SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทัพเรือ เตรียมการจัดขบวนเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2562 พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 แถลงภายหลังการประชุมเตรียมการจัดขบวนเรือพระราชพิธีในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

ทั้งนี้ ตามที่มีประกาศสํานักพระราชวัง เมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา เรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ให้มีการเสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในช่วงการพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ปลายปี พ.ศ.2562 นั้น ถือเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องปลาย และการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างาม และสมพระเกียรติ โดยการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้จัดเตรียมเรือพระราชพิธี รวมทั้งสิ้น จํานวน 52 ลํา โดยมีเรือที่สําคัญเป็นเรือพระที่นั่ง ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้ ยังมีเรือพระราชพิธีอื่นด้วย เช่น เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เป็นต้น

ทั้งนี้ ในส่วนของคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ได้ดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่อง

เรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ นั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 มาจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 7 ปี ที่ได้ว่างเว้นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค กองทัพเรือได้ร่วมกับกรมศิลปากร สํารวจสภาพเรือ พระราชพิธีแล้วมีสภาพชํารุดทรุดโทรมมาก เช่น เรือมีรอยแตก ตัวเรือบิด เป็นต้น ในการนี้กองทัพเรือจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการซ่อมทําบูรณะเรือพระราชพิธี โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนคือ

ส่วนการซ่อมตัวเรืออยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพเรือ โดย กรมอู่ทหารเรือ และส่วนการตกแต่งตัวเรืออยู่ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ปัจจุบันได้ดำเนินการซ่อมบูรณะเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ อยู่ในสภาพพร้อมที่เข้าร่วมพระราชพิธีฯในครั้งนี้

ในวันที่ 11 ก.ค.นี้ จะได้ดำเนินการประกอบพิธีบวงสรวงเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 14 ลำ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และโรงเรือพระราชพิธีท่าวาสุกรี จากนั้นวันที่ 12 – 23 ก.ค. จะเชิญเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ลงน้ำ และลากจูงเรือเข้าเก็บที่อู่ทหารเรือธนบุรี เพื่อเตรียมงานพระราชพิธี

ด้านกําลังพลประจําเรือพระราชพิธี ได้คัดเลือกกําลังพลจากหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ จํานวน 2,200 นาย เป็นกําลังพลประจําเรือพระราชพิธี ซึ่งเป็นกําลังพลของกองทัพเรือทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นกําลังพลที่ไม่เคยเป็นกําลังพลประจําเรือพระราชพิธีมาก่อน และได้มีการฝึกซ้อมมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ขณะนี้กำลังพลได้รับการฝึกความคุ้นเคยกับเรือภายในหน่วยเสร็จสิ้นแล้ว ต่อไปจะเป็นการฝึกซ้อมในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. เป็นต้นไป และมีกําหนดการซักซ้อมในแม่น้ำเจ้าพระยา ตามแผนการซ้อม จํานวน 10 ครั้ง แบ่งเป็นการซ้อมย่อย จํานวน 8 ครั้ง และซ้อมใหญ่ จํานวน 2 ครั้ง เป็นการซ้อมเสมือนวันพระราชพิธีฯ เพื่อให้มีความพร้อมที่ปฏิบัติงานในวันพระราชพิธีฯ กำหนดเป็นวันที่ 24 ต.ค.62

ทั้งนี้ เส้นทางเสด็จพระราชดําเนิน ที่ได้เตรียมไว้เป็นเส้นทางเดียวกับที่เคยใช้มาตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ เส้นทางจากท่าวาสุกรี ถึง วัดอรุณราชวราราม

สำหรับการเตรียมการจัดขบวนเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในครั้งนี้ เป็นการจัดรูปขบวนตามรูปแบบโบราณราชประเพณีทุกประการ โดยจัดรูปขบวนเรือ แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้

  • ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์  เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เป็นเรือกลองนอก เรือแตงโม ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ เป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน
  • ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง เรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายในด้วยเรือ เอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
  • ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ

ทั้งนี้ เรือทุกลําทำจากไม้ มีอายุในการสร้างมาก โดยเฉพาะเรือพระที่นั่งทั้ง 3 ลํา กล่าวคือ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างในรัชกาลที่ 5 มีอายุกว่า 102 ปี เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างในรัชกาลที่ 5 แล้วเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 108 ปี

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช สร้างในรัชกาลที่ 6 มีอายุ 95 ปี เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2539 มีอายุ 23 ปี ส่วนเรืออื่น ๆ ในขบวน โดยเฉพาะเรือรูปสัตว์ แต่ละลํา ที่มีอายุการสร้างนับร้อยปี การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ในครั้งนี้ประชาชนจะได้สัมผัสบรรยากาศแห่งความงดงามตระการตาของริ้วขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติไทย ในพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า