Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในระยะเวลา 10 ปี Microsoft พลิกกลับจากการติดหล่มความเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ถูกลืม ด้วยมูลค่าราว 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาเป็นมาเป็นบริษัทบิ๊กเทคที่มีมูลค่าถึง 3.06 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐได้ในปี 2024 กลายเป็นบริษัทอันดับหนึ่งที่มีมูลค่าสูงสุดแซงหน้า Apple ไปเป็นที่เรียบร้อย

ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นภายใต้การทำงานแบบ work-life harmony ของพนักงาน Microsoft คนหนึ่งที่ก้าวขึ้นมาเป็นซีอีโอ และนำพาบริษัทแห่งนี้ฝ่าคลื่นลมของการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่นับวันจะยิ่งร้อนแรงมากขึ้น ด้วยการแสวงหาจุดแข็งของตนเองและตั้งใจทำมันออกมาให้ดี เหมือนกับที่ Microsoft มุ่งมั่นรักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเอไอเอาไว้อย่างถึงที่สุด

Satya Nadella (สัตยา นาเดลลา) เกิดในครอบครัวฮินดูในเมืองไฮเดอราบัด รัฐอานธรประเทศของอินเดีย เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1967 ชีวิตของ Nadella เติบโตขึ้นมาแบบเด็กอินเดียทั่วไปที่ชื่นชอบกีฬาคริกเก็ต และด้วยครอบครัวที่ให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษาเป็นอย่างดี ทำให้ Nadella สามารถก้าวเดินไปสู่เส้นทางอาชีพสายเทคโนโลยีที่เขามีความสนใจเป็นพิเศษได้ในที่สุด

หลังจากที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Manipal Institute of Technology (MIT) เขาก็มุ่งหน้าสู่สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ University of Wisconsin-Milwaukee จนสำเร็จการศึกษาในปี 1990

หลังเรียนจบปริญญาโท Nadella ได้เริ่มเส้นทางอาชีพในสายเทคโนโลยีครั้งแรก ในตำแหน่งพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีที่ Sun Microsystems ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ และซอฟต์แวร์ชั้นนำในซิลิคอนแวลลีย์

แต่ไม่นานหลังจากนั้น Nadella ก็ย้ายไปร่วมงานกับ Microsoft ในปี 1992 โดยรับหน้าที่ดูแลโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากมายของ Microsoft อย่างทีวีโต้ตอบอัจฉริยะที่ไม่ประสบความสำเร็จ และระบบปฏิบัติการ Windows NT ภายใต้การบริหารของบิล เกตส์ (Bill Gates) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอที่กำลังผลักดันให้ Microsoft เป็นเบอร์หนึ่งของโลก

ระหว่างที่ Nadella ทำงานอยู่ที่ Microsoft เขายังสำเร็จปริญญาโทอีกใบในสาขาบริหารธุรกิจจาก University of Chicago Booth School of Business ในปี 1997 ซึ่งส่งผลให้เขาเติบโตขึ้นใน Microsoft

Nadella ได้รับหน้าที่ด้านการบริหารครั้งแรก ในตำแหน่งรองประธานของ Microsoft bCentral ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้บริการด้านเทคโนโลยีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก อย่างการโฮสต์เว็บไซต์และอีเมล

หลังจาก Microsoft เปลี่ยนตัวซีอีโอมาเป็นสตีฟ บัลเมอร์ (Steve Ballmer) เขาก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งมาเป็นรองประธานของ Microsoft Business Solutions ในปี 2001 ซึ่งทำงานด้านการบริการทางเทคโนโลยีให้กับภาคธุรกิจ อย่างซอฟต์แวร์การบัญชี และระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) บนคลาวด์ ซึ่งต่อมาบริการเหล่านี้จะถูกเรียกว่า Dynamics

ในปี 2007 Nadella ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองประธานอาวุโสของ Microsoft Online Services ที่ดูแลการพัฒนาและการให้บริการออนไลน์ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็นเสิร์ชเอนจิน Bing และ Microsoft Office เวอร์ชันออนไลน์ รวมถึงบริการไลฟ์เกมมิ่ง Xbox

บทบาทของ Nadella ใน Microsoft โดดเด่นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2011 เขาได้เป็นประธานแผนก Server and Tools ที่ดูแลธุรกิจศูนย์ข้อมูลซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ทำเงินให้กับ Microsoft อย่าง Windows Server และระบบฐานข้อมูล SQL Server รวมถึงแพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ที่เพิ่งเปิดตัว

แม้ว่าธุรกิจศูนย์ข้อมูลจะไปได้ดีและเติบโตขึ้น แต่ Microsoft กลับเผชิญความท้าทายอย่างหนัก จากเสียงตอบรับ Windows 8 ที่ย่ำแย่ยิ่งกว่าหายนะ ขณะที่ Windows Phone ก็ไม่สามารถตีตื้นขึ้นมาสูสีกับ iPhone และ Android ได้ ส่วนเสิร์ชเอนจินอย่าง Bing ก็ดูจะไม่ระคายผิว Google

นอกจากนี้ Microsoft ยังตกเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ถูกกล่าวหาเรื่องการผูกขาดโดยสหภาพยุโรป ทำให้ต้องต่อสู้คดีกันเป็นเวลา ขณะที่ราคาหุ้นก็ดิ่งลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในที่สุดสตีฟ บัลเมอร์ตัดสินใจลงจากตำแหน่งซีอีโอ ก่อนที่ Nadella จะได้รับเลือกให้รับหน้าที่อันหนักอึ้งในการกู้ชีพบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนี้ในปี 2014

Nadella สร้างความเปลี่ยนแปลงในทันทีที่เขารับตำแหน่งซีอีโอ Microsoft ด้วยการปรับกลยุทธ์ใหม่คือ การจัดลำดับความสำคัญของนวัตกรรม โดยเน้นไปที่เป้าหมายหลักคือการส่งเสริมศักยภาพของผู้ใช้งานและองค์กร ซึ่งนั่นคือการปรับทิศทางธุรกิจใหม่เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับมาหา Microsoft

จากนั้น Microsoft ได้เปลี่ยนแปลงไปทันที ด้วยการไม่กลัวที่จะจับมือกับคู่แข่ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของตนเอง อย่างการเปิดตัวแอปพลิเคชัน Outlook บน iPhone และ Android เป้าหมาย Nadella คือ การสร้างพันธมิตรและการรับรองว่าลูกค้าจะสามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์และบริการของ Microsoft ได้ทุกที่ แม้จะไม่ได้ใช้งาน Windows ก็ตาม

ส่วนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ก็ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง และถ้าไม่เวิร์ค Nadella ก็พร้อมจากละทิ้งทันที อย่าง Windows 9 ที่ถูกพับโครงการและข้ามไปเปิดตัว Windows 10 ซึ่งมีศักยภาพเหนือกว่า แต่บางผลิตภัณฑ์อย่าง HoloLens แว่นตาโฮโลกราฟิก และ Surface Book แล็ปท็อปรุ่นแรกของ Microsoft ก็ได้รับเสียงวิจารณ์และยังคงไม่สามารถขึ้นมาติดตลาดเหมือนสินค้าของคู่แข่งได้

ภายใต้การนำทางของ Nadella Microsoft ยังเข้าซื้อกิจการมากมายที่จะช่วยเสริมการเติบโตทางธุรกิจของตนเอง อย่างการเข้าซื้อ Mojang บริษัทผู้พัฒนาเกมดัง Minecraft, LinkedIn เครือข่ายสังคมธุรกิจออนไลน์, GitHub ผู้ให้บริการ code-sharing site และบริษัทเกมอย่าง Activision Blizzard

ความเคลื่อนไหวใหญ่สุดเมื่อไม่นานมานี้ของ Microsoft คือการลงทุนใน OpenAI ผู้พัฒนาแชทบอทเอไอที่สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลกเทคโนโลยีอย่าง ChatGPT ซึ่งนับเป็นการก้าวลงสู่สมรภูมิเอไอที่ร้อนแรงและต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งสำคัญอย่าง Google ที่ Nadella เองก็ยอมรับว่ามีศักยภาพที่จะเป็นผู้ชนะในเกมนี้มากกว่า

แต่ Microsoft ก็ยังคงเดินหน้าในธุรกิจเอไออย่างเต็มที่ และยังมีการแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากแผนการเยือนอินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมถึงการร่วมงาน Microsoft Build: AI Day ที่ประเทศไทย แม้จะมีการเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดในขณะนี้ก็ตาม

ปัจจุบัน Nadella ในวัย 56 ปีได้รับเสียงชื่นชมมากมายถึงความสามารถในการบริหารงานกระทั่ง Microsoft กลับมาเป็นบริษัทบิ๊กเทคอันดับ 1 ได้อีกครั้งในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ท่ามกลางหนทางในอนาคตข้างหน้าที่จะยังคงมีความท้าทายรออยู่อีกมาก จากความก้าวหน้าและการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่จะไม่มีวันหยุดยั้งนับจากนี้

ที่มา businessinsider1, businessinsider2, cnbc1cnbc2, microsoft

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า