Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“ใครๆ ก็อยากอยู่บ้าน แต่อยู่บ้านแล้วมันไม่มีงานให้ทำ” คือ ประโยคที่ช่วงหลังเรามักได้ยินแว่วๆ ผ่านหูมาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเหล่าคนรุ่นใหม่ ผู้แลกเปลี่ยนเรื่องราวของตัวเองบนโลกอินเทอร์เน็ต และเรื่องราวทำนองนี้เป็นเรื่องราวที่เด็กเข้าใจ ผู้ใหญ่ยอมรับว่าจริงในสังคมไทย ดังนั้น เรื่องราวของ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ จึงให้แรงใจกับเราและเราหวังว่าเรื่องราวของเขาจะพอให้แรงใจกับพวกเราไม่ใครก็ใครที่อยากจะกลับบ้านไปทำสิ่งที่รัก 

ถ้าถามว่าแล้ว ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ เป็นใคร เราคงต้องเริ่มเล่าจากจังหวัดบ้านเกิดของเขาอย่าง ‘สตูล’ ก่อน

จังหวัด ‘สตูล’ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ติดกับจังหวัดตรังทางด้านเหนือและจังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และฝั่งหนึ่งยังติดกับรัฐปะลิสของประเทศมาเลเซียด้วย

โดย ‘สตูล’ มีพื้นที่รวมราว 2,478,997 ตารางกิโลเมตร โดยมีทิวเขาและที่ราบขนาดไม่ใหญ่ขนานไปกับชายฝั่งทะเล ต่อจากที่ราบจึงจะเป็นป่าชายเลนและน้ำเค็มที่มีป่าแสมและป่าโกงกาง

ดังนั้น รายได้ของประชากรส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับผลผลิตทางการเกษตรและการค้า อาชีพหลักของคนในพื้นที่ คือ สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน นาข้าว และสวนผลไม้ โดยยังมีพื้นที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่าง ‘หลีเป๊ะ’ อันโด่งดัง

ส่วน ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ ของเราก็คือลูกหลานชาวประมงจาก ‘ชุมชนบ้านหลอมปืน’ ตำบลและอำเภอละงู จังหวัดสตูล ที่เกิดและเติบโตมากใกล้กับอ่าวทุ้งนุ้ย จังหวัดสตูล 

ปัจจุบันเขามีอายุ 40 ปี เลือกตัดสินใจจะทำงานในบ้านเกิด ด้วยเป้าหมายอยากให้ชุมชนบ้านหลอมปืนเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ ให้เด็กๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่กล้าบ้าน และมีทางเลือกในการทำงานใกล้บ้าน ไม่ใช่รอนแรมออกไปไกลบ้าน เพื่อหางานที่มีรายได้เพียงพอต่อการใช้ชีวิต

[ เส้นทาง ‘ต้นกลาเป็ด’ สายเลือดนักอนุรักษ์สู่ท่องเที่ยวชุมชน ]

ย้อนกลับไป ‘เป็ด’ เติบโตมากับ ‘พ่อ’ อย่าง ‘อารีย์ ติงหวัง’ ผู้ริเริ่มปลูกป่าโกงกางบริเวณชายเลน หลังเหตุการณ์สึนามิปี 2547 ที่ได้พัดพาเอาความอุดมสมบูรณ์บริเวณชายฝั่งหายไปในท้องทะเล หลายสิบปีผ่านไป ณ จุดที่พ่อของเป็ดเริ่มต้นปลูกป่าโกงกางกลายเป็นป่าชายเลนที่อัดแน่นด้วยพันธุ์พืชไม้ธรรมชาติและความหลากหลายของระบบนิเวศน์

ตอนที่ไม่มีใครสนใจจะปลูกป่า พ่อของเป็ดก็ยังทำอย่างเต็มที่และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เป็ดเลือกเดินตามรอยพ่อ ทำงานด้าน ‘อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ’ โดยเขาเริ่มต้นจากงานเล็กๆ อย่างเก็บและแยกขยะบริเวณชายหาดและป่า 

ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดตรังและประจวบหลายปี ก่อนชีวิตเขาจะพลิกผันตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลแม่ที่กำลังป่วยและครอบครัว

หลังกลับบ้านมาแล้วเขาก็หันมาทำงานทางด้าน ‘ชุมชน’ โดยเลือกพัฒนาชุมชนให้กลายเป็น ‘แหล่งท่องเที่ยว’ โดยปัจจุบันทำดำรงตำแหน่งเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน

คำถามของหลายคน คือ ‘ชุมชนบ้านหลอมปืน’ มีอะไรน่าท่องเที่ยวและจะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่พื้นที่ได้อย่างไร คำตอบ คือ หลักฐานที่สามารถเห็นได้ด้วยตาจริงที่ ‘เป็ด’ นำเราไปพิสูจน์

[ บ้านหลอมปืน คือ แหล่งท่องเที่ยววิถีที่มอบความอบอุ่นใจ ]

แม้ว่าเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืนจะมีเส้นทางให้เลือกถึง 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางธรรมชาติทะเลชายฝั่ง ป่าชายเลน เส้นทางในชุมชน  เส้นทางธรณีโลกสตูล และเส้นทางท่องเที่ยวทางทะเล ที่มาพร้อมด้วยบริการอาหารกลางวันและอาหารว่างตามฤดูกาลที่เป็นอาหารพื้นบ้าน รวมถึงการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน

แต่ถ้าถามถึงไฮไลท์สำคัญก็จะเป็นที่ไหนไปไม่ได้ นอกจากสถานที่และกิจกรรมที่เรากำลังจะเล่าให้ทุกคนฟังต่อจากนี้

‘แหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศน์ ชุมชนบ้านหลอมปืน’ เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญต่อชุมชนบ้านหลอมปืน พอๆ กับที่สำคัญต่อ ‘เป็ด’ เพราะว่าป่าชายเลนขนาด 85 ไร่ คือ น้ำพักน้ำแรงของพ่อของเป็ดและชาวชุมชนบ้านหลอมปืนที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือจนป่าชายเลนแห่งนี้มีนิเวศน์ที่สมบูรณ์และสามารถเป็นต้นแบบการเรียนรู้ให้กับคนอื่นได้

‘อ่าวทุ่งนุ้ย’ คือสถานที่ที่เราจะได้เห็น ‘วิถี’ ของคนบ้านหลอมปืนอย่างแท้จริง ผ่านการพากเรือนคายักจากฟากฝั่งผืนป่าชายเลนสู่ท้องทะเลทุ่งนุ้ย ได้เห็นวิถีการจับปลาแบบประมงท้องถิ่นของชาวประมงท้องถิ่น

‘ปันหยาบาติก’ ผู้ผลิตผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากดินเทอร์ราโรซาแห่งเขตพื้นที่อุทยานธรณีโลก จังหวัดสตูล จะทำให้เราได้สัมผัสกับเสน่ห์แห่งการทำมือทุกชิ้น ความประณีตบรรจงและเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านภาพวาดบนผืนผ้า และที่นี่ คือ อีกที่ที่คนรุ่นใหม่สามารถกลับมาเรียนรู้ สร้างอาชีพให้ตัวเองด้วย

‘สะพานข้ามกาลเวลา-เกาะลิดี แห่งอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา’ หลายคนอาจไม่รู้ว่าสะพานยาวที่ทอดอยู่ใกล้ทะเลที่โด่งดังใน TikTok คือ ‘สะพานข้ามกาลเวลา’ แห่งนี้ที่เปิดเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติริมทะเลให้กับนักท่องเที่ยว ได้ชมรอยสัมผัสของหิน 2 ยุคที่มีอายุหลายล้านปี

ขณะที่ ‘เกาะลิดี’ คือ เกาะคู่แฝดที่มีธรรมชาติสมบูรณ์มากๆ แห่งหนึ่ง ครบพร้อมทั้งทะเล ภูเขา ป่าชายเลน และยังมีอีกไฮไลท์ คือ เต็มไปด้วยนกนางแอ่น โดยมีกิจกรรมพิเศษอย่างการพายเรือคายักชมวิถีชีวิตชาวบ้าน แม้ว่าลิดีจะได้สวยในสายตาใครๆ แต่ลิดีกลับอบอุ่มและสามารถสะท้อนตัวตนและวิถีได้เป็นอย่างดี

เรียกว่ากลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืนสามารถมอบประสบการณ์อันเต็มอิ่มและอบอุ่นใจให้กับผู้แวะมาเที่ยวชม ไม่แพ้กับ ‘เป็ด’ หรือ ‘ต้นกล้าเป็ด’ ที่ถูกเรียกว่า “ต้นกล้า” เพราะผู้ผ่านการผลักดันต้นกล้าชุมชนกับมูลนิธิ SCG ล้วนกลายเป็นผู้นำที่จะสร้างการผลิดอกออกผลให้กับบ้านของพวกเขาต่อไป

[ มูลนิธิ SCG ผู้สนับสนุนต้นกล้า ‘เป็ด’  ]

‘สุวิมล จิวาลักษณ์’ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี  อธิบายว่า แนวคิดที่มูลนิธิพยายามผลักดัน คือ ‘Learn to Earn’ หรือเรียนรู้เพื่ออยู่รอด เพราะปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา จนทำให้เราต้องเรียนรู้ให้เท่าทันโลก เพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่รอดและพาชุมชนอยู่รอดไปด้วย

“เรื่องราวของเป็ดคือหนึ่งตัวอย่างและต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด เพราะเป็ดสามารถพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จนสามารถทำให้สมาชิกชุมชนทุกช่วงวัย มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวให้อยู่รอดได้ 

ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่ต้องเสาะแสวงหาทางเข้ามาหางานทำในเขตเมือง แต่หันมาใส่ใจให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่บ้านเกิดและพัฒนาทักษะ ความรู้ ความชำนาญ ที่มีอยู่ ด้วยความหวังที่จะพัฒนาบ้านเกิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ทุกคนในชุมชน”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า