SHARE

คัดลอกแล้ว

จบลงไปแล้วกับแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาและการอภิปราย ที่พบกันครั้งแรก ระหว่าง รัฐบาลกับฝ่ายค้าน วันที่ 25-26 ก.ค. 2562 ทำให้บรรยากาศของสภาฯ ที่ห่างหายไปกว่า 5 ปี กลับมาคึกคักอีกครั้ง ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้โอกาสสัมภาษณ์ผู้ที่คว่ำหวอดการเลือกตั้งและติดตามการแถลงนโยบายรัฐบาลทั้ง 2 วันอย่างใกล้ชิด สะท้อนมุมมองพร้อมให้คะแนนว่าใครรุ่งใครร่วง

แฟ้มภาพ

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ รักษาการผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากการแถลงนโยบายรัฐบาลมีทั้งสิ่งใหม่และสิ่งเดิมๆ ที่คุ้นเคยคละเคล้ากันไป สิ่งใหม่ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีวิธีการแถลงและการตอบไม่เหมือนนายกฯ คนอื่น ขณะที่การอภิปรายของฝ่ายค้านส่วนหนึ่งเกิดสิ่งใหม่ที่เน้นอภิปรายเนื้อหาสาระ ส่วนสิ่งเก่ายังมีการใช้วาทศิลป์โจมตี ประท้วงตัดจังหวะแบบเดิมๆ

เนื้อหาคำแถลงนโยบายรัฐบาล “ร้อยแก้ว” ที่ไม่ชัด เป็นรูทีน

ดร.สติธร บอกว่า คำแถลงนโยบายของรัฐบาลเป็นบทร้อยแก้ว ควรกลับไปพิจารณาในการแถลงครั้งต่อไป เพราะรูปแบบเชย ล้าสมัย เพราะคำแถลงนโยบายรัฐบาลมีการพัฒนามาตั้งแต่ยุคปี 2544 เทรนด์ก้าวหน้ากว่านี้ ทำให้คะแนนของคำแถลงนโยบายให้ความเห็นจากคำแนนเต็ม 10 คือ 4 ทั้งเนื้อหา วิธีการทำ มันตกยุคไม่ใช่สิ่งที่คนคาดหวัง เป็นเหมือนคำแถลงนโยบายของปลักกระทรวงใหม่ แต่ถ้านายกรัฐมนตรีจะแถลงนโยบายกับประชาชนแบบนี้ไม่ใช่ เพราะสิ่งที่เขียนและแถลงออกมา คือ สิ่งดีๆ ปกติที่ต้องให้ประชาชนอยู่แล้ว รัฐบาลต้องไปไกลกว่านั้น ต้องเขียนให้ราชการเป็นไปในทิศทางที่ตัวเองกำกับไม่ใช่เดินตามราชการ เขียนแบบนี้ข้าราชการก็สบาย เพราะเป็นสิ่งที่เขาต้องทำอยู่แล้ว ประชาชนอยากได้อยู่แล้ว ต่อจะไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศ กระทรวงทุกกระทรวงก็ทำงานได้ตามปกติ มันไม่ตื่นเต้น เป็น “รูทีน” (routine)

ถ้าจะแถลงแบบนี้พูดประโยคเดียวก็ได้ว่า จะกำกับการทำงานของกระทรวง ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูป และแนวนโยบายแห่งรัฐที่เขียนไว้รัฐธรรมนูญ โดยใช้เงิน 3.3 ล้าน และนโยบายไม่เกิน 4 ปี ภายใน 4 ปีจะทำอะไร ชัดๆ ใหม่เก่าไม่สำคัญเท่ากับ ความชัดสำคัญกว่าว่าจะทำอะไร และไม่ใช่ไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่ชัด ตรงที่ว่าไม่เข้าใจว่าการเป็นรัฐบาลแถลงนโยบายคืออะไร

ดร.สติธร มีความเห็นกับการอภิปรายและการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในวันแถลงนโยบายรัฐบาล จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ดังนี้

ดาวสภาใหม่ฝ่ายรัฐบาล อ.สติธร ยกให้ พลเอกประยุทธ์กับบทบาทในสภาฯที่ไม่คาดคิดว่าจะเป็นแบบนี้

  • พลเอกประยุทธ์ 9 คะแนน เพราะอยากสนับสนุนให้ นายกฯ ทำงานใกล้ชิดมาฟังมาตอบที่ประชุมสภาฯ เป็นสิ่งที่มองว่าทำถูกแล้ว เห็นถึงความเอาใจใส่ตั้งใจทำงาน เราไม่เคยเห็นหัวหน้ารัฐบาลที่ทำงานกับฝ่ายนิติบัญญัติเข้มข้นเท่าท่านนายกฯ ประยุทธ์มาก่อนเลย นายกฯสไตล์นักบริหารจะมาแค่แถลงตอนต้นและตอบตอนจบ ระหว่างการแถลงอาจมาในช่วงสำคัญๆ บ้าง แต่นายกฯ ประยุทธ์ นั่งทั้งวัน ตอบทุกเม็ด เก็บทุกประโยค องครักษ์ตอบไม่ถูกใจก็ตอบเอง ก็ขอให้ท่านรักษาความดีนี้ไว้ แต่ไม่ถึงขนาดมาบ่อย เลือกจังหวะมาเฉพาะอีเว้นท์ใหญ่ กระทู้จุกจิกไม่ต้องมา และมาแบบเอาใจใส่ไม่รอลูกน้องส่งโพยให้

(ดาวสภาใหม่ฝ่ายค้าน อ.สติธร เห็นว่าคือ “ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ” ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย)

  • ฝ่ายค้าน 8 คะแนน เพราะ ฝ่ายค้านมีทั้ง ส.ส.แบบเก่ากับแบบใหม่ ส.ส.เก่า พยายามแปลงเรื่องยากให้เข้าใจง่ายได้ ส่วน ส.ส.รุ่นใหม่ สาระดีแต่เนื้อหาอาจตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่แต่อาจยากไปสำหรับชาวบ้าน แต่ก็สอดประสานแบ่งหน้าที่กันดีมีความกลมกล่อม ที่ให้ 8 คะแนนอยากให้พัฒนา ส.ส.รุ่นใหม่ฝึกวาทศิลป์เพิ่ม ส่วนฝ่ายที่มีวาทศิลป์ดีอยู่แล้วก็เพิ่มสาระเข้าไปให้ได้ทั้งคู่ ผู้ที่อภิปรายดีให้มุมมองของตน คือ ปิยบุตร แสงกนกกุล, สุทิน คลังแสง ส่วนดาวสภาใหม่ ยกให้ ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ แต่บางจุดก็ขำเกินไปบ้าง

ฝ่ายรัฐบาล

  • ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 5 คะแนน เพราะ ไม่แม่นข้อบังคับ ประท้วงไม่มีจังหวะ มั่วซั่ว ให้ดีที่สุดปรึกษากับท่านประธานก่อน อยากให้ฝึกประท้วงมาให้

  • ส.ว. 4 คะแนน เพราะ ไม่มีบทบาท น่าเศร้า การอภิปรายจะสนับสนุนมากก็ไม่ได้จะโจมตีหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องอะไรก็ไม่ได้

ชวน หลีกภัย , พรเพชร วิชิตชลชัย

  • ประธานรัฐสภา ชวน หลีกภัย 9 คะแนน เพราะแม่นข้อบังคับมาก คุมอยู่ ไม่ปล่อยให้เกิดบรรยากาศตีรวน
  • รองประธานรัฐสภา พรเพชร วิชิตชลชัย 6 คะแนน เพราะยังขาดความแม่นในข้อบังคับ และความเด็ดขาดในการควบคุมบรรยากาศ

ส่วนเรื่องที่มีความวุ่นวายท้าต่อยกันบ้างในสภาฯระหว่าง ส.ว.กับ ส.ส. และการตัดสัมพันธ์รุ่นพี่รุ่นน้อง ดร.สติธร มองว่า เรื่องความรุนแรงเราไม่สนับสนุนให้มีภาพแบบนี้มีมาหลายยุคแล้วบรรยากาศเป็นปกติ เป็นสีสันบรรรยากาศของสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง ถ้าจัดการด้วยกติกาข้อบังคับสภาก็จบ ต่อให้ walk out ก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะบางทีเป็นเกมการเมือง แต่ไม่ใช่ทำร้ายจิตใจกันให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นกลางประชาชนก็จะรับไม่ได้

ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส. เพื่อไทย กับ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว.

โซเชียลทำให้ ส.ส. “เห็นหัว” ประชาชนมากขึ้น

ปรากฏการณ์ประชุมสภาฯ ที่แตกต่างจากรัฐบาลในอดีตคือยุคนี้มีโซเชียล ทำให้เกาะติดการอภิปรายได้สะดวกมากขึ้นมีทั้ง Live ที่ช่องต่างๆ และสื่อออนไลน์ นำสัญญาณมาถ่ายทอดสดและยังมีการผลิตซ้ำเป็นคลิป กราฟฟิกข่าว อย่างน่าสนใจ

โซเชียลมีผลต่อการประชุมสภาฯ นักการเมืองจำนวนหนึ่งที่รู้ว่าคนดูโซเชียลเยอะ นอกจากดูไลฟ์แล้วเอาไปผลิตซ้ำ เขาปรับตัวนักการเมืองที่เล่นกับสื่อโซเชียลเป็นเขาจะรู้ เลือกจังหวะ คัดสรรคำพูดว่า ถ้าถูกนำไปตัดต่อเป็นคลิปสั้นๆ ยอดวิวจะทะลุ ยิ่งพวกที่ถูกจับตาว่าเป็นดาว เขาจะยิ่งเฟ้นมากขึ้นไม่พร่ำเพรื่อไม่ไร้สาระ รู้ว่าอะไรที่คนชอบ อะไรที่คนไม่ชอบไม่ทำเช็คเรตติ้งทันที แต่ไปถึงจุดหนึ่งต้องก้าวข้ามให้ได้ ต้องไปถึงจุดที่อย่าให้ปล่อยให้โซเชียลมานำ เขาต้องเป็นคนนำเทรนด์ให้ได้ อย่าไปแสดงแต่สิ่งที่คนอยากดู แต่ต้องทำให้สิ่งที่แสดงแล้วคนรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่แบบนี้เหนือกระแสไปได้

“สมัยก่อน ส.ส., ส.ว. รู้ว่าแสดงกับอะไร ถ่ายทอดสดก็จะมีเฉพาะอีเว้นท์ใหญ่ๆ จะมีบางสถานีโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดสด เต็มที่เราจะเห็นคนหน้าเดิมๆ ย้ายเก้าอี้ไปนั่งด้านหลังเวลาคนที่เป็นดาวสภาอภิปรายจะได้ออกหน้าจอโทรทัศน์ ความรู้สึกสปอร์ตไลฟ์จับจ้องมีมานานแล้ว  แต่ยุคนี้ต้องเล่นใหญ่ ยิ่งต้องปรับตัว หาวิธีดึงดูด เพราะประชาชนแสดงออกได้ จะเห็นจาก 3-4 เดือนที่ผ่านมา ส.ส. ทำตัวดีขึ้นเยอะ ในแง่สาระ และควานบันเทิง เห็นหัวเรามากขึ้นนิดหน่อย”

ส่วนกรณีของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่ที่ได้รับคำชมจากโซเชียลมากมายและยกให้เป็นดาวสภาดวงใหม่ ดร.สติธร มองว่า ส.ส.พรรคอนาคตใหม่อภิปรายในลักษณะเนื้อหาสาระอยู่แล้ว และรู้ว่าจะมีคนนำไปทำซ้ำ แต่ที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ชมการอภืปรายของพิธา เหนือความคาดหมายทำให้เกิดกระแส ซึ่งความจริงพลเอกอนุพงษ์ก็ตอบตามธรรมชาติของรัฐมนตรีที่มองภาพกว้าง และเมื่อเห็นว่าสิ่งที่ฝ่ายค้านพูดถูกต้องจึงชม ประกอบกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจพูดถึงความเกี่ยวโยงที่เคยทำงานร่วมกับพ่อของพิธา ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร จึงทำให้เกิดความเป็นน่าสนใจมากขึ้น

(ชมคลิปการอภิปรายที่ได้รับเสียงชื่นชมว่าสร้างสรรค์อีกครั้ง)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า