SHARE

คัดลอกแล้ว

หากพูดถึงเศรษฐีบ่อน้ำมัน หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น ‘ซาอุดีอาระเบีย’ ประเทศที่ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก มีปริมาณการผลิตเฉลี่ย 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งออกราว 8 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันซาอุดีอาระเบียไม่ได้หยุดเพียงแค่ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำมันเท่านั้น แต่กำลังผันตัวเองเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเหมืองแร่มากขึ้น

แล้วทำไมซาอุดีอาระเบียถึงอยากโดดเด่นในอุตสาหกรรมเหมืองแร่มากขึ้น?

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นที่ ‘อัล-ชามาลง’ ห่างจากเมืองหลวงของซาอุดีอาระเบียไป 1,200 กิโลเมตร ได้ค้นพบ ‘แร่หินฟอสเฟต’ จำนวนมาก

แร่ชนิดนี้เป็นส่วนผสมชั้นดีให้กับปุ๋ยของเกษตรกรและเป็นสารตั้งต้นในการผลิตแอมโมเนีย พร้อมกับสรรพคุณอีกมากมายที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน

โดยแร่หินฟอสเฟตจากเมืองแห่งนี้จะถูกส่งไปสกัดในโรงงานและส่งออกไปยังประเทศต่างๆ อาทิ บราซิล แอฟริกา อินเดียและบังคลาเทศ

แน่นอนว่ารัฐบาลของซาอุดีอาระเบียเริ่มเห็นโอกาสจากอุตสาหกรรมแห่งนี้มากขึ้น และมีความคิดที่ว่า ในประเทศไม่ได้มีเพียงแร่หินฟอสเฟตเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสที่จะค้นพบแร่ธาตุอื่นๆ อีกมาก

ทำให้ ‘Ma’aden’ บริษัทเหมืองแร่ของรัฐบาล เริ่มเคลื่อนไหวตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเข้าลงทุนกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1 แสนล้านบาท) เพื่อซื้อหุ้นในบริษัทเหมืองแร่ใหญ่ของบราซิล และในปีนี้เตรียมเข้าลงทุนสูงถึง 15,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 5 แสนล้านบาท) ในเหมืองประเทศอื่นๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ บริษัทยังเผยว่า ยอดขายและการลงทุนในประเทศประมาณ 2% ของ GDP ไม่ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมันแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่อาจเข้ามาเเย่งสัดส่วนได้มากขึ้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลซาอุดีอาระเบียปรับตัวเลขประมาณการมูลค่าแร่ที่ยังไม่ถูกค้นพบภายในประเทศไว้จาก 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 46 ล้านล้านบาท) เป็น 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 90 ล้านล้านบาท) ซึ่งตัวเลขนี้รวมถึงทองคำ ทองแดง และสังกะสี

ขณะที่ความร่ำรวยน้ำมันของซาอุดีอาระเบียมีมูลค่าประมาณ 20 ล้านล้านดอลลาร์เท่านั้น (ราว 700 ล้านล้านบาท) เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมแร่อาจเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศก็ย่อมได้

ทั้งนี้ รัฐบาลยังยกเว้นภาษีการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ ลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าลิขสิทธิ์ แก้กฎหมายการทำเหมืองแร่ฝึกอบรมกลุ่มนักธรณีวิทยาและวิศวกร เสนอการสนับสนุนเงินเดือนและค่าเช่าให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศที่มาสนใจลงทุนในซาอุดิอาระเบียอีกด้วย

ประกอบกับความต้องการจาก ‘มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน’ มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย ที่อยากให้ประเทศมีแร่ธาตุจำนวนมาก รวมถึงมีแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานมากขึ้น เพราะตัวเขาไม่ได้ยอมรับการซื้อพลังงานจากประเทศลัทธิชาตินิยม อาทิ อเมริกา ชิลี และจีน

อย่างไรก็ตาม แม้ซาอุดีอาระเบียอยากจะผันตัว ‘เศรษฐีเหมืองแร่’ มากแค่ไหน แต่สายตาคนทั่วโลกยังคงเป็น ‘เศรษฐีบ่อน้ำมันอยู่’ อาจต้องทำการตลาดแก่นักขุดเหมืองและนายทุนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อให้นโยบายที่มี สามารถเรียกการลงทุนเข้าสู่ประเทศได้มากกว่าเคย 

เป็นที่น่าติดตามว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศตะวันออกกลางแห่งนี้ จะไปได้ไกลแค่ไหน.. 

ที่มา

  • https://www.economist.com/business/2024/01/11/saudi-arabia-wants-to-be-the-saudi-arabia-of-minerals

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า