SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวสวนยางเฮ ครม. ไฟเขียวประกันรายได้ชาวสวนยาง เฟส 4 กว่า 7.64 พันล้านบาท พร้อมอนุมัติสินเชื่อ 2 หมื่นล้าน สนับสนุนกิจการไม้ยางต่อเป็นเฟส 2

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (28 ก.พ. 66) ว่า ครม.อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงิน 7,643.86 ล้านบาท และอนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน แก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2 วงเงินกู้ยืม 20,000 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 วงเงิน 7,643.86 ล้านบาท มีระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2566 ระยะเวลาประกันรายได้รวม 2 เดือน คือ ตุลาคม-พฤศจิกายน 2565

โดยคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 65 และเป็นเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้น ซึ่งมีประมาณ 1.6 ล้านคน รวมพื้นที่สวนยางกรีดได้ 18.18 ล้านไร่ ส่วนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นๆ ยังคงเดิม อาทิ

1. เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่

2. ราคายางที่ประกันรายได้ มีดังนี้ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กิโลกรัม

3. แบ่งสัดส่วนรายได้ เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีดร้อยละ 40 ของเงินค่าประกันรายได้ สำหรับการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางที่ผ่านมา 3 ระยะ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 วงเงินสะสมโครงการรวมทั้งสิ้น 46,682.88 ล้านบาท สามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางได้เฉลี่ยปีละ 1.4 ล้านคน

ส่วนโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ระยะที่ 2 วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท มีระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติอนุมัติ โครงการนี้ เป็นการสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางและผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 50 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยาง การดำเนินงานกิจการไม้ยาง การขยายกำลังการผลิตและปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิตแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และค่าดำเนินการ รวมวงเงิน 604 ล้านบาท

ซึ่งมีเป้าหมาย คือ 1. ลดพื้นที่ปลูกยาง จำนวน 200,000 ไร่ และ2. ราคาไม้ยางไม่ต่ำกว่า 1,500 บาทต่อตัน การดำเนินโครงการในระยะที่ผ่านมา สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากสถานการณ์โควิด-19 ได้กว่า 38 บริษัท และสามารถดูดซับไม้ยางจากการโค่นต้นยางได้ 4.22 ล้านตัน จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 6 ล้านตัน

ภาพจาก : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า