SHARE

คัดลอกแล้ว

ผ้าอนามัย ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง แต่กลับถูกจัดอยู่ในหมวด ‘สินค้าฟุ่มเฟือย’ จึงทำให้ผ้าอนามัยมีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น สร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้หญิงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อย นักเรียน นักศึกษา

     “ยกตัวอย่าง เด็กผู้หญิงคนหนึ่งเรียนอยู่ชั้น ม.2 ต้องมาอยู่หอพัก ได้เงินใช้อาทิตย์ละ 200-300 บาท ถ้าอาทิตย์นั้นเป็นประจำเดือนก็ต้องเจียดเงินมาซื้อผ้าอนามัย ร้อยกว่าบาท เพื่อให้พอใช้ประมาณ 5-6 วัน เพราะฉะนั้นถ้าเราเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ รัฐต้องออกกฎหมาย มีมาตรการคุ้มครองเรื่องสุขภาพอนามัยเจริญพันธ์ุของผู้หญิงค่ะ”  จิตติมา ภาณุเตชะ ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นถกเถียงเรื่อง ผ้าอนามัย ว่าควรเป็นสวัสดิการรัฐหรือไม่

จิตติมา ภาณุเตชะ ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ สมาคมเพศวิถีศึกษา

     จิตติมา ภาณุเตชะ ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ เธอบอกกับทีม Workpoint News ว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธ์ุระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย มีความจำเป็นแตกต่างกัน เพราะผู้หญิงมีสรีระร่างกายที่ซับซ้อนกว่า ยกตัวอย่างเช่น เต้านม รังไข่ ระบบเจริญพันธ์ุภายใน

     และ ประจำเดือน ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งผู้หญิงเลือกไม่ได้ รวมไปถึงโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความซับซ้อนของอวัยวะเหล่านั้น เช่น ไวรัส HPV สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

 

ผ้าอนามัยถูกจัดอยู่ในหมวดเครื่องสำอาง หมายความว่ารัฐยังมองไม่เห็นความจำเป็น

     ในมุมมองของจิตติมา ผ้าอนามัย เป็นสินค้าด้านสุขภาพที่ผู้หญิงจำเป็นต้องใช้ทุกเดือน รัฐจึงควรเข้ามาควบคุมดูแลเรื่อง ‘ราคา’ ไม่ต่างจากกรณีน้ำดื่ม

     เธออธิบายต่อว่า ช่วงหนึ่งที่ยังไม่มีการสร้างมาตรฐานราคาขั้นต่ำของน้ำดื่ม น้ำ 1 ขวด มีราคาตั้งแต่ 10, 20, 30 บาท แต่เมื่อควบคุมราคาแล้ว น้ำ 1 ขวด ราคา 7 บาท เป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับค่าครองชีพและความจำเป็นของผู้บริโภค

     ปัจจุบัน ผ้าอนามัย ถูกจัดอยู่ในหมวด ‘เครื่องสำอาง’ นัยของมันคือสินค้าฟุ่มเฟือย จึงสะท้อนว่ารัฐยังมองไม่เห็นความสำคัญจำเป็น ขณะที่บางประเทศในแถบเอเชียอนุญาตให้ผู้หญิงลาหยุดได้ถ้าปวดประจำเดือน โดยไม่นับรวมกับวันลาปกติ เพราะเขามองว่ามันเป็นภาระทางร่างกายที่ผู้หญิงไม่ได้เลือก

     หากรัฐต้องการให้ผู้หญิงผลิตประชากร เราก็ควรจะส่งเสริมเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธ์ุของผู้หญิงด้วย ผู้หญิงมีภาระที่ต้องเป็นประจำเดือนทุกเดือนเพราะมีมดลูก ทั้งๆ ที่ต้นสายมาจากเรื่องเดียวกัน แต่รัฐกลับไม่ใส่ใจดูแลเรื่องผ้าอนามัย

 

 

ผู้หญิงบางคนเข้าไม่ถึงผ้าอนามัย เพราะแพงเกินไป

     จิตติมาเล่าว่า ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่เข้าไม่ถึงผ้าอนามัยเพราะราคาแพง ยกตัวอย่างเช่น เด็กผู้หญิงในพื้นที่ห่างไกล อาจต้องหยุดเรียนเมื่อเป็นประจำเดือน เพราะกลัวเลอะ ไม่มั่นใจ ไม่คล่องตัว หรือกลัวถูกเพื่อนล้อ

     และนอกจากเรื่องราคาแล้ว ‘คุณภาพ’ ของผ้าอนามัยก็เป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพทางเพศ ผู้หญิงในคุกบางคนมีอาการแพ้เพราะใช้ผ้าอนามัยแจกฟรีที่คุณภาพไม่ดี ดังนั้น ถ้ารัฐจะแจกผ้าอนามัยก็ควรคำนึงถึงเรื่องคุณภาพด้วย

     “ประจำเดือนมันอั้นไม่ได้ มันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตที่ต้องการการดูแล” จิตติมาบอก เธอมองว่าสังคมไทยยังไม่ถูกสร้างความเข้าใจเรื่องอนามัยเจริญพันธ์ุอย่างเพียงพอ รวมถึงเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก ด้วย คนจำนวนมากจึงยังไม่กล้าไปตรวจ

 

ทุกฝ่ายต้องคุยกัน ไม่ใช่ผลักภาระให้เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้หญิง

     จิตติมาเสนอวิธีแก้ปัญหาเชิงระบบว่า ผ้าอนามัย ควรได้รับการควบคุมดูแลในฐานะ ‘สินค้าอุปโภคบริโภค’ ให้มีราคาที่สมเหตุสมผล และรัฐควรปรับระบบการศึกษาเรื่องสุขภาวะทางเพศ เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่าเรื่องเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

     การแก้ปัญหาจึงไม่ใช่แค่การออกกฎหมาย แต่รวมไปถึงการสร้างมาตรการทางสังคม ทำให้สังคมเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติ เรื่องสรีระที่แตกต่าง มองเห็นความสำคัญ ดูแลกันในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง และอาจนำไปสู่การสร้างบริการ สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพ

     ดังนั้น ทุกๆ ฝ่ายต้องคุยกัน ไม่ใช่ผลักภาระให้เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้หญิงเพียงลำพัง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า