Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทิศทางของ SCG เป็นอย่างไรในสถานการณ์ที่โควิดยังไม่จบและยังต้องพบกับความท้าทายในการทำงาน เทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวข้องอย่างไรกับ ‘สิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล’ ที่ SCG เชื่อว่าจำเป็นสำหรับความท้าทายยุคโควิด

โควิดยังไม่จบ ความท้าทายยังคงอยู่

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG เปิดเผยทิศทางการดำเนินธุรกิจเอสซีจี ประจำปี 2564 ว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงดำเนินอยู่และธุรกิจต่างๆ ยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่อเนื่อง

ทุกธุรกิจล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยบางธุรกิจได้รับผลกระทบโดยตรง บางธุรกิจได้โชคดีได้รับผลกระทบน้อยกว่า หรือบางธุรกิจกลับไปได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น ช่วงโควิด-19 จึงทำให้เราเห็นถึงความต้องการพื้นฐานจริงๆ ของผู้บริโภค เหมือนอย่างที่เราเห็นว่าธุรกิจฟู๊ดเดลิเวอรี่ได้รับความนิยม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ หรือเกี่ยวข้องกับความสะอาดได้รับความนิยม

ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ฉีควัคซีนต้านโควิด-19 ไปแล้วกว่า 140-150 ล้านคน ตั้งแต่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ทำให้โลกของเรามีผู้ได้รับวัคซีนมากกว่าผู้ติดเชื้อแล้ว หมุดหมายต่อไปคือเมื่อไรที่จะมีผู้ได้รับการฉีควัคซีนถึง 1 พันล้านคนหรือ 15% ของประชากรโลก แม้ว่าหลายคนอาจจะประเมินว่าเราจะต้องใช้เวลาหลายปีในการข้ามผ่านสถานการณ์นี้ แต่อย่างน้อยๆ ตอนนี้เราเริ่มเห็นรูปแบบและเห็นจุดต่ำสุดของการระบาดแล้ว

สิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล เทรนด์ธุรกิจยุคใหม่

หัวใจของการก้าวข้ามสถานการณ์นี้อย่างที่ SCG ทำได้ในช่วงที่ผ่านมาคือ ธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจในระยะยาว ในส่วนของ SCG โชคดีที่รูปแบบการวางแผนธุรกิจมีการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เกินคาดอยู่ตลอดเวลา แม้โควิด-19 จะเกินคาดไปอีกขั้น แต่ว่าบริษัทฯ ก็ยังสามารถปรับตัวรับได้ทันเวลา

“ธุรกิจหลักของ SCG ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลักอย่างซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง, เคมิคอลส์ และแพคเกจจิ้ง โดยทั้งสามตลาดมีคู่แข่ง ลูกค้า แนวโน้มตลาดและวิธีการทำธุรกิจแตกต่างกัน แต่สิ่งที่สามารถแชร์กันได้และน่าจะเป็นส่วนสำคัญของโลกธุรกิจในอนาคตคือ ESG ที่ย่อมาจาก Environment หรือสิ่งแวดล้อม Social หรือสังคม และ Governance หรือธรรมาภิบาล”

ตอนนี้ ESG เริ่มเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากนักลงทุนสถาบันและส่วนบุคคล เนื่องจากหนึ่งในหลักการลงทุนให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีคะแนน ESG ดีกว่าบริษัทอื่นๆ แม้จะเกิดสถานการณ์โควิด-19 ขึ้น เทรนด์นี้ก็ยังได้รับความสำคัญในแง่ของทั้งเป้าหมายและแนวทาง ธุรกิจใดที่ยังไม่ได้ลงมาทำสิ่งนี้อาจจะลำบากและออกห่างจากการลงทุน

รุ่งโรจน์ อธิบายว่า SCG เริ่มดำเนินการไปแล้วในหลายส่วน ในส่วนของเคมีภัณฑ์ SCG อยู่ระหว่างการพัฒนาให้ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม หันมาใช้พลังงานอื่นๆ อย่างแสงอาทิตย์และเร่งพัฒนาโซลาเซลล์ นอกจากนั้น ยังเร่งพัฒนาสินค้าให้มีความปลอดภัยตอบโจทย์สังคม รวมถึงเรื่องน้ำและการหมุนเวียนน้ำที่บริษัททำมาอย่างต่อเนื่อง

โควิด-19 ยังกระทบธุรกิจปี 64

ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ความต้องการผู้บริโภคในสินค้ากลุ่มแพคเกจจิ้งของ SCG เติบโตขึ้น แต่ส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากการก่อสร้างหยุดชะงักจากกำลังซื้อที่หายไปและนักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได ตอนนี้ธุรกิจกลุ่มนี้จึงพึ่งพาการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเป็นหลัก ดังนั้น สินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างจึงต้องเน้นสร้างความสะดวกให้กับการอยู่อาศัยมากขึ้นให้ได้

ในขณะที่สินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความสะอาด การดูแลสุขภาพ หน้ากากอนามัยก็ยังสามารถไปต่อไปได้ เช่นเดียวกับกลุ่มธุรกิจนี้ที่เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนั้น การลงทุนก็จะต้องตอบโจทย์ในแง่การลงทุนในนวัตกรรมสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง (High Value Added Products & Services) ที่ตอนนี้บริษัทมีอยู่ราว 30% และต้องการขยับไปเป็น 40% ด้วย 

ความท้าทายในการเข้าถึงวัคซีน

ในแง่การลงทุนในตลาดต่างชาติเชื่อว่าตลาดอาเซียนยังมีประสิทธิภาพ โดยในเวียดนามก็เข้าไปลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมีกว่า 70% แล้ว อีก 1-2 ปีจะเพิ่มการลงทุนอีกในการเข้าไปสู่ตลาดใหม่ๆ หรือนวัตกรรมและอีกส่วนหนึ่งจะปรับเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) 

นอกจากเวียดนามเอง SCG ยังมีการลงทุนในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่เชื่อว่ายังมีศักยภาพไปได้อยู โดยมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขด้วย ส่วนสถานการณ์ในเมียนมา SCG คงไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับการเมืองได้ แต่เราสนใจความปลอดภัยของพนักงานราว 2,000 กว่าคนที่ส่วนใหญ่มีสัญชาติเมียนมาจึงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดให้พนักงานทำงานได้อย่างสะดวกใจมากที่สุด

“ส่วนตลาดไทยตอนนี้สถานการณ์ภาคส่งออกยังไปได้ ภาคการบริโภคในประเทศยังไปได้ เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าโควิด-19 จะต้องไม่รุนแรง ถ้าหากรุนแรงอีกเมื่อไรอัตราการอุปโภคบริโภคก็จะลดลง ส่วนภาคการท่องเที่ยวกับภาคบริการยังคงได้รับผลกระทบหนัก จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถกลับเข้ามาได้ ให้คนไทยออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศก่อนก็ยังดี เป็นความท้าทายในการเข้าถึงวัคซีนให้รวดเร็ว ปลอดภัย และทั่วถึง”

“ทั้งไทยและโลกโควิดรุนแรงอย่างมาก ไม่เห็นว่าผลกระทบจะยาวนานขนาดไหน แม้จะเริ่มเห็นทางออก แต่ว่าก็ยังไม่สามารถกะเกณฑ์เวลาที่แน่นอน คว้าโอกาสทางธุรกิจและพยายามหาทางให้ทำได้ในระยะยาว วิกฤตคือโอกาส คนที่อยู่ได้คือคนที่สามารถใช้วิกฤตเป็นโอกาสในการปรับตัวได้ โดยปัจจัยของความสำเร็จสำคัญคือ หนึ่ง เข้าใจผู้บริโภค สอง มีความพร้อมในการปรับตัว และสาม การทำงานอย่างรวดเร็ว”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า