SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุป แฮชแท็กร้อน ‘ยกเลิกครูเวรกี่โมง’ ข้อเรียกร้องเพื่อลดภาระงาน-คืนความปลอดภัย ‘ครู’

– วันเสาร์ ที่ 20 ม.ค. 67 เกิดเหตุอุกอาจในโรงเรียนบ้านโป่งเกลือ ต.ดอยลาน อ.เมือง จ.เชียงราย ชายคนหนึ่งชื่อนายนิรันดร์ อายุ 38 ปี ลงมือทำร้าย ครูผู้หญิง อายุ 41 ปี ที่ทำหน้าที่เป็น ‘ครูเวร’ ของโรงเรียนในวันหยุดเพียงลำเพียง ครูได้รับบาดเจ็บสาหัส คนร้ายได้เข้ามอบตัวในเวลาต่อมา โดยพบว่าทางโรงเรียนได้จ้างเขามาตัดต้นไม้ในโรงเรียนก่อนเกิดเหตุ เพียง 3 วัน

– คนร้ายอ้างว่าครูแย่งมีด เข้าใจว่าจะถูกทำร้ายจึงแย่งมีดกัน คนร้ายบาดเจ็บที่ปากบอกว่าครูใช้มีดฟัน จึงเกิดความโมโหและทำร้ายครู

– เหตุการณ์นี้ปรากฏคลิปกระจายในโลกโซเชียลฯ อย่างวงกว้าง นาทีชีวิตยื้อยุดฉุดกระชากด้วยความรุนแรงโหดร้าย เคราะห์ยังดีที่มีคนเข้ามาช่วยครูไว้ได้ทัน ซึ่งล่าสุดอาการครูปลอดภัยแล้ว

(ภาพเหตุการณ์ที่ถูกเผยแพร่ในสังคมโซเชียลมีเดีย)

– เกิดคำถามตามมาทันทีว่าแล้วทำไมครูต้องมาอยู่เวร?

– การอยู่เวรของครู เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 หลักเกณฑ์การอยู่เวรรักษาการณ์สถานที่ราชการ เพื่อรักษาความปลอดภัยและพิทักษ์รักษาคุ้มครองสถานที่ และทรัพย์สินของทางราชการ พ้นจากการจารกรรม โจรกรรม ก่อวินาศกรรม การบ่อนทำลาย อัคคีภัยและเหตุอื่นๆ

– ทว่าไม่ใช่แค่การตั้งคำถามว่า ทำไมครูต้องอยู่เวร? แต่เหตุการณ์การทำร้าย ‘ครูเวร’ ครั้งนี้ ยังทำให้บรรดาผู้ทำอาชีพ ‘เรือจ้าง’ มากมาย ลุกขึ้นเรียกร้องให้รัฐ ยกเลิกหน้าที่ของครู เพื่อลดภาระ เพิ่มขวัญกำลังใจในความปลอดภัยชีวิตครูเอง จนเกิดเป็นแฮชร้อน ‘ยกเลิกครูเวรกี่โมง’ ติดเทรนด์ X นับตั้งแต่วันเกิดเหตุจนมาถึงวันนี้

– คอมเมนต์บางส่วนจากในโลกโซเชียลฯ ระบุว่า

“ต้องยกเลิกมติครม. !!! 6 กรกฏาคม 2542 ครับ. โรงเรียนจะสามารถใช้กล้อง หรือระบบทดแทนครูอยู่เวรได้”

“ยกเลิกได้แล้วครับ ให้ครูมาอยู่เวรเนี่ย ทั้งกลางวันและกลางคืนเลย รักษาทรัพย์สินของราชการ ถ้าครูถูกทำร้ายแบบนี้ ใครจะมารักษาชีวิตครูกระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาใหม่ครับ”

“ทรัพย์สินราชการเสียหายครูเวรรับผิดชอบ แล้วถ้าเกิดอะไรขึ้นกับครูใครจะรับผิดชอบคะ วอนกระทรวงแก้ระเบียบข้อนี้ทีค่ะ”

– ว่าที่ ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยในวันที่ 21 ม.ค. 67 ว่า สพฐ. ได้เสนอขอคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา อนุมัติคืนอัตรา ‘นักการภารโรง’ กว่า 14,000 ตำแหน่ง ซึ่งจะช่วยหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยโรงเรียนได้อีกแรงหนึ่ง และจะแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดเวรยาม ที่เหมาะกับบริบทความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน รวมถึงสนับสนุนการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนต่อไป

– ขณะที่ สส. ของพรรคก้าวไกล ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้หลายคน อาทิ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้แสดงความเห็นผ่านแอปพลิชั่น X ว่า “การที่ ร.ร. มีครูนอนเวร เพียง 1 คน ไม่ได้เป็นประโยชน์เลย หนำซ้ำยังเป็นโทษ เพราะคนร้ายสามารถวางแผนเข้ามาปล้นทรัพย์ได้ง่ายมาก ต้องเลิกให้ครูเสี่ยงนอนเวร และติดตั้งกล้อง CCTV เชื่อมกับโรงพักแทน วิธีแก้ก็ง่ายมาก ทำได้ทันที แค่แก้ไขเพียงการแก้ไขมติ ครม. 6 ก.ค. 42 เท่านั้น”

– และยังระบุด้วยว่า “ลองให้ รมว.ศึกษาธิการ มานอนเวรที่โรงเรียนดูสิครับ แล้วประกาศให้รู้กันทั่วว่า คืนนี้มี รมว. นอนเฝ้าโรงเรียนแค่คนเดียวนะ อาวุธก็ไม่มี มีแค่ ต. กับ จ. รับรอง รมว. นอนผวาทั้งคืน”

– อย่างไรก็ตาม เรื่องการยกเลิกครูเข้าเวร ไม่ใช่เรื่องที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะเมื่อวันที่ 16 มกราคม ‘วันครู’ ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ยกเลิกครูเข้าเวร ทุกโรงเรียนในสังกัด กทม. ซึ่งมีทั้งหมด 437 แห่งแล้ว พร้อมประกาศให้สำนักงานเขต ดำเนินการจ้างรปภ. ในแต่ละโรงเรียน ให้เพียงพอ โดยจะเริ่มที่ปีการศึกษา 2567 ช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป

– ส่วนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ทางรัฐบาลโดย ครม. จะมีแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า