SHARE

คัดลอกแล้ว

นาโตเผยรัสเซียเคลื่อนกำลังพล 30,000 นาย พร้อมอาวุธไปยังเบลารุส ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแผนบุกยูเครน ขณะความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ยังตึงเครียด 

วันที่ 3 ก.พ. 2565 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต (NATO) ออกมาเปิดเผยว่า รัสเซียได้เคลื่อนกำลังพลราว 30,000 นายไปยังเบลารุส ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของยูเครน ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อร่วมปฏิบัติการซ้อมรบในเดือนนี้ 

นายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการนาโต ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์ของเบลเยี่ยมว่า “เราเห็นการเคลื่อนไหวสำคัญจากฝั่งกองกำลังรัสเซียที่เคลื่อนเข้าสู่เบลารุสในไม่กี่วันมานี้ ซึ่งอาจเป็นการเคลื่อนกำลังทหารครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น โดยคาดว่าน่าจะมีกำลังพลมากถึง 30,000 นาย รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษสเปซนาซ (Speznaz), เครื่องบินขับไล่ SU-35, ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 และขีปนาวุธอิสกันเดอร์ (Iskander)” 

การเคลื่อนกำลังพลไปยังเบลารุสครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลของนานาชาติที่วิตกว่ารัสเซียอาจกำลังวางแผนบุกยูเครน หลังตรึงกำลังทหารกว่า 100,000 นายตามแนวชายแดนสองประเทศ 

อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้ออกมาปฏิเสธแผนบุกยูเครน พร้อมระบุว่าการเคลื่อนกำลังพลครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมซ้อมรบประจำปีระหว่างเบลารุสและรัสเซีย ซึ่งจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 ก.พ. และจะถอนกำลังทหารออกจากเบลารุสเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกซ้อม 

ด้านสำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์ (Interfax) ของรัสเซียเปิดเผยว่า นายเซียร์เกย์ คูจูเกโตวิช ชอยกู รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซียจะเดินทางเยือนเบลารุสในวันพฤหัสบดี (3 ก.พ.) เพื่อตรวจกองกำลังร่วมรัสเซีย-เบลารุส และมีกำหนดจะเข้าพบนายอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ประธานาธิบดีเบลารุส

ทั้งนี้ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก ทวีความตึงเครียดมากขึ้น หลังจากที่สหรัฐฯ ปฏิเสธคำขอของรัสเซียที่ต้องการให้มีการรับประกันว่านาโตจะไม่รับยูเครนเข้าเป็นสมาชิก พร้อมถอนกำลังออกจากกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออกทั้งหมด 

ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ผู้นำตุรกี ซึ่งเป็นชาติที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับทั้งรัสเซียและยูเครน ก็มีกำหนดการเยือนกรุงเคียฟของยูเครน เพื่อพบกับประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ในวันนี้ โดยแหล่งข่าวจากทางการตุรกีกล่าวว่า ประธานาธิบดีเออร์โดกันไม่ได้เลือกข้างฝ่ายใดในวิกฤตครั้งนี้ และจะเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความอดทนอดกลั้นต่อกัน พร้อมย้ำว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นควรได้รับการแก้ไขอย่างสันติบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า