SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงนี้มีคนบ่นประกันสังคมเยอะ โดยเฉพาะผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ...ประกันสังคม ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทจาก www.เราไม่ทิ้งกัน.com เหมือนกับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 ทั้งที่ทุก ๆ คนก็ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19 เหมือนกัน ทำให้ลูกจ้างในระบบประกันสังคมต่างรู้สึกว่า พวกเขาจะเป็นเด็กดีจ่ายเงินประกันสังคมไปทำไมทุกเดือน เพราะจ่ายแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย

ในส่วนของมาตรการเยียวยาผมก็ไม่ทราบจริง ว่าเขามีเหตุผลกลใด ทำไมคนกลุ่มนี้ถึงไม่ได้รับการเหลียวแล แต่วันนี้ผมจะมาเล่าถึง “สิทธิประโยชน์พื้นฐานของประกันสังคม” ที่เราจ่ายไปทุกเดือนครับว่า เรามีสิทธิจะได้รับอะไรกลับมาบ้าง

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันก่อน คำว่า ประกันสังคม” นั้นคือการที่นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลร่วมกันจ่ายเงินสะสม เพื่อจัดตั้งกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น “หลักประกันของสังคมคนทำงาน” จะว่าไปประกันสังคมก็คล้าย กับสวัสดิการของข้าราชการนั่นแหละครับ เช่น เบิกค่ารักษาพยาบาลเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เกษียณไปก็ได้เงินบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น

พูดง่าย ก็คือประกันสังคมที่เราจ่ายไปนั้น ก็เป็นการจ่ายสะสมไว้เป็นสวัสดิการของตัวเราเอง โดยมีนายจ้างและรัฐบาลช่วยจ่ายเงินสมทบเข้ามาให้ด้วย โดยเงินประกันสังคมที่ลูกจ้าง (ผู้ประกันตนตามมาตรา 33) จ่ายเข้าไปในแต่ละเดือน จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน แล้วประกันสังคมจะนำเงินดังกล่าวไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทน และนำมาจ่ายให้กับสมาชิกตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่าง ที่กำหนดไว้ 7 กรณี ดังนี้ครับ

 

เงินส่วนที่ 1  ลูกจ้างและนายจ้างจะถูกหักเงินสมทบ 1.5% ของเงินเดือนลูกจ้าง โดยคำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดของลูกจ้างไม่เกิน 15,000 บาท หลังจากนั้นรัฐบาลจะจ่ายสมทบเข้าไปให้อีก 1.5% ซึ่งเงินส่วนนี้ลูกจ้างหรือผู้ประกันตนจะสามารถเบิกได้ เมื่อเข้าเงื่อนไข 4 กรณี คือ

1. เจ็บป่วย  ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลตามสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2. คลอดบุตร  ผู้ประกันสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรได้ 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง และผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้เพิ่มเติมอีกด้วย

3. ทุพพลภาพ  ผู้ประกันตนที่สูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกาย หรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง ไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ จะมีสิทธิรับเงินทดแทนการขาดรายได้และค่าบริการทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

4. เสียชีวิต  ทายาทของผู้ประกันตนจะได้รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท และเงินสงเคราะห์กรณีตายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

เงินส่วนที่ 2  ลูกจ้างและนายจ้างจะถูกหักเงินสมทบ 3% ของเงินเดือนลูกจ้าง หลังจากนั้นรัฐบาลจะจ่ายสมทบเข้าไปให้อีก 1% โดยเงินส่วนนี้ลูกจ้างหรือผู้ประกันตนจะสามารถเบิกได้ เมื่อเข้าเงื่อนไข 2 กรณี คือ

1. สงเคราะห์บุตร  ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ สูงสุดไม่เกินคราวละ 3 คน

2. ชราภาพ  ผู้ประกันตนที่อายุ 55 ปีบริบูรณ์และเกษียณอายุจากการทำงาน จะได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

เงินส่วนที่ 3  ลูกจ้างและนายจ้างจะถูกหักเงินสมทบ 0.5% ของเงินเดือนลูกจ้าง หลังจากนั้นรัฐบาลจะจ่ายสมทบเข้าไปให้อีก 0.25% โดยเงินส่วนนี้ลูกจ้างหรือผู้ประกันตนจะสามารถเบิกได้ เมื่อว่างงาน ดังนี้

1. กรณีถูกเลิกจ้าง  จะได้รับเงินทดแทนการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เช่น  ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 12,000 บาท จะได้รับเงินเดือนละ 6,000 บาท

2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา  จะได้รับเงินทดแทนการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 12,000 บาท จะได้รับเงินเดือนละ 3,600 บาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน อันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ ..2563” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันที่ว่างระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565 ให้ได้รับเงินทดแทนเพิ่มขึ้น โดยกรณีที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทนเพิ่มเป็นสูงสุด 200 วัน ในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างเฉลี่ย และกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา จะได้รับเงินทดแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 45 ของค่าจ้างเฉลี่ย แต่ได้รับสูงสุด 90 วันเท่าเดิม

สรุปแล้วประกันสังคมที่เราจ่าย ไปในแต่ละเดือนนั้น เราจะได้รับกลับมาในรูปแบบของสวัสดิการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หากไม่ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกันตนก็จะไม่สามารถขอรับเงินใด จากประกันสังคมได้ครับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า