SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงต้นปีแบบนี้ หลายบริษัทก็จะมีการแจกโบนัส เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานที่ทุ่มเททำงานหนักมาทั้งตลอดปี แต่ละคนอาจมีแผนการใช้โบนัสแตกต่างกันออกไป แต่ผมเชื่อว่ามีส่วนหนึ่งที่วางแผนจะเอาโบนัสไปโปะหนี้ที่มีอยู่ ซึ่งเป็นประจำทุกปี ผมมักจะได้รับคำถามจากเพื่อน ๆ หรือคนรู้จักว่า ถ้ามีหนี้หลายก้อน เราจะเอาโบนัสไปโปะหนี้ก้อนไหนก่อนดี โดยเฉพาะ ‘หนี้บ้าน’ กับ ‘หนี้รถ’

เท่าที่ผมทราบมา หลายคนจะรู้สึกว่า ปิดหนี้รถก่อนน่าจะดี  เพราะทำให้ผ่อนรถหมดเร็วขึ้น และถ้าผ่อนหนี้รถหมดแล้ว เขาก็จะเหลือหนี้บ้านที่ต้องผ่อนชำระเพียงอย่างเดียว การคิดแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ในหลักการวางแผนการเงิน มาลองดูตัวอย่างกันครับ

สมมติว่า ถ้าปีนี้เราได้รับเงินโบนัสจากบริษัทมา 100,000 บาท โดยที่เรามี ‘หนี้รถยนต์’ และ ‘หนี้บ้าน’ ต้องผ่อนรายเดือนอยู่ ดังนี้

•  หนี้รถ กู้มา 800,000 บาท ผ่อนชำระ 5 ปี (60 งวด) ดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี จะต้องผ่อนหนี้เดือนละ 15,000 บาท ในกรณีนี้ เราผ่อนรถมาแล้ว 4 ปี 5 เดือน เหลือหนี้ค้างชำระอีก 105,000 บาท

•  หนี้บ้าน กู้มา 2,000,000 ผ่อนชำระ 30 ปี (360 งวด) ดอกเบี้ย 5% ต่อปี จะต้องผ่อนหนี้เดือนละ 11,000 บาท ในกรณีนี้ เราผ่อนบ้านมาแล้ว 5 ปี เหลือหนี้ค้างชำระอีก 1,818,650.45 บาท

ถ้าเป็นเพื่อน ๆ จะเลือกเอาโบนัส 100,000 บาท ไปโปะหนี้ก้อนไหนก่อนดี ถ้าโปะรถก็เคลียร์หนี้ทั้งก้อนหมดไป ถ้าโปะบ้านดอกเบี้ยก็ลดลง

 

ทางเลือกที่ 1 โปะหนี้รถ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การคิดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์เป็นแบบ Flat Rate หรือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ หมายความว่าเขาจะคิดดอกเบี้ยจาก ‘ยอดเงินกู้ทั้งหมด’ ในครั้งแรก แล้วหารเฉลี่ยเข้าไปในหนี้ที่เราต้องผ่อนชำระต่อเดือนแบบเท่า ๆ กัน 

ดังนั้น ไม่ว่าเราจะผ่อนหนี้ไปแล้วกี่งวดก็ตาม เรายังต้องผ่อนเงินต้นและดอกเบี้ยเท่า ๆ กันทุกเดือน

เช่นในกรณีตัวอย่าง เรามีหนี้รถยนต์จำนวน 800,000 บาท เมื่อคิดดอกเบี้ย 2.5% ต่อปีเข้าไปแล้ว แสดงว่าเราจะต้องเสียดอกเบี้ย 800,000 x 2.5% = 20,000 บาทต่อปี ถ้าผ่อน 5 ปี ก็เอาดอกเบี้ย 20,000 บาทต่อปี ไปคูณ 5 จะเท่ากับ 100,000 บาท

หลังจากนั้นเอาเงินต้น 800,000 บาท มารวมกับดอกเบี้ย 100,000 บาท และหารด้วยจำนวนงวดที่ต้องผ่อน นั่นคือ 60 งวด จะได้เป็น (800,000 + 100,000) / 60 = 15,000 บาทต่อเดือน แสดงว่าหนี้ที่เราผ่อนจ่ายทุก ๆ เดือน เดือนละ 15,000 บาทนั้น เป็นส่วนของเงินต้น 13,333.33 บาท และดอกเบี้ย 1,666.67 บาท

ดังนั้น ถ้าเราตัดสินใจเอาโบนัส 100,000 บาท มาโปะหนี้รถที่เหลืออีกแค่ 105,000 บาท ซึ่งคิดเป็นเงินต้น 93,333.33 บาท และดอกเบี้ย 11,666.67 บาท โดยที่กฎหมายการเช่าซื้อรถยนต์ยังบอกอีกว่า ไฟแนนซ์ต้องลดดอกเบี้ยที่เหลืออยู่ 50% ให้กับผู้กู้ที่โปะปิดหนี้ นั่นหมายความว่าเราจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยจำนวน 11,666.67 บาท เหลือแค่ 5,833.33 บาท 

เพราะฉะนั้นถ้าโปะรถ เราจะต้องจ่ายเงินทั้งหมด 93,333.33 + 5,833.33 = 99,166.67 บาท แล้วเคลียร์หนี้ก้อนนี้หมดไป

สรุป กรณีโปะรถ เราจะประหยัดดอกเบี้ยได้ 5,833.33 บาท

ทางเลือกที่ 2 โปะหนี้บ้าน

ส่วนการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน สถาบันการเงินเขาจะคิดดอกเบี้ยเราแบบ Effective Rate หรือ ลดต้นลดดอก หมายความว่าถ้าเราผ่อนหนี้บ้านไปเรื่อย ๆ เมื่อเงินต้นลดลง ดอกเบี้ยก็จะลดลงตามไปด้วย

ในความเป็นจริงแล้ว หนี้สินเชื่อบ้าน 2,000,000 บาท ดอกเบี้ย 5% ต่อปี ผ่อนเดือนละ 11,000 บาท เราจะไม่ได้ผ่อนเต็ม ๆ ถึง 30 ปี (360 งวด) หรอกครับ เพราะถ้าคำนวณแบบลดต้นลดดอกแล้ว เราจะต้องผ่อนอยู่ที่ประมาณ 341 งวดเท่านั้น (กรณีที่เสียดอกเบี้ย 5% ต่อปี ตลอดสัญญา)

ดังนั้น จากตัวอย่าง ถ้าเราผ่อนบ้านมาแล้ว 5 ปี (60 งวด) เหลืองวดที่ต้องผ่อนอีก 281 งวด มียอดหนี้ที่เป็นเงินต้น 1,818,650.45 บาท ถ้าเราตัดสินใจเอาโบนัส 100,000 บาท ไปโปะบ้าน เราจะเหลือหนี้ทั้งหมด 1,818,650.45 – 100,000 = 1,718,650.45 บาท

หลังจากนั้นถ้าเรายังผ่อนบ้านเดือนละ 11,000 บาทต่อไปเรื่อย ๆ ผมลองคำนวณแล้วครับ เราจะเหลืองวดผ่อนอีกเพียงแค่ 254 งวดเท่านั้น หรือลดจำนวนงวดผ่อนลงไป 27 งวด ซึ่งจะทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยลดลงถึง 203,930 บาท

สรุป กรณีโปะบ้าน เราจะประหยัดดอกเบี้ยได้ 203,930 บาท

เมื่อเทียบกันแล้ว จะเห็นว่าการโปะ ‘หนี้บ้าน’ สามารถช่วยลดดอกเบี้ยได้มากกว่าการโปะ ‘หนี้รถ’ หลายเท่าเลยครับ 

อย่างไรก็ตาม หากเพื่อน ๆ มีหนี้ประเภทอื่น เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนี้เงินกู้นอกระบบอยู่ด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงทั้งสิ้น ผมก็ขอแนะนำให้เพื่อน ๆ โปะหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยสูงที่สุดเสียก่อน แล้วค่อยมาโปะหนี้บ้านนะครับ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า