Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงนี้เป็นเทศกาลยื่นแบบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี วันนี้ผมก็เลยขอมาอธิบายทำความเข้าใจวิธีการเสียภาษีแบบง่าย เพื่อให้ผู้อ่านทุกคนไปยื่นแบบการเสียภาษีกันได้อย่างถูกต้องนะครับ

  • รายได้เท่าไหร่ ถึงต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนเข้าใจผิดกันมากครับ เพราะคิดว่ารายได้ของเราไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี ก็เลยไม่ยื่นแบบฯ ซึ่งความจริงแล้วแม้ว่าเราจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แต่หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องยื่นแบบ เราก็ต้องยื่นแบบให้สรรพากรนะครับ

โดยเกณฑ์ที่เราจะต้องยื่นแบบฯ นั้น ดูง่าย คือ

1. ถ้าเรามีเงินได้จาก “เงินเดือน” เพียงอย่างเดียว ถ้ามีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไปต่อปี เราก็ต้องยื่นแบบครับ หรือพูดง่าย คนที่เงินเดือนตั้งแต่ 1 หมื่นบาทต่อเดือนขึ้นไป ต้องยื่นแบบฯ แล้วนะครับ

อย่างไรก็ตาม หากมนุษย์เงินเดือนคนไหนแต่งงานแล้วตามกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) และใช้วิธีการยื่นแบบรวมกัน เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำก็จะขยับขึ้นเป็น 220,000 บาทต่อปี

2. ถ้าเรามีเงินได้ประเภทอื่น เช่น รายได้จากการทำงานเป็น Freelance ขายของออนไลน์ ฯลฯ แบบนี้หากเรามีเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไปต่อปี หรือตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน เราก็ต้องยื่นแบบฯ แล้วนะครับ

และเช่นกันหากเราจดทะเบียนสมรสแล้ว และใช้วิธีการยื่นแบบรวมกัน แบบนี้ก็จะขยับเกณฑ์รายได้ที่จะต้องยื่นแบบขึ้นไปเป็น 120,000 บาทต่อปี หรือทั้งสองคนมีรายได้รวมกัน 1 หมื่นบาทขึ้นไปต่อเดือน

เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี

  • ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบฯ แล้ว แปลว่าเราต้องเสียภาษีใช่หรือไม่

ไม่ใช่ครับ อย่างที่บอกไปตอนต้น คือ เกณฑ์ที่ต้องยื่นแบบฯ กับเกณฑ์ที่เราจะต้องเสียภาษีนั้นเป็นคนละตัวกัน แม้ว่าเราจะถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นแบบแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเสียภาษีเสมอไปครับ เท่าที่ผมทราบข้อมูล ปัจจุบันมีผู้ที่ยื่นแบบให้กรมสรรพากรประมาณ 11 ล้านคน แต่มีผู้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีจริงๆ แค่ 4 ล้านรายเท่านั้น

  • ถ้าเรามีรายได้ถึงเกณฑ์ แต่ไม่ยื่นแบบฯ จะมีผลอย่างไรบ้าง

การที่เรามีรายได้ถึงเกณฑ์แต่ไม่ยื่น ถือว่าเราทำผิดกฎหมายครับ ซึ่งประมวลรัษฎากรมาตรา 35 บอกว่าคนที่ไม่ยื่นจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่เท่าที่ทราบมา สรรพากรไม่ได้ใจร้ายปรับสูงสุดที่ 2,000 บาทหรอกนะครับ ส่วนใหญ่ก็จะปรับกันที่ 200 บาทแค่นั้น

และกรณีที่เรามีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี สรรพากรก็จะคิดเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (คล้าย ดอกเบี้ย) แต่ถ้าเราแค่รายได้ถึงเกณฑ์ยื่นแบบฯ แต่ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เราก็ต้องจ่ายแค่ค่าปรับอย่างเดียวครับ

  • มีเงินเดือนกี่บาท ถึงจะต้องเสียภาษี

เรื่องนี้ต้องเคลียร์กันก่อนว่า เกณฑ์ในการเสียภาษี เขาไม่ได้ดูที่ “เงินเดือน” ว่าได้เท่าไหร่ถึงจะต้องเสียนะครับ เพราะรายได้ที่สรรพากรนำไปพิจารณาว่า คนๆ หนึ่งจะต้องเสียภาษีหรือไม่ เขาเรียกว่าเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

เงินเดือนที่เราได้มาเป็นเพียงแค่ “เงินได้พึงประเมิน” เท่านั้นครับ หลังจากนั้นเราจะต้องเอา ค่าใช้จ่าย  และ ค่าลดหย่อน  มาหักเสียก่อน แล้วถึงจะเหลือเป็น “เงินได้สุทธิ” ที่นำไปใช้ในการคำนวณการเสียภาษี

โดยปัจจุบันคนที่จะต้องเสียภาษี คือ คนที่มีเงินได้สุทธิเกินกว่า 150,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษี 5% ในส่วนที่เกินหลังจากนั้น อัตราภาษีจะสูงขึ้นไปตามเงินได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นครับ ซึ่งอัตราการเสียภาษีแบบนี้เขาเรียกว่าเป็น “อัตราก้าวหน้า” หรือ “ขั้นบันได” หมายความว่า คนมีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าคนที่มีรายได้น้อย

สรุป เราจะพิจารณาแค่เงินเดือน (เงินได้พึงประเมิน) อย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องดูด้วยว่า คนๆ นั้นมีค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนที่สามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้มากน้อยแค่ไหน และเมื่อเอาไปหักลบออกจากเงินได้พึงประเมินแล้ว เรามีเงินได้สุทธิถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี หรือเกิน 150,000 บาทต่อปีแล้วหรือยัง

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราลองคำนวณเงินเดือนขั้นต่ำที่จะเข้าข่ายต้องเสียภาษี โดยสมมุติว่าเรามีเพียงค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนพื้นฐาน ไม่มีการลงทุนใน LTF RMF ซื้อประกัน หรือดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านใด เลย จะพบว่า เราต้องมีเงินเดือนประมาณ 25,833.33 บาทขึ้นไป ถึงจะเข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีครับ

วันนี้ ผมขออธิบายแต่เรื่องเกณฑ์ที่ต้องยื่นแบบฯ และทำความรู้จักกับเงินสุทธิที่ใช้ในการพิจารณาว่าเราต้องเสียภาษีหรือไม่ก่อนนะครับ ส่วนในตอนหน้าผมจะมาอธิบายวิธีการหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง อย่างละเอียดอีกทีครับ

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า