SHARE

คัดลอกแล้ว

“ติดลิขสิทธิ์” เป็นคำที่คนไทยคุ้นหูกันดี และควรตระหนักให้มากขึ้นเมื่อหยิบเพลงสักเพลงไปใช้ในงานหรือวิดีโอต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ที่อาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมาย แม้ในปัจจุบันยังมีบางกลุ่มคนที่ใช้เพลงโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง แต่การเคารพลิขสิทธิ์เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ขณะที่ในมุมมองของศิลปินและนักแต่งเพลง ลิขสิทธิ์คือหัวใจสำคัญ เพราะมันไม่เพียงช่วยสร้างรายได้ แต่ยังเป็นการสนับสนุนให้พวกเขาสามารถสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ออกมาได้อย่างต่อเนื่อง 

TODAY Bizview พาไปคุยกับ Sony Music Publishing บริษัทที่ดูแลลิขสิทธิ์ให้กับศิลปินระดับโลก เช่น Michael Jackson, The Beatles, Beyoncé, Lady Gaga, Olivia Rodrigo และ Ed Sheeran

[ ลิขสิทธิ์เพลงสำคัญ นำไปใช้ต้องขออนุญาต ก่อนโดนปรับที่หลัง ]

ต้องเกริ่นก่อนว่าในทุกๆ ครั้งที่นักแต่งเพลงและศิลปินออกเพลงใหม่มาเพลงเหล่านั้นจะถูกอัปโหลดขึ้นสตรีมมิ่งต่างๆ เช่น Youtube, Spotify ให้เราได้ฟัง แต่ทว่าเราต้องการหยิบไปใช้ต้องคิดดีๆ เพราะเพลงมีลิขสิทธิ์ ต้องหยิบไปใช้ให้ถูกวิธี ซึ่งหลักๆ สำหรับประเทศไทย การหยิบเพลงมีลิขสิทธิ์ไปใช้ก็ต้องขออนุญาต ก่อนนำเพลงไปใช้ในเชิงพาณิชย์

เช่น การเปิดเพลงในร้านอาหาร หรือการใช้เพลงประกอบภาพยนตร์ ควรขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนเสมอ หรือซื้อลิขสิทธิ์ การซื้อลิขสิทธิ์เพลงเป็นวิธีที่ถูกต้องและง่ายที่สุดในการนำเพลงไปใช้ หรือเลือกใช้เพลงที่ปล่อยให้ใช้งานได้ฟรี เพราะปัจจุบันมีเพลงจำนวนมากที่ปล่อยให้เอาไปใช้ฟรีๆ 

ในทางกลับกัน ฝั่งศิลปินเองก็ต้องปกป้องลิขสิทธิ์ของเพลงเหล่านั้นด้วย เพื่อที่ว่าจะช่วย ‘สร้างรายได้’ เวลามีคนมาขอซื้อลิขสิทธิ์เพลงเหล่านั้นไปใช้ หรือคนที่ใช้แบบไม่ได้รับอนุญาต เอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ก็ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย หรือพูดง่ายๆ ว่าฝั่งคนทำเพลงก็ต้องปกป้องสิทธิของผลงานตัวเอง 

[ เพลงยุค 60-70s ยังทำเงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ ]

และนี่คือหน้าที่ของบริษัท Sony Music Publishing ซึ่งจะดูแลลิขสิทธิ์เพลงเหล่านั้นให้กับนักแต่งเพลงและศิลปิน ช่วยให้นักแต่งเพลงมีรายได้และประสบความสำเร็จจากผลงาน และตอนนี้บริษัทก็มาเปิดในไทยอย่างเต็มตัว เตรียมพาร์ทเนอร์กับนักแต่งเพลงและศิลปินชาวไทย

‘Daniel Nelson’ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงบริษัท โซนี่ มิวสิค พับลิชชิ่ง เล่าให้ฟังว่า เพลงช่วงยุค 60-70s ในปัจจุบันก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้ศิลปินได้เรื่อยๆ ผ่านการเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง อธิบายง่ายๆ เหมือนเป็น Passive Income เช่น เพลงช่วงคริสมาสต์ที่ดังตลอดกาล ยิ่งอยู่ถูกที่มีคนดูแลถูกทางก็จะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ 

โซนี่ มิวสิค ก็รับดูแลและจัดเก็บรายได้เหล่านั้นให้ โดยบริษัทใช้ระบบบริหารจัดการสิทธิ์แบบรวมศูนย์ เน้นความสำคัญของทีมงานท้องถิ่นในแต่ละประเทศเพื่อดูแลสิทธิ์ของเพลงอย่างเหมาะสม จ่ายค่าลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และมีระบบ SMP เพื่อลงทะเบียนและจัดการการจ่ายเงินทั่วโลก

และในทุกๆ 3 เดือนบริษัทจะมีรีพอร์ตเรื่องลิขสิทธิ์เพลงเพื่อที่จะใช้ดูเรื่องของการซื้อเพลงไปใช้ หรือใครที่ใช้เพลงเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต

[ ตลาดเพลงไทยโตอย่างรวดเร็ว แต่แข่งขันสูง ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เยอะ ]

‘Daniel Nelson’ ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ในด้านการทำเพลง ตอนนี้ตลาดเพลงไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเติบโตของสตรีมมิงเพลง ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตของตลาดเพลงสูงสุดในโลก 

ขณะที่ศักยภาพของนักแต่งเพลงและศิลปินก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ ทำให้มองเห็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจเพลงในประเทศไทย ทั้งในแง่ของการสร้างรายได้จากการสตรีมมิงเพลง การจัดคอนเสิร์ต และการส่งออกผลงานเพลงไปยังต่างประเทศ

แต่ทว่าก็ยังคงมีการแข่งขันที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ที่คนไทยยังไม่เข้าใจเรื่องนี้เท่าไหร่นักทำให้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทั้งการดาวน์โหลดเพลงผิดกฎหมาย การเผยแพร่เพลงโดยไม่ได้รับอนุญาต และการนำเพลงไปใช้ในวิดีโอโดยไม่ได้ขออนุญาต

[ กระแส T-POP มาแรง ต้องช่วยกันสนับสนุนให้ไกลในต่างประเทศ ]

‘ทัชระ ล่องประเสริฐ’ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทย เล่าเสริมเรื่องนี้ว่า ความท้าทายเหล่านี้จึงกลายเป็นเป้าหมายของบริษัทในปีนี้ เพราะอยากให้คนไทยตระหนักถึงเรื่องลิขสิทธิ์เพลงมากขึ้นก่อนนำไปใช้ และอยากให้นักแต่งเพลงและศิลปินได้รับการคุ้มครองเรื่องนี้ พร้อมทั้งจะสนับสนุนนักแต่งเพลง นักประพันธ์เพลง รวมถึงศิลปินชาวไทยให้แข็งแรงขึ้น โดยนำหลักการสากลมาปรับใช้ ช่วยสร้างรายได้กลับสู่เจ้าของผลงาน

นอกจากนี้ ยังเล่าถึง กระแสของ T-POP ด้วยว่า มาแรงจริง โดยเฉพาะในประเทศ ทำให้จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันผลักดัน เพราะT-POP จะไปไกลได้ต้องไม่ดังแค่ในประเทศ ต้องส่งออกไปต่างประเทศด้วย คล้ายๆ กับกระแสของ K-POP ยุคแรกๆ ที่บริษัทต้องส่งออกเพลงไปต่างประเทศให้กว้างขึ้น ไม่ให้อยู่แค่ในประเทศจนสามารถตีตลาดได้หลายกลุ่มนั่นเอง 

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยแล้วแม้ปัญหาลิขสิทธิ์เพลงยังเรื่องที่ซับซ้อนและต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการแก้ไข หากเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเพลงไทย และสร้างรายได้กลับสู่เจ้าของผลงาน ส่วนของกระแส T-POP หลายหน่วยงานก็ต้องช่วยกันผลักดันทำให้ศิลปินไทยได้รับการสนับสนุนและมีโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคุณภาพต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า