Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การดูแลถนนจากส่วนกลางทำให้ติดข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ การให้บริการรถยนต์สาธารณะที่กระจุกตัว นี่คือตัวอย่างจากร้อยแปดเหตุผลที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงทางอุบัติเหตุต่างๆ ทั้งการดูแลรักษาถนนที่มีข้อจำกัด และพฤติกรรมของประชาชนในการขับยานยนต์ระหว่างที่ร่างกายไม่พร้อม workpointTODAY ชวนมาจินตนาการถึงหนึ่งในสถานการณ์ที่ความปลอดภัยบนท้องถนนอาจเกิดขึ้น หากการกระจายอำนาจเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

รายงานจากองค์การอนามัยโลกปี 2015 ชี้ว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตบรท้องถนนมากที่สุดในโลก เป็นที่มาของการร่วมลงนามในปฎิญญาสตอล์กโฮม ที่สร้างพันธสัญญาว่าประเทศไทยจะลดอุบัติเหตุบนท้องถนนลงครึ่งหนึ่งให้ได้ภายในปี 2030

ตัวเลขอุบัติเหตุสะสมปี 2563 เช็กเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 จากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ พบว่าปีนี้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว 917,938 ครั้ง แค่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 วันเดียวมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกว่า 3,000 ครั้ง

การลดจำนวนอุบัติเหตุให้เหลือครึ่งหนึ่งในประเทศที่มีความยาวของถนนรวมทั้งหมด 700,000 กว่ากิโลเมตรเป็นงานหนัก

ที่ผ่านมาความปลอดภัยบนท้องถนนถูกบริหารแบบรวมอำนาจมาเสมอ ผ่านกลไกของรัฐรวมศูนย์ เช่น ตำรวจตั้งด่านเพื่อปรับพฤติกรรมผู้ใช้รถใช้ถนน กระทรวงคมนาคมดูแลโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

ทีม workpointTODAY มีโอกาสลงพื้นที่ บ้านทุ่งต่าง ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ที่เกิดจินตนาการใหม่ให้เราว่าถ้าท้องถิ่นขึ้นมามีบทบาทในการดูแลเรื่องบนท้องถนนมากขึ้น เส้นทางสู่เป้าหมายการงดอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยจะง่ายขึ้นหรือไม่

ที่ ถนนโค้งบ้านทุ่งต่าง ม.1 ต.ป่าตึง อ.แม่จัน จ.เชียงราย เป็นจุดเสี่ยงอันตรายเพราะถนนเป็นเส้นทางราบสลับภูเขา ทางตรงมาตลอดก่อนมีทางโค้ง 2 รอบซ้ายขวา นอกจากนี้ถนนยังมีเพียง 2 ช่องจราจร อีกด้านหนึ่งเป็นผาชันของภูเขา ถ้าขับรถเร็วทำให้เสียการควบคุมแล้วข้าวช่องจราจรชนกับรถที่สวนมาหรือตกข้างทางได้

ถนนจุดนี้นอกจากคนในพื้นที่ใช้สัญจรไปมาแล้ว สภาพถนนยังเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลายครั้งทำให้มีผู้บาดเจ็บจนถึงเสียชีวิต ตอนที่ผู้สื่อข่าวเข้าพื้นที่นังปรากฎรอยเบรกร้อนๆ

ผู้ใหญ่บ้านบอกเราว่าถนนสายนี้คือถนนที่ลูกหลานของคนในชุมชนต้องใช้สัญจรผ่านไปมา หากมีขาจรขับผ่านแล้วเกิดอุบัติเหตุ เป็นหน้าที่ของกู้ภัยท้องถิ่นต้องรับส่งเพื่อรักษาพยาบาล ไม่มีใครอยากให้มีการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งใกล้บ้านตัวเอง ท้องถิ่นบางส่วนจึงเริ่มลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยบนท้องถนนที่อยู่หน้าบ้านทุกคน “ชาวบ้านจะรู้ว่าตรงไหนเสี่ยงบ้างเพราะเขาเห็นอยู่ทุกวัน”

ด้านนายทรงพล ชีวินมหาชัย นายก อบต.ป่าตึง ระบุกับเราว่าถนนเส้นนี้อยู่ในการดูแลของกรมทางหลวงฯ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีความพยายามแก้ไขโดนการติดตั้งราวเหล็กลูกฟูก เปลี่ยนป้ายเตือนทางโค้งให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ติดตั้งป้ายจำกัดความเร็ว

“ผมอยากติดไฟ แต่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของท้องถิ่น” นายก อบต. ชี้ เผยต่อว่าท้องถิ่นจึงทำเท่าที่อำนาจมีคือการติดตั้งกระจกโค้งในจุดเสี่ยง ตั้งเสาสัญญาณไฟกระพริบในทางแยก ติดกล้องวงจรปิด และทำหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานต่างๆให้ปรับปรุงแก้ไข และจัดด่านตามช่วงเทศกาลเพื่อชะลอความเร็วของรถเมื่อเข้าใกล้ทางโค้ง

นี่คือตัวอย่างของข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหาทางท้องถนนจากโครงสร้างข้อกฎหมาย ซี่งนายกอบต.เชื่อว่าหากมีการให้ขอบเขตอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับถนนมากกว่านี้ เขาและประชาชนในพื้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการใช้รถใช้ถนน

นอกจากประเด็นในการปรับพื้นที่ถนนให้มีความปลอดภัยมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง การกระจายอำนาจจะมีคุณูปการในการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนได้โดยทางอ้อม

บทความเรื่อง Thailand’s Roads Are Deadly. Especially if You’re Poor. สำนักข่าวนิวยอร์กไทมส์ เสนอ 5 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทยมีอุบัติเหตุทางท้องถนนสูงโดยนอกจากชี้ว่ารากเหง้าของปัญหามาจากความเหลื่อมล้ำ ยังเสนอว่าปัญหาอุบัติเหตุในประเทศไทยยังเกี่ยวข้องกับการขาดระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ต่างๆ และขาดทางเท้า

การกระจายอำนาจอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถลดรอยรั่วเหล่านี้ได้อย่างสนิท ที่ผ่านมามีตัวอย่างการจัดระบบขนส่งมวลชนโดยส่วนท้องถิ่น เช่น กรณีการจัดรถโดยสารปรับอากาศโดยอบจ.ขอนแก่น เป็นต้น ส่วนกรณีทางเท้า หากกลไกการเมืองส่วนท้องถิ่นดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก

ขณะที่การผลักดันการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ภาครัฐและสังคมกำลังช่วยกันเตรียมความพร้อมชุมชนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนควาทปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างแนบสนิท โดยหนึ่งในหลายหน่วยงานคือ สสส.

“ตอนนี้สสส. ขยายการทำงานลงถึงระดับอำเภอและตำบล เพื่อสนองนโยบาย ตำบลขับขี่ปลอดภัย ของกระทรวงมหาดไทย ด้วยการสนับสนุนให้เกิดพลังชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้ชุมชนมีบทบาทในการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนให้กับพื้นที่ตนเอง” นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. กล่าว

เป้าหมายในการขับเคลื่อนความปลอดภัยด้านท้องถนนเป็นเป้าหมายใหญ่ สสส.เชื่อว่าต้องมาจากการบูรณาการทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ ต้องมีการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ภาคประชาสังคม ประชาชน รวมถึงสื่อมวลชน

ทุกส่วนจำเป็นได้รับการเตรียมพร้อมจากการทำงานหนักของสสส. แต่ประสบการณ์จากการเข้าพื้นที่และการสะท้อนของนายกอบต.ป่าตึง รวมถึงมุมมองของนิวยอร์กไทมส์ ก็ชี้ให้เห็นว่าหากโครงการสร้างการปกครองกระจายออกสอดรับกับความต้องการในการแก้ปัญหาของภาคส่วนต่าง ๆ ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนในไทยก็แก้ไม่ยาก โดยที่ทุกส่วนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า