SHARE

คัดลอกแล้ว

ในภาวะที่ตลาดโลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทั้งจากสงครามการค้า สงครามสู้รบ ค่าเงินผันผวน ดอกเบี้ยที่ยังไม่แน่ชัด หรือแม้แต่ข่าวเศรษฐกิจรายวันที่ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนสั่นคลอน สินทรัพย์เสี่ยงอย่าง ‘หุ้น’ ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตหนัก เพราะนักลงทุนหลายคนอาจกำลัง ‘ติดดอย’ ในช่วงเวลาแบบนี้เอง คำแนะนำที่ได้ยินบ่อยก็คือ “ไม่เป็นไร ถัวเฉลี่ยเอา”

แล้ว ‘ถัวเฉลี่ย’ ที่ว่านั้น หมายถึงอะไร? ใช้ยังไงถึงจะได้ผล? หรือจริงๆ แล้วอาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงถ้าใช้ผิดจังหวะ? 

TODAY Bizview ชวนทำความเข้าใจกลยุทธ์การ “ถัวเฉลี่ยต้นทุน” ให้ชัดเจน เพื่อพร้อมข้อควรระวังที่นักลงทุนทุกคนควรรู้ก่อนจะลงมือซื้อเพิ่ม

[ ติดดอย ทางแก้ส่วนใหญ่คือ ‘ถัวเฉลี่ย’ ]

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ‘ถัวเฉลี่ยหุ้น’ กันสักนิด 

‘ถัวเฉลี่ยหุ้น’ คือกลยุทธ์ในการลงทุนที่หมายถึงการซื้อหุ้นตัวเดิมซ้ำๆ ในราคาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ “ต้นทุนเฉลี่ย” ที่ต่ำลง หรือบางครั้งสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับจังหวะราคา 

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งที่ราคา 10 บาท แล้วต่อมาหุ้นตกลงมาเหลือ 8 บาท เราก็ตัดสินใจ “ถัวเฉลี่ยขาลง” ด้วยการซื้อเพิ่ม และทีนี้พอเนำหุ้นทั้งหมดที่ซื้อมาเฉลี่ยกัน ก็จะได้ต้นทุนใหม่ที่ต่ำกว่าครั้งแรก ทำให้เวลาหุ้นดีดกลับมา กำไรจะเกิดขึ้นง่ายขึ้นกว่าตอนที่มีต้นทุนสูงเดิม

โดยสูตรที่ใช้คำนวณการถัวเฉลี่ยก็คือ จำนวนหุ้นที่ซื้อในแต่ละครั้ง X ราคาซื้อในแต่ละครั้ง แล้วนำผลลัพธ์ทั้งหมดมา + กัน เอาผลรวมนี้ไป ÷  จำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ = ราคาหุ้นที่เราถัวเฉลี่ยทั้งถูกแพงรวมกัน

หรือยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น ก็เช่น

          •  รอบแรกเราซื้อหุ้น A จำนวน 100 หุ้น ราคา 10 บาท = 1,000 บาท
          • รอบสองเราซื้อหุ้น A จำนวน 100 หุ้น ราคา 8 บาท = 800 บาท (เพื่อถัวเฉลี่ย)
          • รวมเงินที่ใช้ซื้อ = 1,800 บาท
          • รวมจำนวนหุ้น = 200 หุ้น

จะทำให้หุ้น A ที่เรามีในมือจำนวน 200 หุ้น จะมีต้นทุนเฉลี่ย = 1,800 ÷ 200 = 9 บาทต่อหุ้นนั่นเเอง

[ 4 ขั้นตอนถัวเฉลี่ยที่นักลงทุนนิยมใช้ ]

อย่างไรก็ตาม สำหรับเทคนิคที่นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ตัดสินใจก่อนถัวเฉลี่ยเลย หลักๆ ก็มีอยู่ 4 วิธี 

        1. เลือกหุ้น ให้ถูกก่อนถัว โดยก่อนจะคิดเรื่องถัวเฉลี่ย ต้องมั่นใจว่าหุ้นที่ถือเป็น หุ้นพื้นฐานดี ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้มีแนวโน้มฟื้นตัวได้จริง ไม่ใช่หุ้นกำลังเจ๊ง เช่น ขาดทุนสะสม, เจ๊ง, หรือใกล้ถูกเพิกถอน
        2. ถัวเฉลี่ยขาขึ้น การซื้อหุ้นเพิ่มเมื่อราคาขึ้นและหุ้นมีแนวโน้มดี ไม่ใช่ตอนที่หุ้นตก แต่เพื่อเสริมให้พอร์ตโตไปตามเทรนด์ขาขึ้น โดยเน้นซื้อเพิ่มทีละน้อย เช่น เพิ่มจำนวนหุ้น 50-70% ของล็อตก่อนหน้า เพื่อไม่ให้เสี่ยงเกินไป ตัวอย่างเช่น ซื้อรอบแรก 100 หุ้นที่ราคา 10 บาท ผ่านไปหุ้นขึ้นไป 12 บาท ก็ซื้อเพิ่ม 50 หุ้น ถัดมาอีกหุ้นขึ้นไป 14 บาท ซื้อเพิ่มอีก 30 หุ้น พูดง่ายๆ ว่าซื้อเพิ่มตามสัญญาณแนวโน้ม
        1. ตั้งงบถัวเฉลี่ยแบบมีแผน กำหนดงบลงทุนรายเดือน เช่น เดือนละ 5,000 บาท ซื้อหุ้นตัวเดิมเรื่อยๆ ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง คล้าย DCA – Dollar Cost Averaging แต่ต้องใช้กับหุ้นพื้นฐานดี หรือกองทุนที่ตั้งใจถือยาว
        2. ถัวเฉลี่ยแบบขั้นบันได เหมาะสำหรับคนติดดอยในช่วงนี้ โดยวางแผนซื้อเป็นขั้นบันได ที่ระดับราคาต่างๆ เช่นทุกๆ -5%, -10% สมมติหุ้นตกจาก 100 สู่ 95 สู่ 90 เราก็มีคำสั่งซื้อเตรียมไว้ทีละก้อน

ตัวอย่าง เช่น หุ้นตอน 100 บาท ซื้อ 20 หุ้น ราคาตกมาอยู่ที่ 95 บาท ซื้อ 25 หุ้น ตกอีกอยู่ที่ 90 บาท  ซื้อ 30 หุ้น พูดง่ายๆ ซื้อเพิ่มทีละมากขึ้น เพราะอยากลดต้นทุนหนักขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ เราอาจจะดู PE (ราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น) ควบคู่ไปด้วยก่อนตัดสินใจถัวเฉลี่ย เช่น ใช้ PE ช่วยประเมินว่าเรากำลังถัวเฉลี่ยในจุดที่ถูกหรือแพง ถ้าเรากำลัง ซื้อถัวเฉลี่ยเพิ่ม ในหุ้นที่ PE สูงผิดปกติ เช่น PE 100+ โดยที่กำไรไม่ได้โตตาม เราอาจกำลังถัวเฉลี่ยเพิ่มความเสี่ยง

แต่ถ้าหุ้นราคาตกลงมาทำให้ PE ลด เช่นจาก PE 40 เหลือ PE 15 อาจเป็นโอกาสดีในการ ถัวเฉลี่ยลดต้นทุน เพราะเราซื้อได้ที่มูลค่าถูกลง

หรือบางคนนิยมใช้ PE ช่วยดูคุณภาพของราคาที่เราซื้อถัวเฉลี่ย สมมติเราซื้อหุ้น ABC ครั้งแรกที่ราคา 50 บาท PE ตอนนั้น = 30  ถ้าราคาตกเหลือ 30 บาท PE = 15 แปลว่า กำไรของบริษัทยังเท่าเดิม แต่ราคาถูกลงอาจเป็นจังหวะดีในการถัวเฉลี่ย แต่ถ้าราคาตกเพราะ EPS (กำไรต่อหุ้น) ตกด้วย เช่น ราคาตกเหลือ 30 แต่ PE ยังสูง 50 แสดงว่ากำไรลดลงหนัก ถัวเฉลี่ยตอนนี้อาจเสี่ยง

อย่างไรก็ดี วิธีถัวเฉลี่ยต้นทุนเป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์ที่นักลงทุนใช้รับมือกับช่วงตลาดวิกฤต ซึ่งแต่ละคนก็มีแนวทางที่ต่างกันไป เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ อย่าลืมว่าการตัดสินใจที่ดีควรอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ไม่ใช่แค่ความหวังในการหนีดอยเท่านั้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า