SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาเรื่องน้ำเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนท้องถิ่นในหลายพื้นที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาน้ำขาด น้ำแล้ง และน้ำไม่พอใช้อยู่เป็นประจำ ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบของคนในชุมชน ดังนั้นการทำให้คนในชุมชนมีความรู้ในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤติน้ำต่าง ๆ ได้

หลังจากที่เล็งเห็นถึงประเด็นสำคัญข้างต้น เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC จึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สั่งสมมากว่า 10 ปีเกี่ยวกับการจัดการน้ำเพื่อท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในชุมชนบ้านมาบจันทร์ให้แก่ผู้ที่สนใจทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยรู้จักการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ อันนำมาซึ่งความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการจัดการน้ำเพื่อชุมชน

ถอดบทเรียนวิกฤติน้ำจาก ‘ชุมชนคนน้ำดี’ จากพื้นที่แห้งแล้งสู่ต้นแบบของการบริหารจัดการน้ำ

ชุมชนบ้านมาบจันทร์ หนึ่งในชุมชนรอบเขายายดา ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณอำเภอเมือง และอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ซึ่งกินพื้นที่กว่า 28,937 ไร่ และเป็นพื้นที่ตั้งของหมู่บ้านราว 10 หมู่บ้าน ปัจจุบันชุมชนแห่งนี้ถือเป็นชุมชนที่ได้ถือครองพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และความเขียวขจีจากต้นไม้ที่ปกคลุมไปสุดสายตา สอดประสานไปกับแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ในทุกพื้นที่ และดูเหมือนกับว่าความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินี้ไม่เคยขาดหายไปจากพื้นที่นี้เลย

แต่หากย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ชุมชนแห่งนี้กลับมีสภาพแวดล้อมและทรัพยากรน้ำที่แตกต่างจากปัจจุบันโดยสิ้นเชิง ในอดีตพื้นที่บริเวณชุมชนรอบเขายายดาเคยประสบกับปัญหาน้ำที่รุมเร้า และยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน อันเป็นผลมาจากการทำสัมปทานป่าไม้ ปัญหาไฟป่า การปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ส่งผลให้ระบบนิเวศของป่าเสื่อมโทรม ดินไม่สามารถดูดซับกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในการเพาะปลูกและบริโภคได้

ซึ่งสร้างความเดือดร้อนโดยตรงต่อคนในชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจและวิถีชีวิต เนื่องจากพื้นที่บริเวณเขายายดาเป็นแหล่งพื้นที่ปลูกผลไม้ขนาดใหญ่ของประเทศ เมื่อขาดแคลนน้ำสำหรับการเพาะปลูก ชาวบ้านจึงขาดรายได้หลักที่นำมาหล่อเลี้ยงชีวิต และทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย

“เมื่อสิบกว่าปีก่อนที่นี่ไม่ได้อุดมสมบูรณ์แบบนี้เลย ที่นี่แทบจะเป็นเขาหัวโล้น เพราะเกิดจากการบุกรุกที่ป่า และเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ สัตว์ป่าก็หนีกันไปหมด ทำให้ที่นี่เกิดปัญหาภัยแล้งซ้ำซากเป็นเวลาหลายปี พอฝนตกก็ไม่มีต้นไม้คอยดูดซับ ทำให้หน้าดินพังทลาย กักเก็บน้ำไม่ได้ เพาะปลูกไม่ได้ และต้องซื้อน้ำจากที่อื่นมาใช้ เราเคยรวมตัวกันหาวิธีจัดการหาน้ำ แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะเราไม่มีความรู้” คำบอกเล่าของผู้ใหญ่วันดี อินทรพรม

ภายหลังได้รับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการสร้างฝายชะลอน้ำที่ประสบความสำเร็จของ SCG ในพื้นที่จังหวัดลำปาง และทนเห็นความทุกข์ยากของคนในชุมชนมาอย่างยาวนาน ผู้ใหญ่วันดี อินทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยองจึงได้ตัดสินใจติดต่อไปยัง เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC เพื่อขอคำปรึกษาสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น

เมื่อ SCGC ได้รับฟังปัญหาของชาวบ้านในชุมชน จึงตอบรับเป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงในการพลิกฟื้นชุมชนรอบเขายายดา และได้เข้ามาทำงานร่วมกันกับชาวบ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกว.) เข้ามาร่วมนำงานวิจัยท้องถิ่นประยุกต์ต่อยอดกับความรู้ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม พร้อมนำประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้งหมดกว่า 10 ปี ร่วมถ่ายทอดถอดบทเรียนสู่องค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำด้วยตนเองอย่างยั่งยืนฉบับชุมชน และเกิดเป็นแนวคิด ‘เก็บน้ำดี มีน้ำใช้’ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บขึ้น เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง สร้างระบบการจัดการน้ำในชุมชนอย่างยั่งยืน

“โมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ”

‘สร้างคน’

การสร้างแรกคือ การสร้างคนให้มีความรู้สู่นักวิจัยท้องถิ่น โดยรวบรวมคนในชุมชนมาเป็นนักวิจัยท้องถิ่น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำในชุมชน และร่วมหาวิธีเก็บน้ำร่วมกัน โดย SCGC จะเป็นที่ปรึกษา และแนะนำให้อาสาสมัครเป็นผู้กระจายความรู้ในการจัดการน้ำที่ถูกต้องสู่คนในชุมชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ และทำให้ชุมชนมีน้ำใช้ได้อย่างยั่งยืน

‘สร้างกติกา’

ลำดับต่อไปคือ สร้างกติกาในการใช้น้ำ เพื่อทำให้การใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันในชุมชนเป็นไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเกิดขึ้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำตลอดทั้งปี และนำไปออกแบบกฎในการใช้น้ำของคนในชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างพอเพียง

‘เก็บข้อมูล’

นักวิจัยท้องถิ่นจะเก็บข้อมูล บันทึกสถิติเกี่ยวกับน้ำ โดยจะจัดเก็บข้อมูลค่าความชื้น ปริมาณน้ำฝนด้วยอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน และสำรวจพื้นที่จัดทำผังน้ำ เพื่อนำไปคำนวณปริมาณน้ำที่มีในชุมชน สำหรับการออกแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

‘เก็บน้ำ’

สุดท้ายคือ การกักเก็บน้ำในชุมชนอย่างยั่งยืน SCGC และคนในชุมชนเห็นตรงกันว่า สำหรับพื้นที่ในชุมชนรอบเขายายดาจำเป็นต้องหาทางเก็บน้ำฝนให้ได้มากที่สุด ด้วยการเพิ่มการดูดซับน้ำฝน ลดน้ำผิวดิน ชะลอการไหลของน้ำ โดยเริ่มจากการฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยการปลูกป่า 5 ระดับ และสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อชะลอน้ำฝนให้ดินซึมซับน้ำ และเก็บน้ำจากเขา การสร้างทำนบชะลอน้ำสำหรับพื้นที่การเกษตรที่ติดลำคลองตอนล่าง

รวมถึงการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ด้วยการขุดหลุมเพื่อกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาเป็นน้ำหลากในระดับผิวดินช่วงฤดูฝนไว้ในใต้ดิน เป็นการเติมระบบน้ำใต้ผืนดินตามพื้นที่บ้านเรือนหรือสวนของชุมชน ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นต่อหน้าดิน ประหยัดน้ำในการรดน้ำต้นไม้บริเวณใกล้เคียง ลดน้ำท่วมขังได้ในช่วงหน้าฝน และสามารถกักน้ำส่วนเกินดังกล่าวให้มาเป็นความชุ่มชื้นในหน้าแล้ง อีกทั้งชุมชนยังสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่รอบ ๆ ผิวดินของธนาคารน้ำได้ปกติ โดยไม่จำเป็นต้องเสียพื้นที่เพื่อทำจุดกักเก็บแหล่งน้ำเพียงอย่างเดียวด้วย

10 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงจากวิกฤติเป็นโอกาส

ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ SCGC และชาวมาบจันทร์ได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการจัดการน้ำเพื่อชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ชุมชนกลับมามีน้ำ มีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดผลดีมากมายเช่น อากาศ น้ำ และป่าไม้อุดมสมบูรณ์ขึ้น และกลายมาเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิต และพืชพันธุ์ต่าง ๆ อีกครั้ง รวมถึงยังทำให้เกษตรกรมีน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูกด้วย

อีกทั้งยังก่อให้เกิดเป็นโครงการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวที่พร้อมรับนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสกับความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ชอปปิงผลิตภัณฑ์ชุมชน และร่วมทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ต่าง ๆ เพื่อส่งต่อแนวคิดการบริหารจัดการน้ำท้องถิ่นอย่างยั่งยืนกับผู้มาเยือน
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะทำให้ชุมชนเขายายดาเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

“หลังจาก SCGC ได้เข้ามาจัดทำโครงการต่าง ๆ ทำให้ในช่วงหลัง เราไม่ขาดแคลนน้ำ เรามีน้ำใช้ในการทำการเกษตรทั้งปี สร้างผลผลิตและเศรษฐกิจที่ดีอย่างมาก ทำให้ทั้งตัวเราและชุมชนอยู่ได้” จรูญ สุทัดสันต์ เจ้าของสวนทุเรียนในชุมชนรอบเขายายดากล่าว

สุดท้ายนี้ SCGC ได้ชวนให้ทุกท่านติดตาม VDO Series ‘เก็บน้ำดี มีน้ำใช้’ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ โดย National Geographic Thailand ที่บอกเล่าเรื่องราว รวมถึงส่งต่อองค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำชุมชนกว่า 10 ปี จนช่วยพลิกฟื้นบ้านมาบจันทร์ ชุมชนรอบเขายายดา จ.ระยอง จากพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ผืนป่าขาดความอุดมสมบูรณ์ สู่พื้นที่แหล่งต้นน้ำอุดมสมบูรณ์ ทั้ง 3 ตอน ได้แก่

      • ชุมชนคนน้ำดี: ชุมชนรอบเขายายดา จ.ระยอง – ชุมชนพลิกวิกฤติแล้ง สู่แหล่งท่องเที่ยวที่มีน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ
      • 2 สร้าง 2 เก็บ: โมเดลพลิกความแห้งแล้งสู่แหล่งน้ำยั่งยืนแห่งชุมชนรอบเขายายดา จ.ระยอง
      • ธนาคารน้ำใต้ดิน: นวัตกรรมภูมิปัญญาที่เปลี่ยนน้ำหลากจากหน้าฝนสู่ความชุ่มชื้นในหน้าแล้ง

โดยสามารถรับชมคลิป “ชุมชนคนน้ำดี” ได้ที่ https://bit.ly/3HG93AC

หรือ อ่านรายละเอียดโครงการ ฯ ได้ที่ https://bit.ly/3zRhbfO

ชุมชนรอบเขายายดาถือเป็นชุมชนตัวอย่างที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยความรู้ และผนึกความร่วมมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ส่งผลให้ชุมชนผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้ง มีรายได้เพิ่มขึ้นจากสินค้าเกษตร และต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังสร้างจิตวิญญาณรักษ์ป่ารักษ์น้ำให้กับชุมชนอื่น ๆ เป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตที่เติบโตได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า