SHARE

คัดลอกแล้ว

“ไม่มี มีหนี ไม่จ่าย” เคยเป็นวลีดังสมัยวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 แต่วิกฤติโควิด-19 รอบนี้ ใคร ๆ ก็บอกว่า เรากำลังเผชิญกับวิกฤติที่ใหญ่หลวงยิ่งกว่าวิกฤติเศรษฐกิจครั้งไหน หลายกิจการปิดตัว ลูกจ้างถูกลดเงินเดือนหรือถูกเลิกจ้าง ทำให้คนจำนวนมากขาดรายได้

แม้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจะพยายามออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบปัญหาจากวิกฤตโควิด-19 มาตั้งแต่ช่วงมีนาคม ทว่าปัจจุบันสถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น เพราะสถานการณ์โรคระบาดในต่างประเทศยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงในเร็ววัน

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทยเลยต้องออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 ขยายระยะเวลาช่วยเหลือและทำให้ลูกหนี้รายย่อยมีทางเลือกมากกว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย”

การที่แบงก์ชาติประกาศให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ต้องมี ‘ทางเลือก’ ให้ลูกหนี้ ได้ตัดสินใจเลือกมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของตัวเองนั้นเป็นเรื่องดี แต่คำถามที่ตามมา คือ ลูกหนี้ควรเลือกทางเลือกไหน

วันนี้ผมเลยขออาสาพาผู้อ่านทุกคนไปไขข้อข้องใจ ว่าถ้าเราเป็นลูกหนี้อยู่ ณ ตอนนี้ ควรจะเลือกมาตรการช่วยเหลือแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง โดยในตอนที่ 1 นี้ ผมจะขอพูดถึง หนี้บัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคล ก่อนนะครับ

มาตรการประเภทที่ 1 : ได้รับสิทธินั้นทุกคน

สำหรับมาตรการประเภทที่ 1 ลูกหนี้ทุกคนไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เลย เพราะสถาบันการเงินทุกแห่งจะให้สิทธินี้กับลูกหนี้ทุกคนตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมาตรการช่วยเหลือแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ดังนี้

1) ปรับลดเพดานดอกเบี้ย ร้อยละ 2 – 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการปรับลดเพดานดอกเบี้ยนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 ดังนี้

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

การที่ภาระดอกเบี้ยลดลงจะทำให้เงินต้นหมดเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะการผ่อนหนี้ประเภทนี้เป็นการผ่อนแบบลดต้นลดดอก หมายความว่าแต่ละเดือนเงินที่เราผ่อนไป เงินจะถูกนำไปชำระดอกเบี้ยก่อน แล้วหลังจากนั้นเหลือเท่าไหร่ถึงจะไปชำระเงินต้น

2) เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับลูกหนี้ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และชำระหนี้ดีมาอย่างต่อเนื่อง สามารถขอขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564

เช่น เรามีเดือน 20,000 บาท เดิมจะได้รับวงเงินสูงสุด 1.5 เท่า คือ 30,000 บาท หากเรามีประวัติการชำระดีมาอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถขอให้สถาบันการเงินที่เราเป็นลูกค้าอยู่นั้นขยายวงเงินเพิ่มเป็น 2 เท่าได้ แปลว่าเราจะสามารถใช้วงเงินสูงสุดได้เพิ่มเป็น 40,000 บาท เป็นต้น

มาตรการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการใช้เงินก้อนเพิ่มขึ้น แต่อย่าลืมว่าการที่มีวงเงินเพิ่มขึ้นอาจทำให้เรามีหนี้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นต้องคิดให้ดี ๆ ก่อนที่จะขอขยายวงเงินนะครับ ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจมีปัญหาก่อหนี้เกินตัวตามมาภายหลัง

มาตรการประเภทที่ 2 : ต้องลงทะเบียนเลือกรับสิทธิ

สำหรับมาตรการประเภทที่ 2 ลูกหนี้จะต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิกับสถาบันการเงินที่เรามีภาระหนี้อยู่ ไม่ต้องแย่งกันลงทะเบียนนะครับ เพราะสถาบันการเงินไม่ได้จำกัดจำนวนลูกหนี้ที่จะขอรับสิทธิช่วยเหลือ แต่ลูกหนี้ควรพิจารณาให้ดีก่อนว่า เราควรจะขอใช้มาตรการรูปแบบไหนถึงจะเหมาะกับตัวเองที่สุด

สำหรับลูกหนี้ บัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีวงเงินหมุนเวียน เมื่อพิจารณาจากมาตรการช่วยเหลือทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 รวมกันแล้ว จะมีทางเลือก 3 ทางด้วยกัน คือ

1. ลดอัตราผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำลง

2. พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย 3 – 6 เดือน

3. เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด โดยดอกเบี้ยลดลง

ยกตัวอย่าง นายอดออม เป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวน 100,000 บาท แล้วปรากฎว่า นายอดออม มีปัญหาในการชำระหนี้ เขาจะมีทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 ชำระหนี้ขั้นต่ำลดลง

ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนให้ลูกหนี้สามารถชำระขั้นต่ำลดลงจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ในปี 2563 – 2564 และร้อยละ 8 ในปี 2565 จากนั้นจะกลับมาชำระขั้นต่ำร้อยละ 10 เท่าเดิม ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป

ถ้า นายอดออม เลือกทางเลือกนี้ เขาจะสามารถชำระขั้นต่ำลดลงจากเดือนละ 10,000 บาท เหลือเพียงเดือนละ 5,000 บาท ในปี 2563 – 2564 และชำระขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 8,000 บาท ในปี 2565 ซึ่งวิธีนี้ นายอดออม จะชำระหนี้หมดภายใน 21 งวด และมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระรวมทั้งสิ้น 16,758.07 บาท (อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตร้อยละ 16 ต่อปี)

ข้อดี – ข้อเสีย สำหรับทางเลือกนี้ คือ นายอดออม ไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิจากธนาคารแต่อย่างใด สามารถลดจำนวนการผ่อนชำระขั้นต่ำลงได้ตามเกณฑ์ที่แบงก์ชาติกำหนด โดยจะมีภาระการผ่อนต่อเดือนน้อยลงครึ่งหนึ่งในปี 2563 – 2564 และยังสามารถใช้บัตรเครดิตได้ตามปกติ

ทางเลือกที่ 2 พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย 3 – 6 เดือน

หากเลือกทางเลือกนี้ นายอดออม จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 1,333.33 บาท ในระหว่างที่พักชำระเงินต้น ถ้าธนาคารให้พักชำระเงินต้น 6 เดือน เขาจะต้องเสียดอกเบี้ยจำนวน 1,333.33 x 6 = 8,000 บาท แล้วหลังจากนั้นจะต้องกลับมาชำระเงินต้นคืนทั้งหมด

ข้อดี-ข้อเสีย สำหรับทางเลือกนี้ คือ นายอดออม จะไม่ต้องชำระเงินต้น 6 เดือน แต่ในระหว่างที่ปลอดภาระชำระเงินต้น เขาจะต้องผ่อนดอกเบี้ยไปเรื่อย ๆ และหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาแล้ว นายอดออม จะต้องกลับมาชำระหนี้เต็มจำนวนอยู่ดี ซึ่งเขาอาจจะเลือกชำระหนี้ทั้งก้อนเลย หรือผ่อนชำระตามอัตราขั้นต่ำที่แบงก์ชาติกำหนดก็ได้

ทางเลือกที่ 3 แปลงเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด

ถ้า นายอดออม เลือกแปลงหนี้บัตรเครดิตจำนวน 100,000 บาท ไปเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 48 งวด โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เขาจะต้องผ่อนหนี้เดือนละ 2,633.36 บาท จำนวน 48 งวด ซึ่งวิธีนี้ นายอดออม จะมีภาระดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 26,402.24 บาท

ข้อดี-ข้อเสีย สำหรับทางเลือกนี้ คือ ดูเผิน ๆ เหมือนอัตราดอกเบี้ยจะน้อยที่สุด เพราะเปลี่ยนจากอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตร้อยละ 16 ต่อปี กลายเป็นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลร้อยละ 12 ต่อปี แต่เนื่องจากมีระยะเวลาการผ่อนที่นานขึ้น ทำให้จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนรวมทั้งหมดสูงกว่าทางเลือกอื่น ๆ รวมทั้งลูกหนี้ที่เลือกทางเลือกนี้จะถูกระงับการใช้บัตรเครดิตชั่วคราว จนกว่าจะชำระหนี้ก้อนนี้เสร็จสิ้น แต่ข้อดี คือ ทางเลือกนี้ภาระการผ่อนชำระต่อเดือนจะน้อยที่สุด

ทางเลือกแต่ละทางมีข้อดี – ข้อเสียแตกต่างกัน ลองค่อย ๆ พิจารณาแล้วเลือกมาตรการช่วยเหลือให้เหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินและเงื่อนไขของตัวเองนะครับ สำหรับในตอนถัดไป ผมจะมาวิเคราะห์เจาะลึก ‘ทางเลือก’ สำหรับลูกหนี้บ้านและรถยนต์ ให้ได้อ่านกัน อย่าลืมติดตามนะครับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า