SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งประเด็นร้อนฉ่าบนโลกออนไลน์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือเรื่องร่าง พ.ร.บ.ภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ หรือ พ.ร.บ.ภาษี e-Service ที่มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่าร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ …) พ.ศ. … (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service)) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติผ่านร่างฯ ไป

ทีนี้หลายคนเลยสงสัยว่า ภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ หรือ ภาษี e-Service คืออะไรกันแน่ เก็บภาษีในอัตราเท่าไหร่ แล้วใครต้องจ่ายบ้าง ที่สำคัญผู้บริโภคอย่างเรา ๆ จะได้รับกระทบด้วยหรือไม่ มาไขข้อข้องใจไปพร้อมกัน

ข้อ 1 ภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างประเทศ คืออะไร

ภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ ไม่ใช่ภาษีประเภทใหม่ที่ภาครัฐกำหนดขึ้นมา หากคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% ที่เราคุ้นเคยกันดี เพียงแต่ว่ากฎหมายปัจจุบันมีช่องโหว่ที่ทำให้กรมสรรพากรของไทยไม่สามารถเก็บภาษีจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิตอลที่อยู่ต่างประเทศได้ ในขณะที่ผู้ให้บริการเหล่านั้นกลับมีรายได้มหาศาลจากลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทย ภาครัฐจึงต้องออกฎหมายฉบับใหม่มาอุดช่องโหว่ดังกล่าว เพื่อให้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการต่างชาติได้

ข้อ 2 ใครต้องเสียภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ และเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่

ผู้ที่จะต้องเสียภาษี คือ ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และไม่ได้เข้ามาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย จะต้องเสียภาษีร้อยละ 7 เท่ากับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามปกติ ตัวอย่างแพลตฟอร์มดิจิตอลที่เข้าข่าย เช่น

  • แพลตฟอร์มดูหนัง ฟังเพลง เช่น Netflix Spotify
  • แพลตฟอร์มเล่นเกม เช่น Steam Playstation Store
  • แพลตฟอร์มนายหน้า เช่น Booking.com
  • สื่อโฆษณา เช่น Facebook YouTube Google Line
  • ตลาดกลางที่จับผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน เช่น Shopee AirBNB
  • บริการ e-commerce เช่น eBay Amazon

ข้อ 3 ภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ จะกระทบถึงผู้บริโภคหรือไม่

กระทบ เพราะถึงแม้ว่าลูกค้าแบบเรา ๆ จะไม่ใช่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีให้กับกรมสรรพากรตามกฎหมายฉบับนี้ แต่โดยปกติผู้ให้บริการมักจะบวก VAT 7% เข้าไปในค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้าอยู่แล้ว แปลว่าสุดท้ายคนที่จะต้องเสียเงินจริง ๆ ก็คือ ลูกค้านั่นเอง

เช่น ปกติเราสมัครบริการดูหนัง ดูซีรีส์ ผ่านแอปพลิเคชั่นเป็นรายเดือน เสียค่าสมาชิกเดือนละ 419 บาท หากประเทศไทยเริ่มจัดเก็บภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ เราอาจต้องเสียค่าบริการรายเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 419 + VAT 7% = 448.33 บาท

ปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศก็มีการเก็บภาษีลักษณะนี้ เช่นที่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย เป็นต้น และเท่าที่ทราบ ผู้ให้บริการก็ผลักภาระภาษีไปให้ผู้ใช้บริการหรือลูกค้าเป็นคนจ่าย

ข้อ 4 ถ้าผู้ประกอบการต่างชาติไม่ยอมเสียภาษี จะเกิดอะไรขึ้น

สรรพากรไทยก็จะใช้มาตรการทางภาษี คือ ขอความร่วมมือจากสรรพากรประเทศอื่น ๆ ให้ช่วยติดตามจัดเก็บภาษีมาให้ เนื่องจากรัฐบาลไทยเพิ่งลงนามใน ความตกลงพหุภาคว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี (Multilateral Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matters) เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 นี้เอง

อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ยังมีข้อสงสัยว่าในทางปฏิบัติ กรมสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่าเจ้าของแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีลูกค้าในประเทศไทยเท่าไหร่กันแน่ หรือความจริงแล้วเขาเสียภาษีมาให้เท่าไหร่ ภาครัฐก็รับไปเท่านั้น

สำหรับประเทศอื่น ๆ บางประเทศมีมาตรการบล็อกไม่ให้คนในประเทศใช้แอปพลิเคชั่นที่ไม่ยอมจ่ายภาษีไปเลย หรือบล็อกไม่ให้มีการจ่ายเงินออกไปให้กับผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศ

ข้อ 5 สรุปแล้วไทยได้ประโยชน์อะไร จากการเก็บภาษีแพลตฟอร์มดิจิตอลต่างชาติ

อันดับแรก ไทยจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาษีที่จัดเก็บได้ ซึ่งกระทรวงการคลังคาดว่าในปีแรกจะเก็บภาษีได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท

อันดับถัดมา คือ การสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการในประเทศ ซึ่งปกติต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว ในขณะที่ผู้ให้บริการต่างชาติกลับไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ถ้าเรามีผู้ให้บริการคล้าย Netflix แต่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย หากไม่มีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา ผู้ให้บริการในประเทศจะต้องเรียกเก็บค่าสมาชิกแพงกว่า Netflix 7% เพราะมีหน้าที่ต้องจ่าย VAT ให้กรมสรรพากร

อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังไม่ได้ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีจากรายได้ของผู้ประกอบการที่ไม่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งแต่ละปีผู้ให้บริการเหล่านี้มีรายได้มหาศาลจากลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทย เรื่องนี้จึงเป็นปัญหาทางภาษีระหว่างประเทศที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมกันในระดับประเทศว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า