Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของบทความ How To เสียภาษี ที่ช่วยทำให้เราเข้าใจวิธีการเสียภาษีกันมากขึ้นแล้วนะครับ ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน 2 ตอนแรก เข้าไปอ่านที่นี่ได้เลย

หลังจากที่เพื่อน เข้าใจคำว่าเงินได้สุทธิต่างจากเงินได้พึงประเมินอย่างไร และคำนวณหาเงินได้สุทธิเป็นแล้ว การเสียภาษีก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป คราวนี้มาดูกันครับว่า เราจะนำเงินได้สุทธิไปคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่ายได้อย่างไร

  • เราต้องเสียภาษีในอัตราไหน

อันดับแรก ต้องเข้าใจก่อนว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของบ้านเราเป็นอัตราก้าวหน้าหรือขั้นบันได” (Progressive Rate) หมายความว่า ยิ่งเรามีเงินได้สุทธิมากขึ้น เราก็จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเป็นลำดับ

การเสียภาษีแบบนี้ เราต้องเอาเงินได้สุทธิมาแยกออกเป็นขั้น ก่อนนำไปคำนวณภาษีในแต่ละขั้น โดยเริ่มจากอัตราภาษีต่ำสุดแล้วไล่ลำดับสูงขึ้นไปเรื่อย ไม่ใช่เอารายได้สุทธิทั้งหมดไปคูณกับอัตราภาษีขั้นสูงเลย  อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงง ๆ เรามาลองดูตาราง “อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” แล้วค่อย ๆ ทำความเข้าใจพร้อมกันครับ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สมมติว่า เรามีเงินได้สุทธิ 400,000 บาท ไม่ได้หมายความว่าเราต้องนำ 400,000 บาท ไปคูณอัตราภาษี 10% แล้วได้เป็น “ภาษี” ที่จะต้องเสียเลยนะครับ แต่เราต้องแยกเงิน 400,000 บาท ออกมาเป็นขั้น แล้วถึงนำไปคูณกับอัตราภาษีในแต่ละขั้น แบบนี้ครับ

  • เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี = 0 บาท
  • เงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 – 300,000 บาท นำไปคูณอัตราภาษี 5% จะเท่ากับ 150,000 x 5% = 7,500 บาท
  • เงินได้สุทธิตั้งแต่ 300,001 – 400,000 บาท นำไปคูณอัตราภาษี 10% จะเท่ากับ 100,000 x 10% = 10,000 บาท
  • ดังนั้น เราจะต้องเสียภาษีรวมทั้งสิ้น 0 + 7,500 + 10,000 = 17,500 บาท

  • ได้ภาษีคืน หรือ ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม คำนวณอย่างไร

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมบางปีเราได้ภาษีคืน หรือ ทำไมบางปีเราต้องเสียภาษีเพิ่ม  ทั้ง ที่ใช้สิทธิลดหย่อนเหมือนเดิม แล้วสรรพากรเขาดูอย่างไรว่าเราควรต้องจ่ายภาษีเพิ่ม หรือเขาควรจะคืนเงินภาษีให้เรา

เรื่องนี้ง่ายมากครับ ความจริงแล้วภาษีที่เราต้องเสียนั้นมีสูตรเดียว คำนวณตามที่ผมอธิบายไปคือหา “เงินได้สุทธิ” แล้วมาคูณกับ “อัตราภาษี” ในแต่ละขั้นออกมา เราจะได้ภาษีสุทธิที่เราต้องเสีย ส่วนที่เราต้อง จ่ายเพิ่ม หรือ ได้คืน  มันอยู่ที่ ภาษีหัก ที่จ่าย”

ภาษีหัก ที่จ่าย เป็นการประเมินอย่างคร่าว ของนายจ้างหรือคนที่จ่ายเงินให้กับเรา ซึ่งเขามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องหักภาษีในทุก ๆ ครั้งที่จ่ายเงินให้กับเรา และนำส่งกรมสรรพากร เช่น ถ้าเรามีเงินเดือน 35,000 บาท บริษัทอาจคำนวณแล้วว่าเราจะต้องเสียภาษีในปีนั้น ประมาณ 6,000 บาท เขาจึงหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินเดือนของเราเดือนละ 500 บาท เพื่อนำส่งสรรพากร

พอถึงสิ้นปี เมื่อเราต้องยื่นแบบเสียภาษี บริษัทก็จะให้ใบรับรองการหักภาษี ที่จ่าย หรือที่ได้ยินกันบ่อย  ว่า ใบทวิ 50″ มาเป็นหลักฐานว่า บริษัทหักภาษีจากรายได้ของเราส่งให้กับกรมสรรพากรไปแล้วกี่บาท

ทีนี้ หากเราคำนวณภาษีที่ต้องเสียในปีนั้นออกมาแล้ว พบว่าจริง เราต้องจ่ายภาษีทั้งสิ้น 7,000 บาท ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องควักเงินอีก 7,000 บาทไปจ่ายนะครับ เพราะอย่าลืมว่าบริษัทเขาหักเงินของเราไปเสียภาษีแล้ว 6,000 บาท นั่นแปลว่า เรามีภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มอีกจริง เพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น

และในทางกลับกัน หากคำนวณภาษีแล้วพบว่าจริง ๆ เรามีภาษีที่จะต้องเสียเพียง 4,000 บาท แบบนี้กรมสรรพากรซึ่งรับเงินภาษีของเราไปแล้ว 6,000 บาท ก็จะต้องคืนส่วนต่าง 2,000 บาทกลับมาให้เรา

  • สรุป 7 ขั้นตอนการเสียภาษี

Step 1  รวบรวมรายได้ของเราที่จะต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น (1 .. – 31 ..) ว่าเรามีรายได้ทั้งหมดเท่าไหร่ เรียกว่า เงินได้พึงประเมิน

Step 2  พิจารณาว่าเงินได้พึงประเมินของเราเป็นเงินได้ประเภทไหน 40(1) – 40(8) เพื่อคำนวณหา ค่าใช้จ่าย” ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้เงินได้ของเราในแต่ละปีอาจจะมีหลายประเภทก็ได้

Step 3  รวบรวม ค่าลดหย่อน ที่เราสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในปีนั้น  ซึ่งดูได้จากเอกสารที่เราใช้สิทธิ์ไป เช่น หนังสือรับรองดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน หนังสือรับรองการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายเงินประกันสังคม หนังสือรับรองการซื้อ LTF RMF เป็นต้น

Step 4  นำเงินได้พึงประเมินมาหักออกด้วย ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน เพื่อหา เงินได้สุทธิ

Step 5  นำเงินได้สุทธิไปเทียบกับตารางอัตราภาษีเงินได้ แล้วคำนวณภาษีที่ต้องเสียในแต่ละขั้น รวมเป็นภาษีทั้งหมดที่จะต้องเสีย

Step 6  เปรียบเทียบระหว่างภาษีที่ต้องเสีย กับ ภาษีหัก ที่จ่าย ซึ่งเราโดนหักไปแล้วในปีภาษีนั้น หากเราโดนภาษีหัก ที่จ่าย มากกว่าภาษีที่ต้องเสีย เราก็สามารถขอคืนภาษีได้ แต่ถ้าเราโดนหักภาษี ที่จ่าย น้อยกว่าภาษีที่ต้องเสีย เราก็จะต้องเสียภาษีเพิ่ม

Step 7  ยื่นแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับสรรพากร โดยเราสามารถยื่นเป็นแบบฟอร์มที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือจะยื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพากรก็ได้ ทั้งนี้เราจะต้องเลือกแบบฟอร์มในการยื่นภาษีให้ถูกต้องตามประเภทเงินได้ของเราด้วย

ผมเชื่อว่าเพื่อน  ที่อ่านบทความ How To เสียภาษี ทั้ง 3 ตอนจบ จะเข้าใจวิธีการเสียภาษีมากขึ้น และรู้ว่าความจริงแล้วการเสียภาษีไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ถ้าอยากรู้ลึกรู้จริงเรื่องการเสียภาษี รวมทั้งอยากประหยัดภาษีให้ได้มากกว่านี้ เอาไว้ผมจะมาเขียนถึงเทคนิคการลดหย่อนภาษีให้ได้อ่านกันนะครับ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า