก 6 เดือน รวมทั้งสุ่มตรวจบนถนน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า