SHARE

คัดลอกแล้ว

แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนหลังเกษียณแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศที่รัฐมีระบบบำนาญมั่นคง ผู้คนมักไม่ต้องกังวลกับการออมเงินหนักเพื่อการเกษียณ และสามารถจัดสรรชีวิตได้ตามต้องการมากขึ้น

กลับกันใน ‘สหรัฐอเมริกา’ กลับมีกลุ่มคนที่ความคิดแตกกันเป็น 2 แบบ โดย Gen X (เกิดปี 1965-1980) เห็นความสำคัญของ Social Security หรือรายได้หลังเกษียณจากรัฐบาลอยู่ ขณะที่ กลุ่ม Millennials (เกิดระหว่างปี 1981-1996) ไม่ได้คาดหวังพึ่งพาระบบ Social Security มากเท่าคนรุ่นก่อนหน้า

[ Social Security สวัสดิการจากรัฐบาลสหรัฐฯ ]

ต้องเกริ่นก่อนว่า Social Security ของสหรัฐอเมริกาคือ ระบบประกันสังคมนั่นแหละ แต่ถูกออกแบบให้ครอบคลุมสำหรับประชาชนที่ไม่สามารถหาเงินได้แล้ว เช่น หลังเกษียณ อาการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต โดยเงินของ Social Security มาจากการเก็บภาษีจากรายได้ของผู้ที่ทำงาน (ผ่าน Payroll Tax หรือภาษีเงินเดือน) และนำเงินเหล่านั้นไปใช้เพื่อจ่ายผลประโยชน์ให้กับกลุ่มที่มีสิทธิได้รับในปัจจุบัน

ซึ่งประโยชน์หลักๆ ที่คนในประเทศจะได้รับคือ มั่นใจได้ว่ามีรายได้หลังเกษียณ (Retirement Benefits) มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่จ่ายเข้าสู่ระบบระหว่างทำงาน มีระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป) หรือผู้พิการที่มีสิทธิ์ หรือมีเงินช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพและเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต

ดูเหมือนว่าระบบสวัสดิการแบบนี้อาจทำให้ดูเหมือนจะเป็นระบบที่ดี แต่ในทางกลับกันมีกลุ่มคนที่มองว่าถึงแม้ Social Security จะเป็นแหล่งรายได้สำคัญสำหรับผู้เกษียณหลายคน แต่ไม่สามารถเป็นแหล่งรายได้หลักเพียงอย่างเดียว หรือพูดง่ายๆ ว่าต่อให้มีระบบนี้ก็ยังต้องหาเงินเสริมมาใช้อยู่ดี เพราะค่าครองชีพพุ่งสูงมากในปัจจุบัน

[ กลุ่ม Millennials เตรียมเก็บเงินเอง ไม่ได้หวังรัฐบาลช่วย ]

ข้อมูลจาก Cerulli Associates ระบุว่า มีเพียง 6% ของคนรุ่น Millennials  ไม่ได้คาดหวังพึ่งพาระบบ Social Security มากเท่าคนรุ่นก่อนหน้าแล้ว พวกเขาเริ่มวางแผนการเกษียณด้วยตัวเองมากขึ้น โดย 58% คาดว่ารายได้หลักหลังเกษียณจะมาจากการออมเงินส่วนตัวเสียมากกว่าด้วยซ้ำ

การที่กลุ่ม Millennials หันมาเพิ่งตัวเองมากขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาการขาดดุลของกองทุน Social Security โดยสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ (CBO) คาดว่า หากไม่มีการแก้ปัญหาการขาดดุลของกองทุน Social Security ภายในปี 2034 ผู้รับสิทธิ์จะได้เงินเพียง 77% ของจำนวนเงินที่ควรได้รับ พูดง่ายๆ ว่า กลุ่มคน Millennials ที่เสียภาษีอยู่มีแนวโน้มเพิ่งพารัฐบาลได้ไม่เต็มที่ เพราะกองทุนประกันสังคมอาจเสี่ยงล้มละลายได้

‘Maryanne Gucciardi’ ผู้วางแผนการเงินให้ความเห็นว่า ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนรุ่นใหม่มักมีมุมมองในเชิงลบต่อระบบของรัฐ กังวลว่า Social Security อาจไม่พร้อมสำหรับพวกเขาในอนาคต แต่กลับเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองมากกว่า 

ในทางกลับกัน กลุ่มคน Gen X ก็ยังเชื่อในระบบสวัสดิการนี้อยู่ มีข้อมูลบอกไว้ว่า 30% คาดว่าจะใช้ Social Security เป็นรายได้หลัก และมากกว่า 56% ของผู้เกษียณในปัจจุบันพึ่งพา Social Security เป็นแหล่งรายได้หลัก

สรุปได้ว่า การผู้คนรุ่นใหม่มีแนวคิดไม่เพิ่งพารัฐบาลเท่าคนรุ่นเก่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเสี่ยงจากกองทุนประกันสังคมที่ไม่รู้ว่าจ่ายเงินไปแล้วเราจะได้ใช้จริงๆ ไหม 

[ ระบบประกันสังคมไทยเสี่ยงล้มไม่ต่างกัน ]

สำหรับประเทศไทย เราก็มีระบบประกันสังคมที่ช่วยครอบคลุมให้กับคนทั่วไป พนักงานเอกชนและอื่นๆ ยกเว้นพนักงานราชการที่มีเงินบำนาญรองรับหลังเกษียณ แต่ก็อยู่ในช่วงที่ว่าเลือกอะไรได้ไหม? 

โดยผู้ประกันตนในประเทศไทย หรือคนที่จ่ายประกันสังคมสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ใน 20 % ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งถ้าส่งเพิ่มหลังจากนั้นเป็นปีที่ 16 – 20 (5 ปี) จะได้รับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการส่งเงินสมทบครบทุก 12 เดือน เท่ากับว่าเราจะได้เงินบำนาญเดือนละ 27.5% ของเงินเดือน

สมมติว่าเราได้เงินเดือน 15,000 บาทยอดที่เราจะได้ทุกเดือนหลังเกษียณไปตลอดชีวิตคือราวๆ  4,125 บาท จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับค่าครองชีพพุ่งสูงอาจทำให้คนไทยเพิ่งประกันสังคมอย่างเดียวไม่ได้ 

อย่างไรก็ตาม กองทุนประกันสังคมในประเทศไทยก็ดูเหมือนว่ามีความเสี่ยงไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ข่าวออกมาว่ามีแนวโน้มว่าจะล้มละลายในอีก 30 ปีข้างด้วยซ้ำ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าว reuters รายงานว่า ตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กองทุนประกันสังคมของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่ากว่า 2.77 ล้านล้านบาท ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยต่ำกว่า 3% เช่น ทองคำ ตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นไทย ซึ่งถือว่าผลตอบแทนต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับศักยภาพที่มี 

ขณะที่เงินในกองทุนประกันสังคมประเทศไทยต้องแบ่งออกไปใช้มากมายถึง 4 กอง อาทิ กองทุนว่างงาน, กองทุนมาตรา 40, กองทุน 4 กรณี (เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร), กองทุน 2 กรณี (ชราภาพ สงเคราะห์บุตร)

ซึ่งกองที่ใช้มากสุดและคิดเป็นมากกว่า 80% ของกองทุนประกันสังคมคือ กองทุน 2 กรณี (ชราภาพ สงเคราะห์บุตร) ซึ่งสอดคล้องกับประเทศไทยที่กำลังต้องรับมือกับประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

อ้างอิงข้อมูลกระทรวงการพัฒนาสังคมที่บอกว่าจำนวนประชากรอายุเกิน 60 ปีในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้กองทุนต้องรับมือกับความต้องการเงินบำนาญที่มากขึ้น พูดง่ายๆ ว่า ในอนาคตจะมีแรงงานน้อยลงแต่กลับมีคนแก่เยอะขึ้น 

[ ประกันสังคมไทยเริ่มปรับพอร์ตลงทุน อนาคตจะเป็นไงต่อ? ]

ตอนต้นที่บอกไปว่ากองทุนประกันสังคมในประเทศไทยก็สามารถลงทุนและได้รับผลตอบแทนต่ำกว่า 3% ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ เงินอาจหมดและเสี่ยงล้มละลายจริงๆ 

แต่ไม่นานมานี้มีข่าวออกมาว่ากองทุนประกันสังคมไทยได้กำลังเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การลงทุนครั้งใหญ่ โดยจะนำเงิน 4.17 แสนล้านบาท ไปลงทุนในสินทรัพย์เอกชนทั่วโลก โดยเน้นในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น เช่น หุ้นส่วนบุคคล (Private Equity) สินเชื่อเอกชน (Private Credit) และกองทุนเฮดจ์ฟันด์ (Hedge Funds) 

ต้องมาติดตามกันต่อว่าการปรับพอร์ตในครั้งนี้จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าเดิมจริงหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ สังคมสูงอายุไทยขยายตัวมากขึ้นทุกที เงินบำนาญจึงจำเป็นจะต้องเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย 

อ่านมาถึงตรงนี้เห็นทีประชาชนคงไม่ว่าจะประเทศไหนๆ อาจต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น เพราะต้องลงทุนในแผนเกษียณของตัวเองเพิ่มด้วย มันอาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ช่วยเพิ่มแผนสำรองให้ชีวิตแทนที่จะหวังพึ่งพาเงินบำนาญจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว

ที่มา

            • https://www.investopedia.com/millennials-aren-t-counting-on-social-security-8720670
            • https://www.reuters.com/business/finance/thailands-pension-fund-earmarks-116-bln-global-investment-overhaul-2024-09-27/?fbclid=IwY2xjawFnCIZleHRuA2FlbQIxMAABHcedbbUHSyaHXC5dhJhHgig0_Zi3UFpLgwBDygP2lpKyL1mGDWu8-_PYZQ_aem_lBMpH1ZJ__LQznL85XnTug
            • https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/303450#:~:text=%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5,%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%81%2012%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%20

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า