SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผย ผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ทะลุ 2 พันรายเป็นวันที่ 2 เสียชีวิตเพิ่มอีก 8 ราย แจงนายกฯ พร้อมยกระดับมาตรการ แต่ต้องพิจารณารอบคอบ เพราะมีผลกระทบกับประชาชน วอนอย่าปฏิเสธแอดมิท หลังพบ 146 รายติดต่อกลับไม่ได้

วันที่ 24 เม.ย. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,839 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 2,827 ราย และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 12 ราย โดยผู้ติดเชื้อภายในประเทศมาจากระบบบริการ 2,523 ราย และการค้นหาเชิงรุก 304 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน 53,022 ราย ซึ่งกำลังรักษาตัว 22,327 ราย แบ่งเป็นรักษาตัวในโรงพยาบาล 17,924 ราย และรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 4,403 ราย โดยอาการหนัก 418 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 113 ราย และรักษาหายแล้ว 30,566 อย่างไรก็ตาม มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิต 129 ราย ทั้งนี้ ยอดผู้ป่วยสะสมจากการระบาดระลอกใหม่เดือน เม.ย. 2564 ยังคงกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ และนนทบุรี จำนวน 8,242 ราย ภาคกลาง 7,524 ราย ภาคเหนือ 4561 ราย ภาคใต้ 2,016 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,816 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 8 รายนั้น รายที่ 122 เป็นชายไทยอายุ 48 ปี อยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ มีโรคประจำตัวเป็นโรคอ้วน มีปัจจัยเสี่ยงไปยังสถานบันเทิงย่านศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2564 มีอาการไข้ เจ็บคอ ถ่ายเหลว วันที่ 18 เม.ย. 2564 พบเชื้อและปอดอักเสบ จากนั้นวันที่ 22 เม.ย. 2564 เสียชีวิต ส่วนผู้เสียชีวิตรายที่ 123 เป็นหญิงไทย อายุ 83 ปี อยู่ในกรุงเทพฯ มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2564 มีไข้ อ่อนเพลีย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 124 เป็นชายไทยอายุ 89 ปี อยู่ในกรุงเทพฯ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน เป็นผู้ป่วยติดเตียง มะเร็งลำไส้ เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2564 มีอาการไข้ ไอ หายใจลำบาก วันที่ 23 เม.ย. 2564 พบเชื้อ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 125 เป็นชายไทย อายุ 63 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ต่อมามีไข้ และเสียชีวิต สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 126 เป็นชายไทย อายุ 68 ปี อาศัยอยู่ใน จ.ฉะเชิงเทรา มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีปัจจัยเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ส่วนผู้เสียชีวิตรายที่ 127 เป็นหญิงไทย อายุ 82 ปี อยู่ใน จ.สมุทรปราการ มีโรคประจำตัวเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน พบเชื้อและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผู้เสียชีวิตรายที่ 128 เป็นชายไทย อายุ 75 ปี อยู่ที่ จ.นครสวรรค์ มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด ต่อมลูกหมากโต มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน มีอาการไอ เจ็บคอ พบเชื้อและเสียชีวิตในเวลาต่อมา และผู้เสียชีวิตรายที่ 129 เป็นชายไทย อายุ 62 ปี อาศัยที่ จ.นนทบุรี มีโรคประจำตัวเป็นโรคไตวายเรื้อรัง พบประวัติเสียงไปยังสถานบันเทิง ต่อมาพบเชื้อและเสียชีวิต

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค.หารือร่วมกันเพื่อสรุปข้อมูลการติดเชื้อพบว่า สัปดาห์ที่ 16 ตั้งแต่วันที่ 18-23 เม.ย.2564 พบว่า มีคลัสเตอร์ต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น คลัสเตอร์ร้านอาหารที่ จ.สุโขทัย ซึ่งเกิดการติดเชื้อกว่า 21 ราย ติดเชื้อในวงร้านอาหาร 14 ราย และกระจายสู่ครอบครัว ซึ่งเชื่อมโยงมาจากการติดเชื้อในกรุงเทพฯ ทำให้ที่ประชุม ศบค.มีความเป็นห่วงและกังวล ซึ่งจะต้องมีการหาสาเหตุ และต้องดูว่ามาตรการ กิจการ และกิจกรรมนั้นเหมาะสมเพียงใด นอกจากนี้ ศบค.ยังมีข้อสรุปสาเหตุการติดเชื้อ ได้แก่ 1.ติดเชื้อในที่ทำงาน ทั้งในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน 2.การพบปะการรับประทานอาหารร่วมกัน 3.การติดเชื้อในลักษณะครอบครัว 4.ควรให้เว้นระยะห่างหรือการทำกิจกรรมที่เสี่ยง และ5.การมีกิจกรรม กิจการการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ผู้ติดเชื้อให้ไทม์ไลน์ที่คลาดเคลื่อน ทำให้การสอบสวนและการควบคุมโรคนั้นล่าช้าออกไป

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์เตียงพบว่า มีเตียงทั้งหมดทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นห้องความดันลบ หรือประเภทเตียง AIIR ทั้งหมด 704 ห้อง เตียงรวมกลุ่มโดยใช้ห้องความดันลบ 1,688 เตียง ห้องแยก 9,206 เตียง หอผู้ป่วยที่รับเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มโควิด 22,435 เตียง Hospitel 158 เตียง Cohort ICU 6,333 เตียง รวมเตียงทั้งหมด 40,524 เตียง โดยมีการครองเตียง 19,386 โดยคิดเป็นอัตราครองเตียง 47.8 ขณะที่เตียงว่างขณะนี้ 21,138 เตียง โดยเป็นเตียง Cohort ICU ว่าง 3,204 เตียง ส่วนสถานการณ์เตียงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวนเตียงรวมทั้งหมด 16,422 เตียง ครองเตียง 11,075 คิดเป็นอัตราครองเตียง 67.4 และเตียงว่าง 5,347 เตียง แบ่งเป็นเตียงความดันลบว่าง 74 เตียง ห้องความดันลบว่าง 72 เตียง ห้องแยกว่าง 1,317 เตียง Cohort ward ว่าง 670 เตียง Hospitel ว่าง 3,145 เตียง และ Cohort icu ว่าง 69 เตียง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค. ได้กำชับให้แยกให้ชัดเจนว่า แต่ละหน่วยงานมีเตียงรองรับได้จำนวนเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม วันนี้โรงพยาบาลสนามยังสามารถรองรับได้ โดยเฉพาะคนที่อาการไม่มาก จะผลักดันให้ไปโรงพยาบาลสนาม และ  Hospitel

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีหลายเคสที่เริ่มแรกมีอาการระดับสีเขียว แต่ต้องรอเตียงนานจนทำให้อาการหนักขึ้นจนบางรายเสียชีวิต นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า ตอนนี้ผู้รอเตียงหรือรอเข้ารับการรักษาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลทั้งหมด 2,013 ราย เพิ่มมา 590 ราย ซึ่งเมื่อวานนี้ (23 เม.ย.) ได้รับผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลแล้ว 724 ราย และวันนี้จะจัดการกับ 2,013 รายที่ยังรอเตียงอยู่ ขอให้รอรับโทรศัพท์ได้เลย ทั้งนี้ หากอาการไม่รุนแรงจะส่งไปโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ที่จัดไว้ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 4 แห่ง แต่ถ้าอาการรุนแรง ก็ส่งเข้าโรงพยาบาลต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนรอรับสาย เพราะสิ่งที่ไม่สบายใจคือ ได้รับรายงานว่า มีหลายสายที่ปฏิเสธการแอดมิท และติดต่อกลับไปไม่ได้ มีกว่า 146 สาย ซึ่ง ศบค.ไม่สบายใจ ทุกคนต้องรออยู่ที่บ้าน ขอความร่วมมือและไม่ปฏิเสธการเข้ามาแอดมิท

ส่วนจะมีการปรับเพิ่มมาตรการเข้มข้นขึ้นหรือไม่ ภายหลังจากที่หลายฝ่ายมีความกังวลตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น  นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีติดตามและรับทราบข้อมูลอย่างใกล้ชิด ทั้งจากการรายงานโดยตรง และจากการประชุม โดยนายกรัฐมนตรีระบุว่า พร้อมยกระดับในการดูแลประชาชนในภาพรวม แต่สิ่งสำคัญวันนี้ข้อมูลต้องมีการวิเคราะห์แยกแยะเป็นกลุ่มพื้นที่ให้ชัดเจน รวมทั้งกิจการและกิจกรรมที่เป็นปัญหาจะถูกเพ่งเล็ง จะจัดการอย่างไร ทุกอย่างเป็นมาตรการที่ละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และวันนี้ยังอยู่ในช่วงสองสัปดาห์ ซึ่งย้ำว่า การยกระดับมาตรการเป็นเรื่องสำคัญ เพราะมีผลกระทบกับประชาชน ดังนั้น การยกระดับจะดูเป็นพื้นที่เพื่อไม่ให้กระทบประชาชน ขอรอเวลาอีกระยะ ขณะนี้ทีมยุทธศาสตร์กำลังพิจารณาอย่างละเอียด และจะเสนอมาตรการออกมาในเร็วๆ นี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า