SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปตั้งแต่เดือน ต.ค.2563 ก้าวย่างของบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ก็ยังมั่นคงและเป็นไปตามเป้าหมาย แม้จะผ่านช่วงเวลาแห่งการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกที่สอง แต่ SCGP ภายใต้การนำของซีอีโอ ‘วิชาญ จิตร์ภักดี’ ก็ยังสร้างการเติบโตได้อย่างการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

สะท้อนผ่านผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2564 ดังนี้

-รายได้จากการขายทั้งสิ้น 27,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นผลประกอบการรายไตรมาสที่สูงที่สุดที่เคยมีมา (New High)

-กำไรสำหรับงวด 2,135 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

-EBITDA อยู่ที่ 5,267 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 42% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยหากแบ่งรายได้ตามประเภทของบรรจุภัณฑ์จะพบว่า 84% ของยอดขายมาจากกลุ่มบรรจุภัณฑ์ครบวงจร ขณะที่อีก 16% มาจากบรรจุภัณฑ์กลุ่มเยื่อและกระดาษ

และหากแบ่งรายได้ตามประเทศแล้วจะยิ่งประหลาดใจ เพราะเป็นครั้งแรกที่รายได้จากในประเทศมีสัดส่วนต่ำกว่าครึ่งมาอยู่ที่ 49% และรายได้จากภูมิภาคอาเซียน (เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย) ขยับขึ้นมาถึง 40%

ซีอีโอ SCGP เผยว่า ปัจจัยที่ทำให้รายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นมาจากเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีที่เริ่มฟื้นตัว, ความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในอาเซียนที่เติบโต และราคากระดาษบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคปรับตัวสูงขึ้น

ขณะที่การวางเป้าหมายมุ่งขยายการเติบโตไปในอาเซียนก็เหมือนเป็นการเดินมาถูกทาง ไม่ว่าจะเป็นการวางโมเดลขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ปลายน้ำ การกระจายฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความเกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ อาทิ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขอนามัย ฯลฯ ที่ยังมีการเติบโตได้ดี เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

โดยบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนประมาณ 70% ของรายได้จากสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรจากการขายในไตรมาสแรก

ขณะที่บรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซยังมีการเติบโตได้ดี เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค และได้รับผลเชิงบวกในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

‘วิชาญ’ ฉายภาพให้เห็นว่า การเติบโตที่แข็งแกร่งของ SCGP ในไตรมาสนี้ เป็นการดำเนินงานผ่านกลยุทธ์สร้างการเติบโต 3 กลยุทธ์ด้วยกัน คือ

  1. การผนึกกำลังและควบรวมกิจการ (Merger & Partnership หรือ M&P) ไม่ว่าจะเป็นการเข้าลงทุนใน Go-Pak UK Limited เพื่อขยายฐานตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารไปในภูมิภาคยุโรปและรองรับเมกะเทรนด์, การเข้าลงทุนใน Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ประเทศเวียดนาม เพื่อขยายฐานลูกค้าในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค และการลงนามในสัญญาซื้อหุ้นเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อเข้าถือหุ้นสัดส่วน 70% ใน Duy Tan ประเทศเวียดนาม เพื่อขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปในเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะปิดดีลแล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2564
  2. การเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อขยายการเติบโต โดยนับจากปลายปี 2563 ถึงปัจจุบัน SCGP ได้ลงทุนขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบบครบวงจร ได้แก่ การขยายโรงงานของ Fajar อินโดนีเซีย เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต 400,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ยังขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงและพอลิเมอร์อีกกว่า 347 ล้านชิ้นต่อปี ในบริษัท วีซี่ แพ็คเกจิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
  3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้แก่ OptiBreath บรรจุภัณฑ์ยืดอายุให้กับผักผลไม้ และ Odor Lock บรรจุภัณฑ์เก็บกลิ่นอาหาร

สำหรับทิศทางการดำเนินงานในไตรมาส 2 รวมถึงปีนี้ SCGP วางเป้าหมายการเติบโตทั้งปีที่ระดับตัวเลขสองหลัก (double digit) ยอดขายรวม 1 แสนล้านบาท ภายใต้งบลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย งบประมาณรายจ่ายลงทุนเพื่อการเติบโตจากการ M&P และการขยายกำลังการผลิตประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้า และรองรับความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีการเติบโต

และอีกประมาณ 5 พันล้านบาทเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุนประจำปีที่ใช้ในการซ่อมบำรุง โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพ โครงการวิจัยพัฒนาสินค้า และโครงการพัฒนาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

โดยโครงการที่ SCGP กำลังอยู่ระหว่างการขยายการผลิต ประกอบด้วย การขยายกำลังการผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ในฟิลิปปินส์อีก 220,000 ตัน/ปี และการขยายกำลังการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัวในประเทศไทยอีก 53 ล้านตารางเมตร/ปี ที่จะแล้วเสร็จในปลายปีนี้

ซึ่งหากรวมกับการขยายกำลังการผลิตของโครงการ Visy ในไทย และโครงการ Fajar ในอินโดนีเซีย ที่หากเดินกำลังผลิตได้อย่างเต็มที่ในปีหน้า ก็จะช่วยเพิ่มยอดขายให้ SCGP ได้อีกราว 1 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดจะเริ่มฟื้นตัว แต่ในปีนี้ยังมีปัจจัยรุมเร้าจากค่าระวางเรือที่ยังสูง ส่งผลต่อต้นทุนในการส่งออก ต้นทุนในแง่พลังงานและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศที่ยังน่ากังวลแม้จะเริ่มมีการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม แต่ SCGP มองว่านี่เป็นความท้าทายที่ต้องจับตามองและบริหารจัดการต่อไป

วิชาญยังมองว่า การมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังมีผลการดำเนินงานที่ดี, การกระจายตัวธุรกิจไปในหลายอุตสาหกรรม และหลายภูมิภาค รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เหล่านี้จะเป็นส่วนช่วยในการบริหารความเสี่ยง และเป็นโอกาสทางธุรกิจได้

ขณะที่การเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ก็จะเป็นปัจจัยหนุนให้ธุรกิจในภาคท่องเที่ยวฟื้นคืนกลับมา และผลักดันการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผู้บริโภคให้กลับมาด้วย

“ยอดขายและเป้าหมายที่เราวางไว้ในปีนี้คงไม่ไกลเกินเอื้อม จากแผนการขยายธุรกิจที่วางไว้และคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สภาวะทางการเงินของบริษัทที่ยังดีอยู่ และการพัฒนานวัตกรรม ทำให้เราสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียว แต่ยังขยายไปในอาเซียนด้วย สุดท้ายแม้จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เรามั่นใจว่าในปีนี้ SCGP จะเติบโตอย่างต่อเนื่องได้” วิชาญกล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า