SHARE

คัดลอกแล้ว

AI ไม่ได้ทำให้ทุกคนตกงาน แต่เรื่องแย่งงานมนุษย์เพิ่มขึ้นนั้นอาจจะได้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อล่าสุด Asia Times รายงานข่าวว่า ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ (Samsung Electronics) บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้กำลังวางแผนที่จะสร้าง ‘โรงงาน AI’ เต็มรูปแบบไม่มีแรงงานคนเข้าไปอยู่ในกระบวนการเลยมาผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์

โดยจะพัฒนาให้เป็นโรงงานแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ

อย่างไรก็ตามโรงงานผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์โดยทั่วไปจะเน้นการทำงานด้วยเครื่องจักรเทคโนโลยี ใช้คนน้อยในตัวโรงงานอยู่แล้ว แต่ซัมซุงต้องการนำ AI มาใช้งานเข้มข้นขึ้นโดยไม่ต้องมีแรงงานคนในโรงงานเลย

เป้าหมายคือ ใช้ AI ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยการติดตั้ง ‘เซ็นเซอร์อัจฉริยะ’ ควบคุมกระบวนการผลิตทั้งหมด และนำระบบอัจฉริยะของ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบวงจรรวม (IC) การพัฒนาวัสดุ การผลิต การปรับปรุงผลผลิต และบรรจุภัณฑ์ โดยซัมซุงตั้งใจให้ ซอฟท์แวร์ AI สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ระบุสาเหตุของข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตได้ด้วย

โรงงานปัญญาประดิษฐ์เต็มรูปแบบตั้งเป้าจะเปิดดำเนินการให้ได้ภายในปี 2030 นับจากตอนนี้ก็อีกไม่กี่ปีเท่านั้น

การนำระบบอัตโนมัติและ AI มาใช้โดยสมบูรณ์นี้ ซัมซุงเห็นว่าในอนาคตเทคโนโลยีชิปหน่วยความจำจะมีขนาดเล็กลง ความเสี่ยงของข้อบกพร่องก็อาจมีได้มากขึ้น ซึ่ง AI จะช่วยลดปัญหานี้ เพราะสามารถเข้ามาช่วยตรวจจับข้อบกพร่องที่เกิดระหว่างการผลิต และยังช่วยให้บริษัทรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้

นักวิเคราะห์ในต่างประเทศมองแผนการนี้ของซัมซุงว่ากำลังเปลี่ยนจากการพึ่งพาซัพพลายเออร์จากต่างประเทศไปสู่การพัฒนาภายในองค์กรเพื่อสร้างความเป็นอิสระทางเทคโนโลยี

นอกจากซัมซุงจะเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำรายใหญ่ที่สุดของโลกแล้ว ก็ยังเป็นผู้ผลิตชิปตามสัญญา (Chip contract) รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก TSMC ของไต้หวัน

ความคิดริเริ่มของซัมซุงเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลทั่วโลกว่า AI จะมาพลิกโฉมตลาดงานในอนาคต เนื่องจากบริษัทจำนวนมากหันมาใช้ระบบอัตโนมัติและ AI โดยมีการศึกษาที่คาดการณ์ว่า AI อาจนำไปสู่การสูญเสียงานประมาณ 25% ในอีก 6 ปีข้างหน้า

[ บีเอ็มดับเบิ้ลยู-เป็ปซี่โค เริ่มใช้ AI มาทำงานร่วมกับคนมากขึ้น ]

เมื่อปีที่แล้วค่ายรถบีเอ็มดับเบิลยู (BMW) ได้อัพเกรดโรงงานในรัฐเซาท์แคโรไลนาเพื่อเพิ่มความสามารถด้าน AI เข้ามาในโรงงาน โรงงานแห่งนี้ผลิตรถยนต์ BMW ประมาณ 60 % ที่ขายในสหรัฐอเมริกา ในโรงงานจะมีหุ่นยนต์ทำหน้าที่เชื่อมหมุดโลหะระหว่าง 300-400 ชิ้นเข้ากับโครงของรถ ซึ่งขั้นตอนนี้จัดการโดย AI หากการประกอบชิ้นส่วนนี้มีความผิดพลาด ระบบ AI จะสั่งให้หุ่นยนต์แก้ไขให้ถูกต้อง โดยไม่จำเป็นต้องมีการแทรกแซงของมนุษย์

เทคโนโลยีส่วนนี้ช่วยโรงงานประหยัดเงินได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ต่อปี และเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้ให้ BMW สามารถถอดพนักงาน 6 คนออกจากสายงาน และปรับใช้คนกลุ่มนี้ไปทำงานอื่นในโรงงานได้

ส่วนโรงงานเป็ปซี่โค (PepsiCo) ในเมืองโคเวนทรี สหราชอาณาจักร ก็เริ่มใช้ AI มาทดสอบทำงานร่วมกับมนุษย์ในโรงงานผลิตขนมขบเคี้ยว โดยมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่จะมอนิเตอร์ตรวจสอบ และวิเคราะห์กระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ สามารถเตือนปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันทีผ่านการประมวลข้อมูลในระบบ รวมทั้งแนะนำแนวทางแก้ไข

นอกจากนี้ยังสามารถคาดการณ์ได้ว่าระบบการผลิตอาจจะมีปัญหาอะไรได้อีกในอนาคตด้วย โดยจะมีการขึ้นแจ้งเตือนล่วงหน้าจากการประมวลข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ช่วยให้ผู้ผลิตคาดการณ์และเตรียมพร้อมรับมือได้ทัน หากระบบการผลิตในโรงงานมีปัญหาขัดข้อง

ผู้บริหารของ PepsiCo บอกว่า ระบบ AI เซ็นเซอร์ ช่วยปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

บนความฉลาดอัจฉริยะที่เกิดขึ้น ดูเหมือน AI จะมาพร้อมกับความวิตกกังวลของคนทำงาน

ในการวิเคราะห์ของ Deloitte Thailand Insights ให้ความเห็นอีกด้านว่า AI จะเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในอนาคต โดยเริ่มตั้งแต่แรงงานคน จากเดิมที่ไอคิวเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการทำงานเมื่อ AI เข้ามามีบทบาททำงานแทนมนุษย์ได้ ตัวชี้วัดความสำเร็จของมนุษย์จะเปลี่ยนเป็นอีคิว มุมมองทัศนคติ และ soft skill

ทุกคนจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเรียนรู้การใช้ประโยชน์จาก AI เราอาจจะไม่ตกงานเพราะ AI แต่คนที่รู้จักใช้ประโยชน์จาก AI ต่างหากที่จะมาชิงตำแหน่งงานของเราไป

สิ่งสำคัญคือ เราต้องมองว่า AI เป็นเพื่อนร่วมงานที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น AI เปรียบเหมือนผู้ช่วยนักบินที่ไม่เพียงทำหน้าที่ช่วยทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ แต่ยังสามารถทำงานระดับพื้นฐาน และซ้ำ ๆ ปริมาณมากได้อีกด้วย เช่น การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ

ดีลอยท์เรียกยุคนี้ว่า ‘The Age of With’ ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์และ AI ทำงานร่วมกัน

 

อ้างอิง  Asia Times , CNBC, BBC, Deloitte

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า