Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มาต่อกันเป็นตอนที่ 2 สำหรับบทความทำความเข้าใจ วิธีการเสียภาษีแบบถูกต้อง และ เข้าใจง่าย  อันดับแรกผมขอทบทวนสมการหลักซึ่งเป็น “หัวใจ” ของการคิดคำนวณภาษีกันก่อน นั่นก็คือ

เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

ถ้าเพื่อน ๆ ยังจำได้จากบทความตอนแรก “เงินได้สุทธิ” นี่เองที่เราจะนำไปคำนวณภาษี ทีนี้เรามาทำความเข้าใจคำศัพท์อื่น ๆ ที่อยู่ในสมการนี้กันครับว่า เงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน คืออะไร แล้วแบบไหนที่เราสามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้

  • เงินได้พึงประเมิน คืออะไร

พูดแบบง่าย ให้คนทั่วไปเข้าใจ “เงินได้พึงประเมิน” คือทรัพย์สิน เงินทอง หรือประโยชน์ใด ที่เราได้รับ และจะต้องนำไปเสียภาษี เช่น เงินเดือน ค่าจ้างรายวัน ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ไม่ว่าเราจะได้รับมาในรูปแบบของเงิน หรือบางทีเราอาจได้รับมาในรูปแบบของสิ่งของ แต่ถ้าของชิ้นนั้น ๆ สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้ ก็ต้องนำมาคิดคำนวณการเสียภาษีครับ

ในทางภาษีเราจะแบ่ง “เงินได้พึงประเมิน” ออกเป็น 8 ประเภท

ถ้าใครเคยได้ยินมาบ้าง เขาจะเรียกสั้น ว่าเงินได้ตาม 40(1) ถึง 40(8) ซึ่งตัวเลข 40 ที่ว่านั้น หมายถึง มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร นั่นเอง และที่เขาต้องแบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ก็เพราะ

หนึ่ง เงินได้พึงประเมินแต่ละประเภท กฎหมายอนุญาตให้หัก ค่าใช้จ่าย ได้ต่างกัน และสอง งินได้พึงประเมินแต่ละประเภท เมื่อนำมาเสียภาษีจะมี แบบฟอร์ม ที่ใช้ยื่นเสียภาษีต่างกัน

  • ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เรานำมาหักภาษีได้

อย่างที่บอกครับว่า เงินได้พึงประเมินแบ่งออกเป็น 8 ประเภท โดยเงินได้แต่ละประเภทกฎหมายอนุญาตให้หักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกันออกไป บางประเภทกฎหมายอนุญาตให้เลือกว่า จะหักตามจริง หรือ อัตราเหมา  แต่บางประเภทกฎหมายกำหนดให้หักได้ในอัตราเหมาเพียงอย่างเดียว แถมยังต้องไม่เกินจำนวนสูงสุดที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ด้วย

ผมขอยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่หักได้ของ “มนุษย์เงินเดือน” ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีแล้วกันนะครับ สมมติว่า นายอดออม พนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือน 30,000 บาท เขาจะหักภาษีได้ ดังนี้

1. นายอดออม มีรายได้ทั้งปี 30,000 บาท x 12 เดือน = 360,000 บาท

2. เนื่องจาก “เงินเดือน” เป็นรายได้ตาม 40(1) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ดังนั้น นายอดออม ต้องนำรายได้ทั้งปีมาคูณ 50% จะได้ 360,000 x 50% = 180,000 บาท

3. ถึงแม้กฎหมายจะบอกว่า หักได้ 50% ก็จริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท หมายความว่า นายอดออม จะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น

  • ค่าลดหย่อนอะไรบ้างที่เรานำมาลดหย่อนภาษีได้

ในส่วนของ “ค่าลดหย่อน” นั้นก็เหมือนกันกับค่าใช้จ่ายครับ ไม่ใช่ว่าเรานึกอยากจะลดหย่อนอะไร ก็สามารถลดหย่อนได้ ค่าลดหย่อนที่เราสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้จะต้องเป็นค่าลดหย่อนที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งค่าลดหย่อนแต่ละประเภทก็มีเงื่อนไขในการลดหย่อนแตกต่างกันออกไป รวมถึงจำนวนที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้ก็ไม่เท่ากันนะครับ

ผมลองจัดกลุ่ม “ค่าลดหย่อน” ออกมาเป็น 4 ประเภทใหญ่ ดังนี้

1. ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้  เป็นค่าลดหย่อนที่ผู้มีเงินได้สามารถนำมาใช้หักลดภาษี หากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าลดหย่อนในการเลี้ยงดูบุตร ค่าลดหย่อนกรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

2. ค่าลดหย่อนจากการออมหรือการลงทุน  เป็นค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ที่ลงทุนหรือออมเงินในประกันชีวิตหรือกองทุนต่าง ตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะสามารถนำเงินที่ลงทุนหรือออมเหล่านั้นมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น ซื้อประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ออมเงินในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เป็นต้น

3. ค่าลดหย่อนกรณีพิเศษจากรัฐ  ค่าลดหย่อนประเภทนี้เกิดจากการที่รัฐบาลสมัยนั้น มีนโยบายพิเศษออกมา ซึ่งไม่แน่ไม่นอน ดังนั้นเราต้องรอติดตามนโยบายพิเศษของรัฐบาลในแต่ละปี เช่น ปี 2562 รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวเมืองรอง จึงกำหนดให้เรานำค่าใช้จ่ายในการเข้าพักโรงแรมในจังหวัดที่กำหนดมาลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น

4. ค่าลดหย่อนจากการบริจาค  ค่าลดหย่อนประเภทสุดท้าย เป็นค่าลดหย่อนที่เกิดจากการที่กฎหมายต้องการตอบแทนคนที่เสียสละ บริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น บริจาคเงินให้วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น โดยผู้ที่บริจาคเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรซึ่งอยู่ในรายชื่อที่กรมสรรพากรประกาศไว้ จะสามารถนำเงินบริจาคมาลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์

เมื่อเพื่อน ๆ รู้จักและเข้าใจคำว่า เงินได้พึงประเมิน ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อนแล้ว หลังจากนี้ก็จะสามารถคำนวณหา “เงินได้สุทธิ” ได้แน่นอน และในตอนหน้าผมจะมาอธิบายว่า เราเอาเงินได้สุทธินั้นไปคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่ายอย่างไร

 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า