SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งในนวนิยายคลาสสิคอย่าง ‘Robinson Crusoe’ จากนักเขียนชื่อดัง Daniel Defoe ผู้มีผลงานเขียนกว่า 400 เล่ม ถือเป็นหนึ่งในนวนิยายที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน เพราะตีพิมพ์กี่ครั้งก็ได้รับกระแสตอบรับดี ขายหมดทุกครั้ง

ไม่เพียงเท่านี้ นวนิยายเรื่องนี้ยังสอดแทรกการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ลำบากไว้มากมาย ทำให้ทัชใจกลุ่มคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม ‘นักเศรษฐศาสตร์’ ที่หยิบข้อคิดและสถานการณ์ในเรื่องมาสร้างทฤษฎีการใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่การเรียนการสอน

แล้วเรื่องราวของ Robinson Crusoe น่าสนใจอย่างไร? ทำไมถึงทัชใจกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์? 

*** เนื้อหาส่วนนี้เป็นการสปอยล์เนื้อเรื่อง ***

[ เนื้อเรื่อง Robinson Crusoe ฉบับย่อ ]

เรื่องมีอยู่ว่า ‘โรบินสัน ครูโซ’ เป็นลูกชายของกลุ่มคนชั้นกลางชาวอังกฤษ ที่ครอบครัวฝันอยากให้เขาเป็นนักธุรกิจ แต่เขาไม่ได้คิดแบบนั้นเขาอยากเป็นนักเดินเรือ

เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านเพื่อก้าวสู่เส้นทางใหม่ นั้นคือการเดินเรือและต้องเผชิญอุปสรรคมากมายในการเอาชีวิตรอดท่ามกลางทะเล 

แม้ว่าในใจของเขาสับสนว่าตนไม่ควรลงเรือและควรกลับถึงฝั่ง เพราะเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคทางทะเลมากมาย โดยเขาพยายามตั้งเป้าว่าการลงเรือครั้งนี้เพื่อที่จะสร้างการค้ากับนักลงทุนชาวบราซิลและเหตุผลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ

โดยที่ระหว่างเดินทางในครั้งแรกๆ เขายอมให้ชาวเกาะคนอื่นยืมเสบียงสำรองของเขา เพื่อแลกกับเสบียงสำรองในอนาคตข้างหน้าหากเขาเดินเรือผ่านมาที่นี่อีกและเขาต้องการรักษาความมั่งคั่งให้กับตน

[ อุปสรรคท่ามกลางทะเลเดือด ]

แน่นอนว่าเส้นทางท่ามกลางทะเลที่โรบินสัน ครูโซ ต้องเผชิญนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เขาต้องเผชิญกับอุปสรรค อาทิ โดนโจรสลัดจับไปเป็นแรงงานทาส เผชิญพายุโหมกระหน่ำ การต่อสู้กับชนเผ่าทางรัสเซียและจีน

เสบียงอาหารและสิ่งของที่เหลือน้อยลงทุกๆ ที การใช้ชีวิตบนเรือต้องประคองลูกเรือให้มากที่สุด ใช้ทรัพยากรที่มีให้เป็นประโยชน์ โดยที่ลูกเรือยังอยากอยู่กับเขา

ยิ่งในช่วงที่พายุโหมกระหน่ำเรือของเขาอัปปางเขาพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส แม้ตนรู้ดีว่าเรือของตัวเองกำลังอัปปางเขาเลือกที่จะอยู่บนเรือและใช้ชิ้นส่วนสร้างเแพเล็กเพื่อเอาตัวรอดในช่วงเวลานั้นๆ 

แม้กระทั่งช่วงเวลาหนึ่งที่ต้องเผชิญกับการต่อสู้จนคู่หูและเพื่อร่วมเรือตายหมดเหลือแต่เขาเพียงคนเดียวหรือจะเป็นคลื่นซัดเขามาติดที่ชายหาดไร้ผู้คน ต้องเอาตัวรอดท่ามกลางสถานที่ที่ไม่มีเสบียงอาหาร 

เขาจึงแก้ปัญหาให้ชีวิตอยู่รอดกับเสบียงอาหารที่มีด้วยการใช้หมึกปากกาที่มีอยู่น้อยนิด เพื่อจัดทำงบดุลความสะดวกสบายและความทุกข์ยากประเมินสถานการณ์ของเขา

[ บทสรุปการเดินทางอันแสนยาวนาน ]

ล่องเรือนานกว่า 35 ปีกลับสู่อังกฤษอีกครั้งถึงจะพบว่าครอบครัวของตนไม่เหลืออยู่อีกแล้ว ตัดสินใจใช้ชีวิตแบบคนธรรมดา แต่งงาน สร้างครอบครัวอยู่นานหลายปี

แต่ท้ายที่สุดเขาภรรยาของเขาก็เสียชีวิตลง เป็นอีกครั้งที่เขาตัดสินใจล่องเรือ เพื่อมุ่งหวังว่าจะไปทำธุรกิจค้าขายกับประเทศอื่นๆ

แต่ครั้งนี้เขามีหลานชายทำหน้าที่เป็นกัปตันมุ่งสู่การค้าระหว่างอินเดียและจีน แต่ถึงอย่างนั้นแล้วการเดินเรือไม่ได้ราบรื่นนักพวกเขาโดนปล้นกลางทะเล เผชิญกับการต่อสู้โจรสลัด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

กระทั่งเขาตัดสินใจขึ้นฝั่งที่ประเทศจีนและเดินทางกลับสู่อังกฤษด้วยการขนส่งทางบก ตัดสินใจกลับไปใช้ชีวิตเงียบๆ ที่บ้านเกิด โดยรวมทั้งหมดของชีวิตที่เขาเดินเรือมาก็มากกว่า 54 ปีเลยทีเดียว 

นี่เป็นเพียงเรื่องราวสั้นๆ อุปสรรคที่โรบินสัน ครูโซ ต้องเผชิญเท่านั้น

[ ตัวอย่างนักเศรษฐศาตร์ที่ได้แรงบันดาลใจ  ]

ทางกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ได้หยิบยกเรื่องราวของเขาเปรียบเสมือนบทเรียนในด้าน ‘เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม’ อ้างอิงจากการใช้ชีวิตระหว่างวันบนเรือของเขาเพื่อสะท้อนให้เห็นข้อคิดมากมาย

‘William Forster Lloyd’ นักเขียนด้านเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีแนวคิดว่าในทางเศรษฐศาสตร์นั้นมีบางสิ่งที่มีคุณค่า แม้ว่าจะไม่มีการซื้อขายหรือการแลกเปลี่ยนมันมาก็ตาม เช่นเดียวกับนวนิยายเรื่องนี้ที่โรบินสัน ครูโซให้คุณค่ากับสินค้าของเขามากขึ้นเมื่อสินค้าหายากมากขึ้นเขาจะค่อยๆ ใช้มันอย่างคุ้มค่าโดยไม่ทำการซื้อใหม่

‘Hal Varian’ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Google ใช้เรื่องราวจากนวนิยายในตอนที่โรบินสัน ครูโซสอนพนักงานของเขาโดยยกตัวอย่างการเลือกเวลาระหว่างการเก็บมะพร้าวกับพร้อมกับการอาบแดดอย่างไร เพื่อให้ประโยชน์มากที่สุดโดยทำได้ทั้ง 2 ในเวลาเดียวกันเช่นเดียวกับการทำงานอย่างไรให้ไม่ใช้เวลามากไปแต่กลับได้ประโยชน์มากขึ้น 

‘Daniel McFadden’ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลแนะนำถึงการจ้างแรงงานของโรบินสัน ครูโซแก่ลูกเรือที่ครูโซจ่ายเงินให้พวกเขาเป็นมันเทศและมอบมันเทศที่เหลือให้เป็น’เงินปันผล’ สะท้อนให้เห็นว่าค่าจ้างรายชั่วโมงจะสามารถปรับอุปสงค์และอุปทานของแรงงานให้ตรงกันได้

ต้องยอมรับว่า ‘Robinson Crusoe’ ถือเป็นนวนิยายที่สะท้อนเรื่องราวชีวิตสะท้อนแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ได้ดีเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า