SHARE

คัดลอกแล้ว

หนี้ครัวเรือนไทยแตะ 14.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น 89.3% ของ GDP หนี้ครัวเรือนไทยสูงที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา สูงกว่าระดับก่อนโควิดอย่างมีนัยสำคัญ คาดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะขยายตัวเพิ่มได้อีก กลุ่ม ‘ผู้มีรายได้น้อย’ กำลังเจอปัญหาหนัก

1) รายงานจาก SCBEIC ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยตอนนี้สูงที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยในไตรมาส 2/2021 อยู่ในระดับ 14.3 ล้านล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า

2) ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ปรับลดลงมาเล็กน้อยมาอยู่ในระดับ 89.3% จาก 90.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ตาม GDP ที่กลับมาขยายตัวจากฐานต่ำปีก่อนหน้า แต่ยังสูงกว่า ‘ระดับก่อนโควิด’ อย่างมีนัยสำคัญและสูงที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

3) โดยรายงานระบุว่า การขยายตัวของหนี้ครัวเรือนในไตรมาสที่ 2 นำโดยสินเชื่อบุคคลเป็นหลัก เนื่องจากครัวเรือนยังต้องการสินเชื่อมาทดแทนสภาพคล่องที่ลดลงจากเศรษฐกิจที่ซบเซา

4) พร้อมทั้งประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยอาจกลับมาสูงขึ้นได้อีกในปีนี้ ภายใต้สมมติฐานการเติบโต Real GDP ปี 2021 ที่ 0.7% คาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นปี 2021 จะอยู่ในช่วง 90-92%

5) โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 เกิดขึ้นมากและมีมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลต่อเศรษฐกิจเพิ่มเติม ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะกลับมาปรับสูงขึ้นอีกครั้ง และอาจปรับเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีก หากการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวรวดเร็ว ในขณะที่เศรษฐกิจหดตัว

6) สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและฐานะการเงินของภาคครัวเรือนและเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะในกลุ่ม ‘ผู้มีรายได้น้อย’ ที่มีหนี้
จากผลสำรวจผู้บริโภคของ SCBEIC พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ ‘ส่วนใหญ่’ กำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้และมากกว่า 1 ใน 4 ของคนกลุ่มนี้มี ‘ปัญหาหนัก’

7) แม้ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดจะเริ่มคลี่คลายนำไปสู่การทยอยเปิดเมือง และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ภาวะหนี้สูงของภาคครัวเรือนไทยน่าจะยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไขไปอีกหลายปี

8 ) สุดท้าย SCBEIC คาดว่า ครัวเรือนที่มีหนี้สูงจะเข้าสู่ช่วงของการปรับตัวเพื่อลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (deleverage) ในระยะต่อไป

โดยสิ่งจำเป็นในช่วงต่อจากนี้เพื่อปรับลดหนี้ครัวเรือนและลดความเสี่ยงต่อการเศรษฐกิจในภาพรวม คือ
มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อย่างการปรับโครงสร้างหนี้และการเยียวยาด้านรายได้จากผลกระทบของมาตรการปิดเมือง ควบคู่กับการสนับสนุนการเพิ่มรายได้ในอนาคตผ่านมาตรการ สนับสนุนการจ้างงานและการปรับทักษะแรงงาน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า